ผ่านไป 1 สัปดาห์ หลังจากที่ ประธานอาวุโสธนินท์ เจียรวนนท์ ประกาศ CP ขอ 5 สัปดาห์สร้างโรงงาน 100 ล้าน ผลิตหน้ากากอนามัย “แจกฟรี” จบ Covid-19 ยกให้ รพ.จุฬาฯ ทำให้ภารกิจการสร้างโรงงานนั้นต้องรวมหัวกระทิในเครือซีพีมาเร่งสร้างให้เกิดขึ้นภายใต้คอนเซปต์ “เร็วแต่มีคุณภาพ” ทำให้ต้องออกแบบ และก่อสร้างในมาตรฐานห้องครีนรูมหรือห้องปลอดฝุ่น
เรื่องพื้นฐานคือสิ่งสำคัญ :
การติดตามภารกิจก่อสร้างโรงงานผลิตหน่ากากฟรีครั้งนี้ ทำให้รู้ว่า รายละเอียดการก่อสร้างมีมากมาย ซึ่งการก่อสร้างครั้งนี้ ได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญ วิศวกรที่เชี่ยวชาญจากบริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2508 รวมระยะเวลามากกว่า 50 ปี ซึ่งถือว่าสร้างโรงงานมาแล้วครอบคลุมกว่า 14 ประเทศ มากกว่า 140 โรงงาน ซึ่งภารกิจในครั้งนี้ จะมาเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้าง และยังได้ผนึกกำลังเรียนรู้ไปพร้อมกับพันธมิตรที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่พอทราบว่าซีพีจะทำโรงงานหน้ากากอนามัย องค์ความรู้ที่หลากหลาย ก็เทมาสู่ทีมงานวิศวกรรม ทำให้ทุกคนปราบปลื่มในการช่วยเหลือที่หลั่งไหลเข้ามา โดยเฉพาะโรงงานที่ออกแบบนี้ต้องสะอาด มาตรฐานสากล และที่สำคัญคือต้องผลิตให้ได้ใน5 สัปดาห์
ซีพีได้วิศวกรมากประสบการณ์ คือ คุณศักดิ์ชัย บัวมูล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร CPF ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมการผลิต ซึ่งมีประสบการณ์คร่ำหวอดในแวดวงการผลิตมาหลายสิบปี มาเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะหัวหน้าสายงานด้านวิศวกรรมและการออกแบบกระบวนการผลิตโรงงานซีพีผลิตหน้ากากฟรีเพื่อคนไทย โดยนายศักดิ์ชัย กล่าวว่า พวกเรามีความภาคภูมิใจมากที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำภารกิจเพื่อชาติ ซึ่งท่านประธานอาวุโสธนินท์เน้นย้ำเสมอว่าต้องทำเร็วและต้องมีคุณภาพ เราจึงต้องใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอน ทั้งนี้การออกแบบได้เริ่มต้นทันทีในสัปดาห์ที่ผ่านมา เราต้องทำงานควบคู่กันหลายอย่างในเวลาจำกัด และต้องทำงานตลอดทั้งช่วงเช้าและค่ำตลอด 24 ชม. เพราะเราต้องใช้สรรพกำลังในการเคลียร์สถานที่ให้พร้อมในการก่อสร้าง หลังจากนั้นต้องทำการเตรียมติดตั้งลิฟท์โดยสาร และลิฟท์ขนของให้เสร็จ ซึ่งเราได้ใช้เวลาในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับปรุงช่องติดตั้งลิฟท์ ปรับอาคารด้านหน้า ปรับปรุงหลังคาเหล็ก และติดตั้งระบบไฟทั้งหมด และที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้ออกแบบห้องคลีนรูมเสร็จสิ้น และเริ่มต้นในการสั่งของแล้ว ซึ่งในวันนี้จะเป็นการเร่งก่อสร้างในส่วนของห้องคลีนรูมให้เสร็จในสัปดาห์นี้”
เครื่องจักร คือหัวใจสำคัญ :
ในการผลิตในครั้งนี้ ซีพีได้ใช้เครือข่ายจากหลายประเทศในการหาเครื่องจักร มาใช้ในการผลิต ซึ่งเครื่องจักรขนาดใหญ่เหล่านี้ต้องใช้เวลาในการผลิตอย่างน้อย 5 สัปดาห์ แต่ด้วยการเป็นซีพี ทำให้เร่งกระบวนการผลิตเครื่องจักรในเสร็จใน4 สัปดาห์ และต้องใช้ความสามารถในกระบวนการนำเข้าในทันเวลา ซึ่งการเตรียมเอกสารทั้งหมดคือความท้าทาย โดยมีอีกทีมงานช่วยจัดการด้านพิธีการเอกสารต่างๆในการนำเข้าเครื่องจักรก็ต้องทำควบคู่กันไป ในขณะที่วัตถุดิบที่หายากอย่างฟิลเตอร์ ก็ต้องประสานงานไปยังหลายประเทศเพื่อนำเข้า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความท้าทายอย่างมากในเวลาที่จำกัด
ทั้งนี้ คุณภูมิชัย ตรัยดลานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งรับผิดชอบด้านการก่อสร้างโรงงานหน้ากากอนามัย กล่าวว่า โรงงานนี้ตั้งอยู่บนชั้น3 ของบริษัทเกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด ในย่านพระประแดง โดยปัจจุบันได้ผ่านขั้นตอนการเทพื้นใหม่ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว เพื่อให้เป็นลักษณะปลอดฝุ่นตามมาตรฐานการผลิต ซี่งมี5 ขั้นตอนได้แก่ขั้นตอนแรก คือการเตรียมผิว
2.ขั้นตอนการทาสีรองพื้นอีพ็อกซี่ (Epoxy primer)3.ขั้นตอนการทาสีชั้นกลาง (Midden Coat)4.ขั้นตอนการเก็บการละเอียดผิวก่อนลงสีอีพ็อกซี่ชั้นทับหน้า (Epoxy Putty) 5.ขั้นตอนการลงสีทับหน้าชั้นสุดท้าย (Top Coat )
สำหรับในสัปดาห์ต่อไปจะเป็นเรื่องการประกอบห้องต่างๆตามที่ได้ออกแบบไปแล้ว รวมถึงการเตรียมการด้านระบบสื่อสาร เนื่องจากซีพีไม่เคยผลิตหน้ากากอนามัยมาก่อน ทำให้ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกมาให้คำแนะนำ ผ่านระบบ Teeconference ประชุมทางไกล รวมถึงเครื่องจักรที่นำเข้าจะเป็นแบบออโตเมติก ดังนั้นจะเชื่อมโยงแบบIOT ทำให้กลุ่มทรูเริ่มเข้ามาวางระบบสื่อสาร ทั้งแบบมีสายและไร้สาย
ซึ่งจะทำให้ทราบความเคลื่อนไหวของเครื่องจักรทั้งหมดผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ทีมงาน พนักงาน วิศวกรทั้งหมด ที่ทำงานหามรุ่ง หามค่ำ ยั่งได้อาหารสำเร็จรูปแช่แข็งจาก ซีพีเอฟ และ ซีพีแรม มาเติมพลังในการก่อสร้างตลอด ทำให้ต้องมาเร่งลุ้นให้กำลังใจทีมงานภารกิจสำคัญเพื่อชาติ ว่าจะเสร็จได้ทัน 5 สัปดาห์หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ทุกคนที่เข้ามาทำเต็มด้วยรอยยิ้มและความทุ่มเท เพราะรู้ดีว่า หน้ากากทุกชิ้นจากโรงงานจะถึงมืคนไทยฟรี ทำให้บรรเทาความทุกข์คนไทยจากภัยโควิค19 ได้ไม่มากก็น้อย
++++++++++++++++++