ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ
เศรษฐกิจไทย
เตรียมปรับขึ้นค่าแรง 46-72 บาท ดัน 400 บาททั่วประเทศ
- ปรับขึ้นค่าแรงตามนโยบายมีมติให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มอีกวันละ 46-72 บาท เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่หาเสียงไว้ แม้จะยังไม่มีข้อสรุปการปรับขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 400 บาท คาดครม.เคาะ พ.ย.นี้ มีผลปีใหม่ “นายจ้าง” ชี้กระทบโครงสร้างค่าแรงทั้งระบบ ขยับใกล้แรงงานมีฝีมือและค่าแรงตามคุณวุฒิวิชาชีพ
- โดยการปรับค่าจ้างพิจารณาจากเศรษฐกิจและเงินเงินเฟ้อจังหวัด และความสามารถการจ่ายของนายจ้าง แต่คณะกรรมการค่าจ้างที่มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน จะต้องทำหน้าที่รับสนองนโยบายรัฐบาลให้ได้
- เอกชนมีความกังวลเกี่ยวกับผลิตภาพแรงงาน และต้องการให้มีการเพิ่มค่าจ้างให้กับแรงงานที่มีฝีมือ ดังนั้นกระทรวงแรงงานควรมีหน่วยงานรับรองเอกชนที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมและรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (กรุงเทพธุรกิจ)
รถยนต์ไฟฟ้า
EV อาจเปลี่ยน ‘Shell’ เป็นปั๊มไร้น้ำมัน เปิดตัวสถานี่ชาร์จใหญ่สุดในโลกที่จีน
- ล่าสุด Shell ได้ร่วมทุน BYD เปิดตัวสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเซินเจิ้น ประเทศจีน ด้วยจุดชาร์จ 258 จุดจากโซลาร์เซลล์ และสร้างโมเดลปั๊มน้ำมันแห่งอนาคตในลอนดอน
- Shell มองว่าธุรกิจสถานีชาร์จ EV มีแนวโน้มเติบโตอีกมาก ปัจจุบันได้ให้บริการสถานีชาร์จ EV ในตลาดจีนไปแล้วกว่า 800 แห่ง ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนและจากบริษัทย่อยของเชลล์เอง
- Shell ประเทศไทย เมื่อต้นปีได้เปิดตัว Shell Recharge จุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสตรงควิกชาร์จแห่งแรกเช่นกัน ที่สถานีบริการน้ำมันเชลล์บนถนนกาญจนาภิเษก โดยจับมือบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย และในอนาคตมีแผนการขยายเพิ่มมากขึ้นด้วย (รอยเตอร์)
อสังหาริมทรัพย์
‘สิงคโปร์’ ครองตำแหน่ง ‘นายทุนอสังหาฯ อันดับ 1’ ของญี่ปุ่น
- สิงคโปร์ กลายเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในภาคอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่นในปีนี้ โดยมีเงินทุนไหลเข้าจากสิงคโปร์มูลค่าเกือบ 3,000 ล้านดอลลาร์ ได้รับแรงหนุนจากอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมบริการ
- กองทุนความมั่งคั่งของรัฐบาลสิงคโปร์ (จีไอซี) ซื้อคลังสินค้า 6 แห่งในญี่ปุ่น จากบริษัทแบล็กสโตน อิงก์ มูลค่า 800 ล้านดอลลาร์ จึงทำให้สิงคโปร์ครองตำแหน่งนายทุนอสังหาฯอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นเงินทุนจากสหรัฐ แคนาดา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ญี่ปุ่นเป็นตลาดราคาถูกมากด้วยต้นทุนการกู้ยืมต่ำ ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติและทุ่มทุนกับธุรกิจโรงแรมมากขึ้น
- นักลงทุนต่างชาติลงทุนไปกับสัญญาธุรกิจโรงแรมในญี่ปุ่น จนถึงปี 2566 มูลค่าลงทุนรวม 2,000 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นเงินทุนมูลค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับภาคส่วนอื่นในอสังหาฯเชิงพาณิชย์ของเอเชีย (บลูมเบิร์ก)