ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ
เศรษฐกิจเวียดนาม
‘เวียดนาม’ อนุมัติขึ้นภาษีบริษัทข้ามชาติ สู่ระดับ 15% ซัมซุงอาจกระทบมากสุด
- รัฐสภาเวียดนามตัดสินใจขึ้นอัตราภาษีที่แท้จริงกับบริษัทข้ามชาติสู่ระดับ 15% ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. และชะลอมาตรการชดเชยการจัดเก็บภาษีที่สูงขึ้นที่อาจกระทบต่อการลงทุนต่างชาติที่เศรษฐกิจเวียดนามต้องพึ่งพา
- อัตราภาษีใหม่อาจทำให้ต้นทุนทางภาษีของบริษัทข้ามชาติ 122 แห่งเพิ่มสูงขึ้น และบริษัทที่คาดว่าต้องแบกรับภาษีเพิ่มมากที่สุดก็คือซัมซุง เนื่องจากมีรายได้หลายพันล้านดอลลาร์จากโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม
- ขณะนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลของเวียดนามอยู่ในระดับ 20% แล้ว แต่รัฐบาลยังเสนออัตราภาษีระดับต่ำให้กับนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อีกหลายปี นักวิเคราะห์มองว่าการลงทุนจากต่างชาติในเวียดนามอาจลดลง ถ้าประเทศไม่มอบผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มากพอให้กับผู้ได้รับผลกระทบทางภาษี (รอยเตอร์)
เศรษฐกิจโลก
Fed และ ECB จ่อคงดอกเบี้ยสูงไว้นานกว่าตลาดคาด
- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed จะเกิดขึ้นในครึ่งหลังของปี 2024 เท่านั้น และ ECB จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจนถึงฤดูใบไม้ผลิของปี 2025 ต่างกับคาดการณ์ที่จะผ่อนคลายนโยบายครึ่งปีแรก
- การบริโภคของชาวอเมริกันยังเข้มแข็งมาก คาดหวังว่าต้องใช้เวลาให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาในแนวโน้มขาลงอย่างต่อเนื่องและกลับมาสู่เป้าหมาย ประเมินว่าสหรัฐฯโตชะลอตัวจาก 2.4% ปีนี้เหลือ 1.5% ในปีหน้า
- OECD คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวเล็กน้อยในปี 2024 แต่ไม่ถึงขั้น Hard Landing โดยมีการลดลงของการเติบโตเป็น 2.7% จากการเติบโตปานกลางที่ 2.9% ในปีนี้ และคาดว่าการเติบโตของประเทศ G7 จากแรงกดดันทางการคลัง เช่นเดียวกันกับภาระหนี้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (เดอะแสตนดาร์ด)
เทคโนโลยี
TMA เผยความสามารถด้านดิจิทัลไทยดีขึ้น 5 อันดับ
- สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เปิดผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลปี 2566 ของไทย พบดีขึ้น 5 อันดับอยู่ในอันดับที่ 35 จาก 64 เขตเศรษฐกิจ
- IMD ใช้ในการจัดอันดับ 3 ด้าน ด้านเทคโนโลยี (Technology) เป็นปัจจัยที่มีอันดับดีที่สุด โดยอยู่ในอันดับที่ 15 ดีขึ้นกว่าปี 2565 ถึง 5 อันดับ ภาพรวมดีขึ้นทุกด้าน
- สหรัฐกลับขึ้นมาอยู่อันดับ 1 ในปีนี้ จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านความรู้ เทคโนโลยี และความพร้อมสำหรับอนาคต ตามมาด้วย เนเธอร์แลนด์ ที่อันดับ 2 ปรับตัวดีขึ้นถึง 4 อันดับจากปีที่ผ่านมา
- ประเด็นสำคัญที่ไทยจะต้องให้ความสำคัญในขณะนี้ คือ การก้าวให้ทันเทคโนโลยีด้าน AI ขณะเดียวกันก็ต้องยกระดับความสามารถในด้าน Cyber Security และ Privacy Protection (กรุงเทพธุรกิจ)