ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ
ภูมิรัฐศาสตร์
‘อียู’ ประกาศรีดภาษี ‘EV จีน’ สูงถึง 38.1% เริ่ม 4 ก.ค.นี้
- สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศในวันที่ 12 มิ.ย.67 ว่า เตรียมขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) สัญชาติจีนเป็นสูงถึง 38.1% จากอัตรา 10% ในปัจจุบัน หลังพบค่ายรถจีนได้ประโยชน์มหาศาลจากการให้เงินอุดหนุนอย่างไม่เป็นธรรมของรัฐบาลปักกิ่ง และถือเป็นภัยคุกคามทางเศรษฐกิจต่อผู้ผลิต EV ในยุโรป
- การปรับขึ้นภาษีนำเข้า EV จีนดังกล่าว เป็นผลจากการสอบสวนของอียูที่เริ่มต้นในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา และจะเริ่มบังคับใช้อัตราภาษีนำเข้าใหม่ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค.67 นี้ หลังจากการพูดคุยระหว่างอียูกับทางการจีนเพื่อหาทางออกร่วมกัน “ไม่เป็นผล”
- สำหรับผู้ผลิต EV รายหลักของจีนอย่าง BYD (บีวายดี) จะถูกอียูเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 17.4% บริษัท Geely (จีลี่) จะถูกเก็บ 20% และ บริษัท SAIC (เอสเอไอซี) จะถูกเก็บสูงถึง 38.1% โดยทั้งสามรายล้วนอยู่ระหว่างถูกอียูสอบสวนจนถึงปัจจุบัน (กรุงเทพธุรกิจ)
จีนวอน EU ทบทวนการเก็บภาษีรถ EV อีกครั้ง-แนะอย่าเลือกทางผิด
- สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ทางการจีนหวังว่า สหภาพยุโรป (EU) จะพิจารณาเรื่องการเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของจีนใหม่อีกครั้ง และยุติการดำเนินการ “ในทางที่ผิด” ในการสกัดกั้นอุตสาหกรรมยานยนต์จากการแข่งขัน
- การตอบสนองของจีนและประเทศอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในข้อพิพาทดังกล่าว รวมถึงผู้ผลิตรถยนต์จีนและยุโรป แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งในการตัดสินใจของ EU อย่างชัดเจน และความกระตือรือร้นที่ไม่ต้องการให้สถานการณ์บานปลาย
- จีนระบุว่า ทางการจะดำเนินมาตรการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ หลังคณะกรรมาธิการยุโรป ประกาศจะเก็บภาษีพิเศษสูงถึง 38.1% ในการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนตั้งแต่เดือนก.ค.
- สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า “เมื่อพิจารณาในแง่ของโครงสร้างทางเศรษฐกิจและขนาดนั้น การร่วมมือกันของจีนและยุโรปจะส่งผลดีที่สุดในการรับมือกับประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจและการค้า” และเสริมว่า ดูเหมือนยุโรปจะยังเหลือช่องทางให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้หารือกันเพื่อหาทางออกและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด (สำนักข่าวอินโฟเควสท์)
แบรนด์
“แอปเปิล” ขึ้นแท่นแบรนด์ดังมูลค่าทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์รายแรกของโลก
- รอยเตอร์รายงาน “การจัดอันดับแบรนด์โลก” หรือรายงาน Kantar BrandZ จัดทำโดย Kantar Group บริษัทวิจัยการตลาดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ระบุว่า
- แบรนด์ แอปเปิล ของ บริษัท แอปเปิล อิงค์. ผู้ผลิตโทรศัพท์ไอโฟนครองแชมป์ แบรนด์มูลค่าสูงสุด ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยมูลค่าแบรนด์ทะยานทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ขณะที่ กูเกิล (Google)ตามมาเป็นอันดับ 2 ที่มูลค่าแบรนด์ 753,000 ล้านดอลลาร์ และไมโครซอฟท์ (Microsoft) มีมูลค่าแบรนด์อยู่ที่ 713,000 ล้านดอลลาร์
- มูลค่าแบรนด์ของเอนวิเดียก้าวกระโดดไปมากกว่า 200,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่ผ่านมา (2023) ทำให้เอนวิเดียกลายเป็นแบรนด์มูลค่าสูงสุดอันดับ 6 ของโลก ตามการจัดอันดับของคันทาร์ ที่ระบุว่า “สิ่งที่ทำให้เอนวิเดียแตกต่าง คือความเชื่อมั่นศรัทธาของผู้ลงทุนรายย่อยและสถาบันเกี่ยวกับกระแสใหญ่ในวงการเทคโนโลยีที่มีร่วมกัน” (ฐานเศรษฐกิจ)