ไทยจะส่งออกยากขึ้น เมื่อกฎหมายใหม่ EUDR บังคับใช้ ถ้าพบว่าเสี่ยงสูงบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ จะกระทบผู้ประกอบการยางพาราไทย เตรียมแบกต้นทุนสูงขึ้นกว่า 2,000 ล้านบาท
ทำความรู้จักกฎหมายใหม่ EUDR (EUDeforestation-free Regulations: EUDR) คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับลดการผลิตและการบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการตัดไม้ ทำลายป่า และทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่า
รายละเอียดสินค้า 7 ชนิดที่อยู่ภายใต้มาตรการ EUDR
กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า (EUDeforestation-free Regulations: EUDR)คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับลดการผลิตและการบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการตัดไม้
ทำลายป่า และทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่า โดย มีผลบังคับใช้ในสินค้า 7 ชนิด ได้แก่ 1) วัว 2) กาแฟ 3) โกโก้ 4) ถั่วเหลือง 5) ปาล์มน้ำมัน 6) ยางพารา และ 7) ไม้ รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าเหล่านี้
ผู้ประกอบการที่จะนำสินค้าที่อยู่ภายใต้มาตรการEUDR ตามที่แสดงรายละเอียดในตาราง มาจากหน่วยใน EU รวมถึงส่งออกไปนอก EU ได้ จะต้องผ่านเงื่อนไขที่สำคัญ 3 ข้อ
ได้แก่ 1) สินค้านั้นต้องมีที่มาจากแหล่งที่ปลอดการตัดไม้ทำลายป่า หลังจากปี2563 เป็นต้นไป
2) สินค้าต้องมาจากกระบวนการผลิตที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายของประเทศผู้ผลิต เช่น กฎหมายที่ดิน กฎหมายแรงงานและสิทธิมนุษยชนกฎหมายสิ่งแวดล้อม และภาษีเป็นต้นและ
3) สินค้าต้องได้รับการตรวจสอบและประเมินสินค้า (DueDiligence)
ตามขั้นตอนที่กำหนดซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
(1) การรวบรวมข้อมูลตลอด ห่วงโซ่การผลิต ( Information collection)
(2) การประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ ทำลายป่า (Risk assessment) และ
(3) การจัดทำ แนวทางในการลดความเสี่ยง (Risk mitigation) โดยผู้ประกอบการใน EU จะต้องส่งรายงานการ ตรวจสอบ (Due Diligence Statement) ก่อนจะ นำเข้าหรือส่งออกสินค้า
ยางพาราเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปยัง EU มากที่สุดในบรรดาสินค้า 7 ชนิด
สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มยางพาราจากไทยไปยัง EU ในปี 2566 ที่มีมูลค่ารวมกัน 1,322 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ48,305 ล้านบาท คิดเป็นกว่า 93.4% ของมูลค่าการ ส่งออกสินค้าที่อยู่ภายใต้มาตรการจากไทยไป EU ขณะที่สินค้าอีก 6 ชนิด มีมูลค่าการส่งออกรวมกัน เพียง 94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3,438 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 6.6%
พื้นที่ปลูกยางพาราของไทยที่ตรงตามหลักเกณฑ์ของมาตรการ EUDR ยังมีน้อย แม้ว่าพื้นที่ปลูก
ยางพาราของไทยส่วนใหญ่กว่า 25 ล้านไร่ หรือคิดเป็น83.3% ของพื้นที่ปลูกยางทั่วประเทศ จากทั้งหมด30 ล้านไร่ จะได้รับการยืนยันว่าไม่ได้มีการบุกรุกป่า1
แต่จากเงื่อนไขสำคัญของ EUDR ไม่เพียงกำหนดว่าสินค้าภายใต้มาตรการต้องปลอดการตัดไม้ทำลายป่าเท่านั้น แต่ยังต้องมาจากกระบวนการผลิตที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายของประเทศผู้ผลิต เช่น กฎหมายที่ดิน กฎหมายแรงงานและสิทธิมนุษยชน กฎหมายสิ่งแวดล้อมและภาษีเป็นต้น
โดยหากอ้างอิงพื้นที่สวนยางที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ EUDR อย่างมาตรฐานการจัดการป่าอย่างยั่งยืนของ Forest StewardshipCouncil (FSC) และ Program for the Endorsementof Forest Certification (PEFC)
พบว่า พื้นที่ สวนยางของไทยที่ได้รับการรับรองจาก FSC และ PEFC มีจำนวนเพียง 6.4 แสนไร่ หรือคิดเป็นเพียง 2.1% ของพื้นที่ปลูกยางทั่วประเทศ
ทั้งนี้ การได้รับการรับรองมาตรฐานจาก FSC หรือ PEFC เป็นการ สะท้อนว่าพื้นที่สวนยางนั้นๆ มีการปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขของ EUDR แล้ว
นอกจากนั้น ผู้นำเข้า สินค้าฝั่ง EU ยังสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลหรือ รายงานที่ได้จากการประเมินโดย FSC หรือ PEFC มาใช้ในการจัดทำรายงาน Due Diligence ได้
ภายใต้กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า (EU Deforestation-free Regulations: EUDR)ที่จะมีผลในทางปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 2567 ยางพาราเป็นสินค้าส่งออกที่ไทยมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบมากที่สุดในบรรดาสินค้า 7 ชนิด เนื่องจาก
1) ยางพาราเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปยัง EU มากที่สุดในบรรดาสินค้า 7 ชนิด โดยมีมูลค่ากว่า 93.4% ของมูลค่าการส่งออกภายใต้มาตรการ
2) พื้นที่ปลูกยางพาราไทยที่ตรงตามหลักเกณฑ์ของมาตรการ EUDR ยังมีน้อย
Krungthai COMPASS ประเมินว่าผู้ประกอบการยางไทยอาจได้รับผลกระทบจากการส่งผ่านต้นทุนของผู้นำเข้าฝั่ง EU สูงสุดถึง 4.3% ของมูลค่าส่งออกสินค้าภายใต้มาตรการ คิดเป็นราว 64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/ปี หรือราว 2,340 ล้านบาท/ปี นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อปริมาณการส่งออกยางของไทยไป EU และภาพรวม หากไทยถูกระบุว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงในการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้
Krungthai COMPASS แนะนำผู้ประกอบการยางพาราควรเริ่มปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการ EUDR เช่น มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายที่ดิน รับซื้อยางพาราที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ควรเร่งขอรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้จาก FSC หรือPEFC เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและช่วยลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ เช่น เร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ EUDR รวมถึงสนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการยางของไทย ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรระดับสากล
ที่มา Brand Inside