CPP Myanmar ขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืน Farm Sustainability Assessment (FSA)

CPP Myanmar มุ่งยกระดับมาตรฐานการเกษตร ไปพร้อมๆกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ตามค่านิยม 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมดังกล่าวเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับภาคเกษตรพร้อมๆไปกับเรื่องการจัดการคาร์บอนเครดิต

สำหรับมาตรฐานเกษตรยั่งยืน FSA (Farm Sustainability Assessment) เป็นการทำการเกษตรบนพื้นฐานที่ต้องการปฎิบัติตามมาตรฐานสากล (SAI Platform) ในข้อกำหนดต่างๆมากกว่า 300 รายการที่ครอบคลุมประเด็นทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องได้การตรวจรับรองจากหน่วยงานภายนอกในระดับสากล การทำมาตรฐาน FSA มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ผลผลิตที่ได้จากเกษตรกรซึ่งผ่านกระบวนการรับรองนี้ เป็นสินค้ามีคุณภาพ มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และได้การยอมรับในระดับสากล โดยมีเป้าหมายคือ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการนี้ จะต้องได้รับการรับรองได้ใบcertificate ทุกคน สำหรับการทำมาตรฐานเกษตรยั่งยืน FSA (Farm Sustainability Assessment) ทางบริษัทได้ดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1.การฝึกอบอรม 2.การตรวจสอบด้วยหน่วยงานภายใน (Internal Audit) 3.การตรวจรับรองจากหน่วยงานภายนอกพร้อมออกใบ certificate สำหรับกิจกรรมแรก เป็นขั้นตอนที่ 1.คือ ทบทวนมาตรฐานเกษตรยั่งยืนและอบรมผู้ตรวจสอบภายใน(Internal Auditor) ขั้นตอนที่ 2.Internal Audit (ตรวจสอบโดยหน่วยงานภายใน) และขั้นตอนที่ 3. 3rd party Improvement (ตรวจรับรองโดยหน่วยงานภายนอก)ต่อไป

โดยการฝึกอบรมมาตรฐานเกษตรยั่งยืนครั้งนี้ CPP Myanmar ได้ดำเนินการจัดในระหว่างวันที่ 26-27 มิถุนายน 2024 ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ฟาร์มบอนี่ ฟาร์มโปรเมียวระ ฟาร์มโปรปิ่นมานา มีเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯในเขตประเทศเมียนมาเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เข้าร่วมอบรมเรียนรู้กว่า 200คน รวมถึงมีการทดสอบการใช้แบบประเมินการตรวจเพื่อลงตรวจแปลง สถานที่จัดเก็บสารเคมีและปัจจัยการเพาะปลูกและการเพาะปลูกอย่างเหมาะสม

การทำเกษตรยั่งยืน เป็นพื้นฐานสำคัญในการยกระดับเกษตรกรตามมิติด้านความยั่งยืนและยืนยันการทวนสอบย้อนกลับไปยังเกษตรกรและทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น