CPP สร้างธุรกิจคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ในภาคเกษตรผ่านมาตรฐานของ Gold Standard และ The Verified Carbon Standard (VCS) โดยเริ่มที่เขตประเทศเมียนมา


ธุรกิจคาร์บอนเครดิต เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่ง และบริการ กำลังเริ่มต้นและพัฒนารูปแบบธุรกิจ ผ่านโครงการเถ้าแก่ใหญ่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดย CPP Myanmar ได้เริ่มต้นโครงการคาร์บอนเครดิตภาคเกษตรและพัฒนารูปแบบของโครงการที่จะขอรับรองธุรกิจคาร์บอนเครดิต ตั้งแต่ปี 2023 ที่ผ่านมา จากที่ได้จัดกิจกรรม “Zero Burn, Zero Waste” เพื่อก้าวสู่องค์กรมีความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon neutrality) เริ่มจาก เมื่อ 6 กันยายน 2023 ที่ทางบริษัทมีการทำ MOU ร่วมกับเกษตรกรสมาชิกเพื่อประกาศเป้าหมาย โดยนำคณะอาจารย์ นักวิชาการมาถ่ายทอดความรู้อบรมให้เกษตรกรสมาชิก จากฟาร์มโปรกว่า 300 ราย และมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2024 เป็นกิจกรรม Train the Trainer เพื่ออบรมความรู้ให้เกษตรกรผู้นำ นำไปถ่ายทอดกับสมาชิกในทุกพื้นที่ และในครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามมาตรฐานของ Gold Standard และ The Verified Carbon Standard (VCS) ที่ CPP Myanmar จะต้องการสร้างความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholder) ที่อยู่ในกระบวนการผลิต และกระบวนการทางธุรกิจ บริษัทฯ จึงได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงให้ความรู้สร้างความเข้าใจในเรื่อง การลดการปลดปล่อยและการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ

โดยการทำเกษตรตามมาตรฐานการเพาะปลูกที่ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและขอรับรองคาร์บอนเครดิต จะมี 7 กิจกรรม ได้แก่
1.ลดการไถ (Conservation Tillage) เพื่อให้ดินถูกรบกวนน้อยที่สุด เป็นประโยชน์ต่อธาตุอาหารให้สิ่งมีชีวิตในดิน รวมถึงการกักเก็บน้ำทำให้ดินมีความชื้นมากขึ้น ส่งผลให้ประหยัดพลังงานและระยะเวลาเตรียมแปลง

2.การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม (Appropriate Fertilizer) ทดลองวิเคราะห์ดินเพื่อการใช้ปุ๋ย ที่เหมาะสมตามความต้องการของพืช ควบคุมปริมาณธาตุอาหารลดการใช้ปุ๋ยที่สิ้นเปลือง

3.การทำนาเปียกสลับแห้ง (Alternative Wet and Dry Activities) การควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง สลับกับช่วงน้ำแห้ง สลับกันไป ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดการเกิดและปล่อยก๊าซมีเทน สู่ชั้นบรรยากาศ

4.กิจกรรมลดการเผา (Biomass Utilization) เป็นการจัดการและลดผลกระทบที่เกิดจากการเผาชีวมวลที่เหลือในพื้นที่ให้สามารถนำไปใช้ทำประโยชน์ในรูปแบบต่างๆได้

5.การทำเตาชีวมวล (Biomass Stove Activities) การจัดการชีวมวลหลังการเก็บเกี่ยว โดยการทำเตาชีวมวลเพื่อใช้ประโยชน์จากชีวมวล เตาที่เผาไหม้สมบูรณ์จะลดการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์และสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อการหุงต้มในครัวเรือนได้

6. การใช้โซล่าเซลล์ (Assembly and testing of solar cell water pump) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติในกระบวนการเพาะปลูก(เช่น สูบน้ำ)

7. มาตรฐานเกษตรยั่งยืน (Farm Sustainability Assessment) วางระบบการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกที่บริษัทเข้าไปส่งเสริม

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นขั้นตอนที่ 1. การประชุมเพื่อให้คำปรึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholder Consultation) คือการสร้างความเข้าใจ ในการเข้าร่วมโครงการ ให้กับเกษตรกร พนักงาน ข้าราชการท้องถิ่น ตัวแทนจำหน่าย ให้เข้าใจ ถูกต้องตรงกัน โดยทาง CPP Myanmar ได้นำคณะอาจารย์นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ มาอบรมถ่ายทอดความรู้ ไปสู่การปฏิบัติ ที่เป็นมาตรฐาน เพื่อเตรียมความให้กับเกษตรกรในการเข้าสู่ ขั้นตอนที่ 2.การพัฒนาจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ (PDD: Project Designed Document) และขั้นตอนที่ 3. 3rd Validation and Verification (ตรวจรับรองโดยหน่วยงานภายนอก)ต่อไป

สำหรับการฝึกอบรมเรื่อง Carbon neutral ในครั้งนี้ CPP Myanmar ได้ดำเนินการจัดในระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2024 ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ฟาร์มบอนี่ ฟาร์มโปร เมียวระ ฟาร์มโปรปิ่นมานา มีเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯในเขตประเทศเมียร์ม่า เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เข้าร่วมอบรมเรียนรู้กว่า 200คน

การทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการเกิดชีวมวลในขบวนการเพาะปลูก เพิ่มการกักเก็บ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดปัญหาจากก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทั่วโลก ได้ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจก สุทธิให้เป็นศูนย์ ในปี 2050