9 เมษายน 2563 : หลังจาก ประธานอาวุโสธนินท์ เจียรวนนท์ มีนโยบายลงทุน 100 ล้านบาท ก่อสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยแจกฟรีแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนเพื่อใช้ในการป้องกันโรค ล่าสุดจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ส่งผลให้ทุกประเทศมีมาตรการเข้มงวดเรื่องการนำเข้าและส่งออก ซึ่งมีผลต่อการนำเข้าเครื่องจักรผลิตหน้ากากอนามัย ที่เครือซีพีได้ดำเนินการสั่งซื้อจากประเทศจีน รวมถึงปัญหาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ประกอบกับสถานการณ์การบินจากประเทศจีนที่มีจำนวนเที่ยวบินลดลงกว่า 70% และมีกำหนดการที่ไม่แน่นอน ทำให้ต้องปรับแผนการขนส่งเครื่องจักรกันแบบวันต่อวัน
เพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้ชัดเจน ส่งผลให้ทีมงานเครือซีพีต้องตัดสินใจครั้งสำคัญด้วยการเช่าเหมาลำเพื่อขนส่งเครื่องจักรและวัตถุดิบเข้ามาประเทศไทยให้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยขณะนี้สามารถนำเข้าเครื่องจักรครบแล้ว พร้อมทั้งวัตถุดิบสำคัญคือ เมลต์โบลวน์ (Meltblown) ที่เป็นแผ่นป้องกันเชื้อโรค
ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลาประกอบเครื่องจักรและทดสอบระบบอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์ ก่อนจะพร้อมเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งจะได้หน้ากากอนามัยจำนวน 3 ล้านชิ้นต่อเดือน ตามที่ประธานอาวุโสได้ประกาศไว้
สำหรับวัตถุดิบสำคัญในการผลิตหน้ากากอนามัยครั้งนี้ คือ แผ่นกั้นเชื้อโรค หรือ เมลต์โบลวน์ ภายในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นวัตถุดิบที่หายากและราคาปรับสูงขึ้นจากภาวะปกติหลายสิบเท่า ทำให้กระบวนการจัดซื้อต้องใช้พลังจากเครือข่ายและพันธมิตรในหลายประเทศ เนื่องจากต้องการให้มีวัตถุดิบผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
ตามมาตรฐานการผลิต หน้ากากอนามัยจะประกอบด้วย 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นนอนวูฟเวนชนิดสปันบอนด์ (สีเขียว) เคลือบสารไฮโดรโฟบิกเพื่อเพิ่มสมบัติกันน้ำ ชั้นต่อมาเป็นนอนวูฟเวนชนิดเมลต์โบลวน์ (สีขาว) ใช้ป้องกันเชื้อโรค และชั้นสุดท้ายเป็นนอนวูฟเวนชนิดสปันบอนด์ (สีขาว) โดยนอนวูฟเวนชนิดสปันบอนด์ (spunbond nonwoven)
Cr:Pr CPG