6 แนวโน้มที่มีผลต่อระบบอาหารในเอเชีย

มีนาคม 2562

EIU (The Economist Intelligence Unit) และ Cargill ร่วมออกเอกสาร เรื่อง Separate Tables: Bringing Together Asia’s Food Systems ซึ่งระบุถึง 6 แนวโน้มที่มีผลต่อระบบอาหารในเอเซีย

6 แนวโน้มดังกล่าว ได้แก่
• ความเป็นเมือง – ภายในปี 2030 ชาวเอเซียจะอยู่ในเขตเมืองเพิ่มขึ้น 578 ล้านคน โดย 2 ใน 3 จะอยู่ในจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย และ 6 ใน 10 เมืองใหญ่จะอยู่ในเอเซีย ซึ่งจะมีผลต่อการผลิตและความต้องการอาหาร เช่น อาหารสะดวกซื้อ อาหารแปรรูป และผู้ผลิตควรมองความต้องการแบบท้องถิ่นด้วย

• ความต้องการอาหารที่ให้พลังงานมากขึ้น เช่น โปรตีน ไขมัน แทนคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว เนื่องจากมีรายได้มากขึ้น แต่การผลิตโปรตีนจากสัตว์จะต้องใช้ทรัพยากรมาก เช่น ที่ดิน น้ำ

• ด้านโภชนาการ เอเซียมีทั้งผู้ที่ขาดแคลนโภชนาการและผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน เช่น อินโดนีเซีย มีผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน 12% และมีผู้ที่อยู่ในภาวะทุพโภชนาการ 12%

• ด้านเทคโนโลยี – การวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาการเกษตร แต่การลงทุนใน R&D ในเอเซียมีความเหลื่อมล้ำกันมาก เช่น กัมพูชา ลาว และปากีสถาน ใช้เงินใน R&D ไม่ถึง 0.2% ส่วนจีนและอินเดียใช้ราว 0.4-0.5% เกาหลีใต้ใช้ 2.2% และญี่ปุ่นใช้ถึง 5.4%

• ความโปร่งใสและยั่งยืน – ระบบอาหารที่มีความโปร่งใสและตรวจย้อนกลับได้มีความสำคัญเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาด้วยเหตุผลที่ต่างกัน

• นโยบายอาหาร – เมื่อเมืองขยายตัวมากขึ้น จึงต้องนโยบายจัดสรรทรัพยากรระหว่างเมืองกับชนบท เช่น นโยบายการจัดสรรน้ำระหว่างภาคเกษตร-อุตสาหกรรมและครัวเรือน

—————————-