บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) หรือ CPALL ได้รายงานผลการดําเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 โดยมีกำไรสุทธิจํานวน 8,532 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.2 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และ มีรายได้รวมจํานวน 273,881 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปี ก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากรายได้จากการขายสินค้าที่ลดลงจากผลกระทบจากมาตราการควบคุมการระบาดของโรค จากรัฐบาล ในระหว่างไตรมาส 2
ขณะที่ไตรมาสที่ 2 / 2563 นั้น บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,887 ล้านบาท หรือลดลง ร้อยละ 39.8 จากปีก่อน มีรายได้รวม 128,027 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 10.6 เป็นผลจากการปรับตัวลดลงของรายได้จากการขายและบริการของทั้งธุรกิจร้านสะดวก ซื้อ และธุรกิจค้าส่งแบบชําระเงินสดและบริการตนเองภายใต้ชื่อ “สยามแม็คโคร” อันเป็นผลกระทบจากมาตราการ ควบคุมการระบาดของโรคจากรัฐบาล เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดย ทางบริษัทได้ให้ความสําคัญพร้อมทั้งให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามมาตราการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ ซึ่งมีความรุนแรงมาก ที่สุดในเดือนเมษายน และลดระดับลงในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนตามลําดับ ภายหลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลาย มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด
ผลการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ
ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อเปิดร้านสาขาใหม่รวมทั้งสิ้น 106 สาขาในทุกประเภท ทั้ง ร้านสาขาบริษัท ร้าน store business partner (SBP) และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2563 บริษัทมีจํานวนร้านสาขาทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 12,089 สาขา แบ่งเป็น
ร้านสาขาบริษัท 5,456 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 45) ร้านเปิดใหม่สุทธิ 55 สาขา ในไตรมาสนี้
ร้าน SBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 6,633 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 55) ร้านเปิดใหม่สุทธิ 51 สาขา ในไตรมาสนี้
ร้านสาขาส่วนใหญ่ยังเป็นร้านที่ตั้งเป็นเอกเทศ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 85 ของสาขาทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็น ร้านในสถานีบริการน้ํามัน ปตท.
ในไตรมาส 2 ปี 2563 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการรวม 70,359 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสนี้มียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน เท่ากับ 66,950 บาท และอัตราการเติบโตยอดขายเฉลี่ยของร้านเดิมลดลงเท่ากับร้อยละ 20.2 โดยมียอดซื้อต่อบิลโดยประมาณเท่ากับ 79 บาท ในขณะที่จํานวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 841 คน
ทั้งนี้จํานวนลูกค้าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องมาจากผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดของโรค COVID 19 จากรัฐบาล อาทิ การจํากัดการเดินทาง ระหว่างจังหวัด การขอความร่วมมือให้อยู่แต่ในที่พักอาศัย การประกาศห้ามออกจากเคหะสถาน (Curfew) และการ ห้ามจําหน่ายสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล รวมถึงการเลื่อนวันหยุดราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้ปรับกลยุทธ์ธุรกิจ เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของ COVID 19 โดยนําเสนอช่องทางการขายสินค้าผ่านระบบ O2O อาทิ 7-Eleven Delivery, AllOnline และ 24Shopping โดยมุ่งหวังให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ รวมถึงสินค้าภายในร้าน 7-Eleven ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งบริการส่งถึงปลายทาง หรือรับสินค้าที่ร้าน ซึ่งลูกค้าให้การตอบรับที่ดี แต่ก็ยังไม่ สามารถชดเชยผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
ในไตรมาส 2 ปี 2563 สัดส่วนของรายได้จากการขาย ร้อยละ 71.7 มาจากสินค้ากลุ่มอาหาร และร้อยละ 28.3 มาจากสินค้าอุปโภค (ไม่รวมบัตรโทรศัพท์) ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับปีก่อน ทั้งนี้รายได้จากการขาย ปรับตัวลดลงในสินค้าทั้ง 2 กลุ่ม
ไตรมาส 2 ปี 2563 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีกําไรขั้นต้นจํานวน 19,414 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.7 จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีอัตราส่วนกําไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 27.6 ลดลงจากไตรมาส 2 ปี 2562 ที่มี อัตราส่วนร้อยละ 28.2 สาเหตุหลักมาจากสัดส่วนสินค้ากลุ่มที่มีกําไรขั้นต้นสูงลดลง อาทิ กลุ่มสินค้าที่เป็นอาหาร และเครื่องดื่มพร้อมทาน และ กลุ่ม Personal Care เป็นต้น
นอกจากนี้ ธุรกิจร้านสะดวกซื้อยังมีรายได้อื่นอีกจํานวน 5,016 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปี ก่อน 130 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าส่งเสริมการขาย ซึ่งเกิดจากการจัดรายการ ส่งเสริมการขายร่วมกับคู่ค้า ในขณะที่มีเงินปันผลรับจากบริษัทย่อยจํานวน 4,246 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันของปีก่อนจํานวน 21 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.5
ในไตรมาส 2 ปี 2563 ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานมีจํานวน 21,440 ล้านบาท ลดลง 2,248 ล้านบาทจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หรือลดลงร้อยละ 9.5 การลดลงมีสาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าบริหารงาน ร้านสะดวกซื้อ และค่าสาธารณูปโภค ทั้งนี้ บริษัทมีการรับรู้ประมาณการหนี้สินสําหรับผลประโยชน์เมื่อพนักงาน เกษียนอายุจํานวน 489 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ปี 2562
ในไตรมาส 2 ปี 2563 กลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีกําไรก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ เท่ากับ 7,237 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและมีกําไรสุทธิเท่ากับ 5,484 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 25.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สําหรับผลการดําเนินงานงวดหกเดือนแรกปี 2563 กลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ มีรายได้รวมจํานวน 167,673 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลดลงจากรายได้จากการขายสินค้าและบริการที่ลดลง ในขณะที่กําไรสุทธิมีจํานวน 9,329 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 บริษัทและบริษัทย่อย มีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนผู้ถือหุ้นตามนิยาม ข้อกําหนดสิทธิ 1.17 เท่า เพิ่มขึ้นจาก 0.94 เท่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เนื่องจากบริษัทมีการออกหุ้นกู้และมี เงินกู้ยืมระยะสั่งจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ ทั้งนี้บริษัทมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิตาม ภาระหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้ ซึ่งบริษัทต้องดํารงไว้ซึ่งอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net Debt to Equity Ratio) โดยคํานวณตามข้อมูลในงบการเงินรวมประจํางวดบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของแต่ละงวดบัญชีที่ ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้ว ณ 31 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป ไม่เกิน 2:1
คาดการณ์และแนวโน้มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ในปี 2563
เนื่องด้วยปัจจุบันสถานการณ์ของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ยังคงมีอยู่ ทําให้เกิดความไม่แน่นอนในการ ประมาณการผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงประมาณการรายได้จากการขายและบริการ อัตรากําไรขั้นต้น และงบ ลงทุนสําหรับปี 2563 ได้
อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของบริษัทและ บริษัทย่อยปลอดภัย และพยายามอย่างยิ่งยวดในการควบคุมให้มีผลกระทบต่อธุรกิจให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ที่มา:Techsource