การผูกขาดทางธุรกิจ หมายถึงการกีดกันไม่ให้เกิดการแข่งขันทางการค้า และทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกเพื่อสร้างผลกำไรเกินควร แต่ในความจริงประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดเสรีทางการค้าจึงมีบริษัทขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศเข้ามาทำตลาดในทุก กลุ่มธุรกิจ เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงไม่สามารถมีอำนาจเหนือตลาด และกีดกันคู่แข่งได้ ในขณะเดียวกันเครือฯ ต้องทำธุรกิจและทำการ ตลาดเพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ๆระดับโลกที่เข้ามา ครองตลาดในเมืองไทยด้วย
- ธุรกิจอาหาร : นอกเหนือจาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ แล้วยังมีบริษัทข้ามชาติที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ ๆ ระดับโลก เช่น Nestle (สวิสเซอร์แลนด์) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหาร รายใหญ่ที่สุดในโลก, BRF (บราซิล), New Hope (จีน), KRAFT, Tyson, JBF, Smith Field, General Meat, ConAgra, Hormel Foods (สหรัฐอเมริกา) รวมทั้ง McDonald’s, KFC และ Pizza Hut (ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Pepsi), Coca Cola, Lay และผู้เล่น ในระดับประเทศ ซึ่งล้วนเป็นบริษัทชั้นนำหรือเป็นสาขาของบริษัท ต่างชาติที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย อาทิ คาร์กิลล์ เบทาโกร GFPT สหฟาร์ม ไทยฟู้ด TUF GFS CFRESH เป็นต้น
สำหรับส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยของซีพีเอฟอยู่ที่ประมาณ 17% เท่านั้น (ไข่ไก่ 12% ไก่เนื้อ 17% สุกร 24%)
- ธุรกิจค้าปลีก โมเดิร์นเทรด : นอกเหนือจากซีพีออลล์ ที่มี 7-Eleven และแม็คโครแล้ว ยังมีบริษัทขนาดใหญ่อีกหลายรายในประเทศ เช่น Tops Supermarket, FamilyMart (ร้านสะดวกซื้ออันดับ 2 ของไทย) และ Watson (ร้านค้าเพื่อสุขภาพและความงามรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกจากสิงคโปร์) ที่อยู่ภายใต้กลุ่มเซ็นทรัล ของตระกูลจิราธิวัฒน์ Big C Supercenter ที่บริหารโดย TCC ของตระกูลสิริวัฒนภักดี Tesco Lotus และ Tesco Express จากอังกฤษ, รวมถึงร้าน Lawson 108 ในเครือสหพัฒนพิบูล ซึ่งเป็นร้านสะดวกซื้ออันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายราย
หากพิจารณาเรื่องส่วนแบ่งการตลาดค้าปลีกทั้งหมด 7-Eleven มีส่วนแบ่งการตลาดเพียงประมาณ 10% เท่านั้น โดยมีสาขาประมาณ 13,134 สาขา ณ สิ้นปี 2564 ขณะที่ร้านขายของโชห่วยมีถึงประมาณ 800,000 ร้านค้าทั่วประเทศ ซึ่งยังไม่รวม Modern Trade อื่น ๆ ที่กล่าวถึง ข้างต้น
- ธุรกิจสื่อสาร : นอกจากกลุ่มทรูแล้ว ยังมีเอไอเอส ของ Singtel จากสิงคโปร์ และดีแทคของเทเลนอร์จากนอร์เวย์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ใหญ่ระดับโลก โดยในเรื่องส่วนแบ่งการตลาดคงเป็นที่รับทราบกันดีอยู่แล้วว่า ขณะนี้ทรูขึ้นมาเป็นอันดับ 2 โดยเป็นกลุ่มแรกที่บุกเบิก 3G เเละ 4G ให้กับประเทศไทย เพื่อให้มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทัดเทียม นานาชาติ
ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจของเครือฯ เป็นไปตามหลักการ “การเติบโต อย่างมีส่วนร่วม” หรือที่เรียกว่า “Inclusive Growth” ซึ่งหมายถึง การดำเนินธุรกิจจะต้องก่อให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน และสร้างโอกาสอย่างเสมอภาคกันระหว่างคนทุกกลุ่มในสังคม สอดคล้องกับปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืนของเครือฯ คือ ประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประโยชน์ต่อประชาชน และประโยชน์ต่อ บริษัท ซึ่งทั้งหมดคือการคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและสังคม ก่อนผลประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองบนความเชื่อที่ว่า ถ้าส่วนรวมไม่ดี เเล้วบริษัทฯ จะดีได้อย่างไร