เมื่อเร็ว ๆ นี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยสำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัรฑ์ จัดสัมมนา C.P. Group – ERM Webinar on “SBTi Corporate Net-Zero Standards” โดยได้รับเกียรติจากทีมงานบริษัท Environmental Resources Management หรือ ERM ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนมาให้ความรู้ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ของเครือฯ กว่า 130 คน
การสัมมนาดังกล่าวได้นำเสนอเป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มุ่งสู่ป้าหมาย Carbon Neutral ภายในปี 2030 และได้มีการตั้งเป้าหมายที่ต่องเนื่องคือ การมุ่งไปสู่ Net Zero (องค์กรที่ไม่ปล่อยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของ SBTi (Science Based Target initiative) โดยตั้งเป้าภายในปี 2050
ทั้งนี้ จากการสัมมนาสรุปได้ว่า กิจกรรมที่จะนำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกของเครือฯ ประกอบด้วย 6 เรื่องหลัก คือ หนึ่ง พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต้องมาจากพลังงานหมุนเวียน สอง การพัฒนาการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สาม การใช้พลังงานในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ สี่ การพัฒนาฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่า ห้า ลดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในภาคเกษตรกรรม หก การจัดการของเสียและน้ำเสีย
ดังนั้น ในการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายจึงไม่ใช่แค่การปรับฐานการผลิตหรือโมเดลธุรกิจภายในองค์กรเท่านั้น แต่สำคัญคือการร่วมมือกับคู่ค้า (supplier) และต้องหันไปใช้ ‘พลังงานสะอาด’ และพลังงานหมุนเวียนในแทบทุกกระบวนการผลิตขององค์กร
งานสัมมนาครั้งนี้ วิทยากรจาก ERM ยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานตัวชี้วัดของ Science Based Targets initiative (SBTi) โดยอธิบายการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับเป้าหมายของข้อตกลงปารีส บนพื้นฐานทาง Climate Science โดยมีเป้าหมายจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไว้ให้สูงไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส และมุ่งสู่การจำกัดอุณหภูมิฯ ไว้ให้ไม่สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานด้านความยั่งยืนในเครือฯ นำความรู้และข้อมูลไปปรับใช้ภายในองค์กร
ทำอย่างไรให้เดินไปถึงเป้าหมาย Net Zero?
ในการสัมมนาดังกล่าว วิทยากรจาก ERM ยังได้ระบุว่า SBTi กำหนดให้บริษัทต้องตั้งเป้าระยะสั้น (Near Term Target) และเป้าระยะยาว (Long Term Target) ลดอุณหภูมิโลก 1.5 องศาเซลเซียส โดยเทียบเปอร์เซ็นการลด Greenhouse Gas กับปริมาณการปล่อยก๊าซทั้ง 3 ขอบเขต ภายในปี 2050 ซึ่งจะต้องลดได้ 90% นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถสนับสนุนชุมชนหรือลงทุนในองค์กรขนาดเล็กถึงกลาง รวมทั้งทำกิจกรรมปลูกป่าเพิ่มเติมในพื้นที่ของบริษัท เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ตามความสมัครใจ
Carbon Neutral กับ Net Zero สัมพันธ์กันอย่างไร?
นอกจากนี้ ในส่วนของเป้าหมาย Net Zero ได้ยกตัวอย่างว่า หากองค์กรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตันต่อปี องค์กรนั้น ๆ จะต้องทำกิจกรรมเพื่อชดเชยและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ (ในที่นี้รวมถึงก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ อีก 7 ประเภทด้วย) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะมีผลต่อเนื่องถึงปี 2050
สำหรับกรณีของเป้าหมาย Carbon Neutral ได้ยกตัวอย่างว่า กรณีที่มีปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตันต่อปี องค์กรจะต้องทำกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซ 0.5 ตัน โดยสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตมาสมทบเพื่อชดเชยได้ และจะถูกนำมาคำนวนในส่วนของ Carbon Neutral ด้วย นับเป็นการช่วยลดก๊าซนอกเหนือจากห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท
นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึง แนวทางในการลดก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 3 ซึ่งในการดำเนินการนั้น องค์กรจะต้องรู้ว่าคู่ค้าในกระบวนการดำเนินงานของบริษัทการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (ก๊าซเรือนกระจก) มากน้อยเท่าใดและจัดทำ Carbon Footprint เพื่อหาจุดที่เกิด/ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และหาวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการหาพลังงานทดแทน พลังงานสะอาด หรือพลังงาน EV มาใช้
ในงานสัมมนาครั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาต่างให้ความสนใจและแลกเปลี่ยนความรู้กันเต็มที่ เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ผู้บริหารและพนักงานให้ความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มุ่งสู่เป้าหมายเครือเจริญโภคภัณฑ์ Carbon Neutral ภายในปี 2030 และ Net Zero ภายในปี 2050 ไปด้วยกัน