ในช่วงที่แฟรนไชส์ไก่ทอดฟาสต์ฟูด หลายสัญชาติมาอยู่ในไทย
ไม่ว่าจะเป็นไก่ KFC, Texas Chicken, BonChon, KyoChon
ทำให้หลายคนเห็นว่าตลาด “ฟาสต์ฟูดไก่” กำลังร้อนระอุ
จนหลายคนเคยตั้งคำถามว่า แล้วไก่ย่างเชสเตอร์ สัญชาติไทย จะรอดหรือไม่ ?
ไม่ว่าจะเป็นไก่ KFC, Texas Chicken, BonChon, KyoChon
ทำให้หลายคนเห็นว่าตลาด “ฟาสต์ฟูดไก่” กำลังร้อนระอุ
จนหลายคนเคยตั้งคำถามว่า แล้วไก่ย่างเชสเตอร์ สัญชาติไทย จะรอดหรือไม่ ?
เพราะผลประกอบการของบริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ในช่วงปี 2558-2560 นั้นดูเหมือนว่าร้านไก่ย่างฟาสต์ฟูดแบรนด์นี้จะต้องเหนื่อย
ปี 2558 รายได้ 1,255 ล้านบาท ขาดทุน 7 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 1,156 ล้านบาท ขาดทุน 4 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 1,144 ล้านบาท ขาดทุน 15 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 1,156 ล้านบาท ขาดทุน 17 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 1,156 ล้านบาท ขาดทุน 4 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 1,144 ล้านบาท ขาดทุน 15 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 1,156 ล้านบาท ขาดทุน 17 ล้านบาท
แต่รู้หรือไม่ว่าบริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ยังรอดและพลิกกลับมาทำกำไรได้
ปี 2562 รายได้ 1,259 ล้านบาท กำไร 28 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 1,263 ล้านบาท กำไร 29 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 1,259 ล้านบาท กำไร 28 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 1,263 ล้านบาท กำไร 29 ล้านบาท
แล้วอะไรที่ทำให้ เชสเตอร์ ไก่ย่างฟาสต์ฟูดของไทย ยังอยู่มาได้นานถึง 34 ปี ? ลองมาวิเคราะห์กัน..
1. ยังไม่ค่อยมีใครทำแบรนด์ฟาสต์ฟูด ไก่ย่างขึ้นห้าง
ถึงแม้แฟรนไชส์ขายไก่สัญชาติอื่น ๆ จะมีสาขากระจายอยู่ทั่วเมืองไทย แต่เราจะเห็นว่าส่วนใหญ่แบรนด์เหล่านั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นเมนู “ไก่ทอด”
ซึ่งมีเพียงแค่เชสเตอร์ ที่ยังครองตำแหน่ง “ไก่ย่างฟาสต์ฟูด” ได้อย่างชัดเจน
ทำให้เมื่อนึกถึงแฟรนไชส์ฟาสต์ฟูดไก่ย่างที่ขึ้นห้าง เราจะนึกถึงเชสเตอร์ เป็นอันดับแรก แม้ระยะหลังจะเริ่มเพิ่มเมนูไก่ทอดเข้ามาเสริมความหลากหลาย
ทำให้เมื่อนึกถึงแฟรนไชส์ฟาสต์ฟูดไก่ย่างที่ขึ้นห้าง เราจะนึกถึงเชสเตอร์ เป็นอันดับแรก แม้ระยะหลังจะเริ่มเพิ่มเมนูไก่ทอดเข้ามาเสริมความหลากหลาย
ถึงแม้ว่าไก่ย่างดัง ๆ ขึ้นห้างในไทย ยังมีนิตยาไก่ย่าง แต่นิตยาไก่ย่าง ก็ไม่ใช่เมนูฟาสต์ฟูด และเจาะกลุ่มลูกค้าที่พรีเมียมขึ้นมากกว่าเชสเตอร์ จึงส่งผลให้มีราคาอาหารที่สูงกว่า
อีกทั้งนิตยาไก่ย่างก็ยังมีสาขาที่น้อยกว่าเชสเตอร์
โดยนิตยาไก่ย่างมี 22 สาขา ส่วนเชสเตอร์มี 235 สาขา
จึงทำให้ไก่ย่างเชสเตอร์ แมสกว่า และเข้าถึงคนได้มากกว่า
โดยนิตยาไก่ย่างมี 22 สาขา ส่วนเชสเตอร์มี 235 สาขา
จึงทำให้ไก่ย่างเชสเตอร์ แมสกว่า และเข้าถึงคนได้มากกว่า
2. ฟาสต์ฟูดที่รสชาติถูกปากคนไทย
เชสเตอร์ มีเมนูหลักที่คนไทยเข้าใจได้ง่ายค่อนข้างเยอะ เช่น ข้าวหน้าปลาลุยสวน, ข้าวไก่ย่างน้ำตก, ไก่ทอดน้ำปลา
และยังมีอีกสิ่งที่มัดใจคนไทยได้ก็คือ น้ำปลาพริกของเชสเตอร์ ที่อร่อยกลมกล่อม จนหลายคนพยายามแกะสูตรมาทำตาม
ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นเมนูที่คนไทยแทบทุกเจเนอเรชันคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ต่างจากแฟรนไชส์ไก่ทอดหลาย ๆ เจ้า ที่อาจไม่ค่อยมีเมนูหลักเป็นเมนูไทย ๆ เท่าไรนัก
3. จัดโปรโมชัน ไม่ขาดสาย
หนึ่งในสิ่งที่ทำให้คนไม่ลืมเชสเตอร์ อีกเรื่องก็คือ การจัดโปรโมชัน
เช่น ออกโปรโมชัน ไก่ 9 บาท จากราคาปกติชิ้นละ 38 บาท
ออกโปรโมชัน ลดแลกแจกแถม ที่เพียงเปิดหน้าแอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรีต่าง ๆ ขึ้นมาก็เจอเสมอ
เช่น ออกโปรโมชัน ไก่ 9 บาท จากราคาปกติชิ้นละ 38 บาท
ออกโปรโมชัน ลดแลกแจกแถม ที่เพียงเปิดหน้าแอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรีต่าง ๆ ขึ้นมาก็เจอเสมอ
ซึ่งการลดราคากระหน่ำของเชสเตอร์ ก็มีผลดึงดูดใจคนให้กลับไปบริโภคได้ไม่น้อย
4. แม้แบรนด์จะดูมีอายุ แต่ก็พยายามจับกระแสทำสิ่งใหม่
เชสเตอร์ เปิดร้านที่มีการรีแบรนด์ เมนู และการตกแต่งร้านใหม่ทั้งหมด นั่นก็คือ Chester’s Fast Café
โดยเป็นร้านอาหารสไตล์ฟิวชันญี่ปุ่น ที่ยังรักษาความเป็นอาหารไทยที่มีรสจัดจ้านเอาไว้ และยังดีไซน์ร้านให้มีความมินิมัล ซึ่งการทำร้านนี้ขึ้นมา ก็ถือว่าทำให้เชสเตอร์ เป็นกระแสในโซเชียลมีเดียได้
และล่าสุดเชสเตอร์ ก็ได้ออกเมนูใหม่คือ ไก่กัญชา ซึ่งก็ขายดิบขายดี หมดไวเกือบทุกสาขา
ซึ่งแน่นอนว่าคนที่ชอบลองของใหม่ ๆ และกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบเมนูกัญชาก็อยากเข้ามาลอง
ซึ่งแน่นอนว่าคนที่ชอบลองของใหม่ ๆ และกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบเมนูกัญชาก็อยากเข้ามาลอง
ดังนั้นการที่เชสเตอร์ ทำให้แบรนด์ยังอยู่ในกระแสตลอดเวลา ก็จะช่วยทำให้แบรนด์ที่ดูเก่าแก่ อายุ 34 ปี ยังอยู่ได้นั่นเอง
ที่มา Longtunman