เทรนด์อาหารและร้านอาหารของไทยในปี 2565
แนวโน้มในปี 65 ไม่ต่างจากปีก่อนหน้านัก เพราะการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคอาหารหลาย ๆ อย่างเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเทรนด์รักสุขภาพที่กำลังมาแรง ทำให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยบำรุงร่างกายจึงเป็นที่ต้องการ ในขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนก็มีความต้องการมากขึ้น ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินให้กับสินค้า Green Product มากขึ้น
วิจัยกรุงศรีคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะเติบโตเฉลี่ย 3.7% ต่อปี ในช่วง 3 ปีข้างหน้า (65-67) และการบริโภคของภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้น 3.6% ในกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้สูงในปี 65 ธุรกิจต่าง ๆ กำลังพัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในสถานการณ์วิกฤตการแพร่ระบาดเชื้อ ผู้บริโภคจะได้เห็นประสบการณ์การรับประทานอาหารแบบใหม่ และการ Collab ข้ามธุรกิจ หรือข้ามอุตสาหกรรม
1. เทรนด์ Plant-Based และ Nutritional Food
ในช่วง 2-3 ปีมานี้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด คนเริ่มหันมามุ่งเน้นเรื่องสุขภาพมากขึ้น Euromonitor and Allies Company ประมาณการว่ามูลค่าตลาดของอาหารจากพืชในไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 845 ล้านดอลลาร์ในปี 2562 เป็น 1,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2567 โดยมีการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10 /ปี
กลุ่มร้านอาหารบริการด่วนรายใหญ่ (QSR) หลายร้านก็เริ่มนำเสนอ Plant-Based มาตั้งแต่ปีก่อน และยังคงมีเมนูใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง บางรายก็กระโดดไปทำ Plant-Based อาหารทะเล ซึ่งต่างจากเนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมู นอกจากนั้น ในส่วนของนมก็มีการใช้พืชชนิดใหม่ ๆ เข้ามา เช่น มันฝรั่ง ข้าวบาร์เลย์ จากเดิมที่เราจะเห็นเป็นอัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต เสียส่วนใหญ่
2. เทรนด์อาหาร Flexitarian และ Reducetarian
การเพิ่มขึ้นของมังสวิรัติและการกินเจเมื่อหลายปีก่อนกระตุ้นให้ร้านอาหารขยายรายการเมนูจากพืช ผัก ผลไม้ เห็ด และพืชตระกูลถั่วมากมาย
กลุ่มเฟล็กซิทาเรียน คือ คนที่พยายามจะลดการรับประทานเนื้อสัตว์แต่ยังไม่เลิกรับประทานเด็ดขาดขึ้นอยู่กับโอกาส กำลังเป็นที่นิยม ผู้ประกอบการจึงต้องเพิ่มอาหารยืดหยุ่นช่วยให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ที่มากกว่าอาหารเจและการกินเจ อีกทั้งอาหารลดไขมันก็กำลังเป็นที่นิยมเช่นกัน
ผลวิจัยจากเนสท์เล่ โปรเฟสชันนัล พบว่าร้อยละ 65 ของผู้บริโภคชาวไทยที่มีการปรับทั้งอาหาร Flexitarian หรือ Reducetarian รับประทานเนื่องจากปัญหาสุขภาพ
ในขณะที่ 20 เปอร์เซ็นต์จะรับประทานเพื่อลดน้ำหนัก
แบรนด์อาหารกำลังพัฒนา Flexitarian และ Reducetarian เพื่อดึงดูดผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น
3. เทรนด์อาหารไร้พรมแดนและรสชาติอันเป็นสากล
ผู้บริโภคกำลังมองหารสชาติที่แปลกใหม่ เชฟและร้านอาหารจึงต้องมองหา Ingredient ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เทรนด์อาหาร ‘ไร้พรมแดน’ มุ่งหวังที่จะผสมผสานอาหารระดับภูมิภาคเพื่อสร้างสรรค์รสชาติใหม่ โดยนำเสนอรสชาติผสมผสานที่ยังคงความเอกลักษณ์ ทำลายขอบเขตดั้งเดิม แนวคิดร้านอาหาร Pop Up จึงกลายเป็นหนึ่งในกระแสนิยมในอุตสาหกรรมร้านอาหารไทยไปด้วย ตอบโจทย์ในประเด็นนี้ เพราะเป็นพื้นที่ให้เชฟได้แสดงความสามารถของตน และลูกค้าได้ทดลองเมนูใหม่ ๆ
4. เทรนด์ Collaborations
ในปีนี้เราจะได้เห็นความร่วมมือของอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และข้ามอุตสาหกรรม การทำงานร่วมกันทำให้บริษัทหรือธุรกิจสามารถแบ่งปันฐานข้อมูลลูกค้า ช่องทางการจำหน่าย แพลตฟอร์มสื่อ เช่น แสนสิริ x บาร์บีคิว พลาซ่า ที่ได้จับมือกันสร้างการรับรู้ด้วยการตั้งแคมเปญ Tiktok และไลฟ์สดในแสนสิริซึ่งดึงดูดผู้อยู่อาศัยได้มากกว่า 100,000 ครอบครัว ความร่วมมือของสองอุตสาหกรรมที่ต่างกันสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งรายได้ใหม่ของทั้งสองบริษัท
5. เทรนด์ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและเกษตรในเมือง (Urban Farming)
เชฟและร้านอาหารเริ่มจัดหาวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีกับชุมชน อีกทั้งยังสร้าง Story Background ในจานอาหารได้ เพื่อสร้าง Brand Loyalty และอีกแนวคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดเชื้อ คือ Urban Farming ร้านค้าปลีกขนาดเล็กเริ่มปลูกสมุนไพร ผักและผลไม้ ตามสถานที่ การทำเกษตรในเมืองนี้ช่วยให้ลูกค้าได้เห็นกระบวนการผลิตตั้งแต่ในกระถางจนถึงปลายน้ำที่เสิร์ฟบนโต๊ะ ร้านอาหารจึงหันมาทำ Urban Farming เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งผู้บริโภคในเมืองที่กำลังมองหาเมนูที่เป็นมิตรและดูแตกต่าง
6. เทรนด์การเปลี่ยนแปลงคอนเซ็ปต์ของร้านอาหาร
กลุ่มร้านอาหารเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในช่วงการระบาดใหญ่ ผู้ประกอบการได้มองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการรักษาธุรกิจของตนไว้ด้วยกลยุทธ์และโซลูชั่นใหม่ ๆ เช่น การลดเมนูบางรายการ ลดจำนวนวันเปิดร้านเพื่อลดสินค้าคงคลังและลดต้นทุนอาหาร ติดตั้งเครื่องบริการตนเองได้ที่ QSRs ลดการพึ่งพาพนักงานและประหยัดค่าแรง
ที่มา Marketeer