“ลูกหนี้” ต้องเตรียมรับมืออย่างไร? จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ กนง.

ลูกหนี้ต้องเตรียมรับมืออย่างไร จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของกนง. เมื่อลูกหนี้บ้าน-หนี้ธุรกิจ เจอผลกระทบเป็นหลัก

กนง. ขึ้นดอกเบี้ยลูกหนี้ต้องเตรียมรับมืออย่างไร? น่าจะเป็นคำถามแทนประชาชนหลายๆ คนที่กำลังต้องการคำตอบจากเรื่องนี้กันอยู่ไม่น้อย

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)  โดยระบุว่า ส่องกนง. ขึ้นดอกเบี้ย ลูกหนี้ต้องเตรียมรับมืออย่างไร?

การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของกนง. จะกระทบกับหนี้ประเภทดอกเบี้ยแบบลอยตัวของหนี้บ้าน และหนี้ธุรกิจเป็นหลัก

สถาบันการเงินจะดูแลปรับดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อชะลอผลกระทบกับกลุ่มเปราะบาง และยังมีมาตรการแก้หนี้ระยะยาวผ่านมาตรการการปรับโครงสร้างหนี้อย่างตรงจุดให้ผู้ประกอบธุรกิจ

 

ลูกหนี้จะปรับตัวอย่างไร หาคำตอบที่นี่

การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของกนง. จะกระทบกับหนี้ประเภทดอกเบี้ยแบบลอยตัวของหนี้บ้านและหนี้ธุรกิจเป็นหลัก

โดยทางการและสถาบันการเงินจะดูแลการปรับดอกเบี้ยให้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อชะลอผลกระทบในกลุ่มเปราะบาง รวมถึงยังมีมาตรการแก้หนี้ระยะยาวผ่านมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างตรงจุดให้กับผู้ประกอบธุรกิจ

ปัจจุบัน ภาระหนี้ 60% ของหนี้ครัวเรือนไทยเป็นหนี้ประเภทดอกเบี้ยแบบคงที่ เช่น ลูกหนี้รถและลูกหนี้บัตรเครดิต จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยแบบลอยตัว คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เปลี่ยนแปลงตามต้นทุนของสถาบันการเงิน ซึ่งจะประกาศเป็นคราวๆ ไป เช่น MLR , MOR , MRR

ดอกเบี้ยแบบคงที่ คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขคงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้หรือในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น กำหนดให้ชำระดอกเบี้ย 7% ต่อปี เป็นเวลานาน 4 ปี

ลูกหนี้บ้าน

ผลกระทบ 

– ค่างวดผ่อนชำระรายเดือนยังเท่าเดิม แต่ระยะเวลาในการผ่อนชำระนานขึ้น

* ปกติสถาบันการเงินเจ้าหนี้จะมีการบวก “ค่าผ่อนเผื่อรองรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยอ้างอิง” ประมาณ 0.5-1% ซึ่งหากดอกเบี้ยขึ้นสูงกว่าค่าผ่อนที่เผื่อไว้ จะส่งผลให้ระยะเวลาในการผ่อนชำระนานขึ้น

ปรับตัวอย่างไร 

– ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เพื่อนำเงินไปโปะหนี้ ทำให้สามารถปลดหนี้ได้เร็วขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย

– หากต้องการลดการผ่อนต่องวด ต้องยื่นเรื่องกับเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระ

– รีไฟแนนซ์ไปยังสถาบันการเงินอื่นๆ ที่ให้ดอกเบี้ยถูกกว่า โดยพิจารณาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ เช่น

ค่าดอกเบี้ยเงินกู้

ค่าจดจำนองที่สถาบันการเงินใหม่

ค่าธรรมเนียมการจ่ายชำระหนี้ก่อนกำหนด กรณีกู้กับสถาบันการเงินเดิมไม่ถึง 3 ปี

ลูกหนี้ธุรกิจ

ผลกระทบ 

– ได้รับผลกระทบเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยลอยตัว

ปรับตัวอย่างไร 

– สำรวจรายได้ ค่าใช้จ่ายของธุรกิจ และบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้

– หากเห็นว่าได้รับผลกระทบจนไม่สามารถบริหารจัดการได้ ให้รีบหารือกับเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาตกลงปรับโครงสร้างหนี้

ลูกหนี้ที่มีคำถามหรือปัญหาในการจ่ายหนี้

ควรรีบติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้ หรือสามารถปรึกษา “หมอหนี้เพื่อประชาชน” เพื่อรับคำแนะนำการแก้ไขหนี้ทั้งรายย่อยและธุรกิจรวมทั้งแนวทางการสร้างรายได้เพิ่ม

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย / TNN ONLINE