เศรษฐกิจไทยโตเกินคาด หนุนปีงบ’65 หนี้สาธารณะลด เหลือ 60.41% / เปิดเกณฑ์ ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษีสูงสุด 4 หมื่นบาท / หมดยุคเงินทุนหาง่าย! กองทุน Venture Capital อาเซียนชะลอลงทุนสตาร์ทอัพ

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

หนี้สาธารณะไทย

เศรษฐกิจไทยโตเกินคาด หนุนปีงบ’65 หนี้สาธารณะลด เหลือ 60.41%

  • นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2565 ยอดหนี้รวมอยู่ที่ 10.37 ล้านล้านบาท คิดเป็น 60.41% ต่อจีดีพี ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 60.56% เนื่องจากเศรษฐกิจเติบโตกว่าที่คาด และคาดว่าปี 2566 หนี้สาธารณะจะต่ำกว่า 60.43%
  • อย่างไรก็ตาม กรอบเพดานที่กำหนดไว้ 70% หากพิจารณาจากมูลหนี้สาธารณะทั้งหมดแล้ว รัฐบาลยังมีช่องที่จะสามารถกู้เงินได้อีก 1.7 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุน และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น (ประชาชาติธุรกิจ)

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เปิดเกณฑ์ ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษีสูงสุด 4 หมื่นบาท

  • นาย ลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร ระบุว่ามาตรการช้อปดีมีคืนปี 2566 เป็นปีพิเศษที่กรมสรรพากรจะโปรโมตการใช้ e-Tax Invoice และ e-Receipt โดยวงเงินจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 หมื่นบาท โดย 3 หมื่นแรกสามารถใช้แบบเดิมได้ แต่หมื่นที่ 4 จะต้องซื้อในร้านค้าที่มีระบบ e-Tax Invoice โดยในปี 2566 นี้ กรมสรรพากรวางแผนว่าจะเดินหน้าเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังและเต็มรูปแบบ โดยกรมสรรพากรประเมินว่าจะมีคนใช้งานถึง 1.4 ล้านคน และจะมีเม็ดเงินที่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 12,000 ล้านบาท แม้ว่าจะสูญเสียภาษีไปประมาณ 6,200 ล้านบาทก็ตาม (The Standard)

ธุรกิจสตาร์ทอัพ

หมดยุคเงินทุนหาง่าย! กองทุน Venture Capital ในอาเซียนชะลอลงทุนในสตาร์ทอัพ

  • ข้อมูลจาก Crunchbase ระบุว่าการลงทุนของ Venture Capital ทั่วโลกรวม 3 ไตรมาสแรกปี 2022 มีมูลค่าเพียง 3.69 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าปี 2021 ที่เคยทำสถิติสูงถึง 6.79 แสนล้านดอลลาร์
  • โดยเฉพาะภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่พบการหดตัวของการลงทุน VC ถึง 25-30% ท่ามกลางสถานการณ์ตลาดหุ้นดิ่งลงตั้งแต่ต้นปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยกำลังพุ่งขึ้น และผลประกอบการของสตาร์ทอัพที่น่าผิดหวัง
  • บรรดาสตาร์ทอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างยังไม่สามารถทำกำไรได้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Sea Group หรือ Grab ซึ่งยังรายงานผลขาดทุนระดับพันล้านดอลลาร์ (CNBC)