IMF ประเมินเศรษฐกิจโลกปี 66 ขยายตัว 2.9% คาดเศรษฐกิจไทยโต 3.7% / ครม. ไฟเขียว เอ็นที ลงทุนบริการ 5G 6,705 ล้าน / ค่าครองชีพที่สูงขึ้นไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้คนในเอเชียเลื่อนการเกษียณอายุ

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

เศรษฐกิจไทย

IMF ประเมินเศรษฐกิจโลกปี 66 ขยายตัว 2.9% คาดเศรษฐกิจไทยโต 3.7%

  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอมเอฟ) เผยแพร่รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 2.9% โดยเพิ่มขึ้น 0.2% จากคาดการณ์ครั้งก่อน โดยเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567 โต 3.7% และ 3.6% ตามลำดับ
  • ไอเอมเอฟยังระบุว่า จีนและอินเดียเมื่อรวมกันแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวครึ่งหนึ่งของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ โดยอินเดียคาดว่าจะขยายตัว 6.1% ในปีนี้ ก่อนจะฟื้นตัวมากขึ้นเป็น 6.8% ในปีหน้า ขณะที่จีน คาดจะขยายตัว 5.2% ในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นถึง 0.8% จากการคาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว จากการที่จีน เปิดประเทศเร็วขึ้น ช่วยหนุนกิจกรรมเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
  • ขณะที่ไอเอมเอฟมองว่าประเทศเยอรมนีและอิตาลี รอดพ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปได้แล้วในปีนี้ โดยภาคยุโรปฟื้นตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้แม้จะมีภาวะสงครามก็ตาม (บางกอกอินไซต์)

ครม.ไฟเขียว เอ็นที ลงทุนบริการ 5G 6,705 ล้าน

  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการโครงการบริการ 5G สำหรับลูกค้าองค์กรของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) วงเงินจำนวน 4,964.30 ล้านบาท และรับทราบวงเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานวงเงิน 1,741.3 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินตลอดโครงการระยะเวลา 14 ปี 6,705.6 ล้านบาท
  • โครการนี้เกิดขึ้นจากการที่ บมจ.โทรคมนาคมฯ ประสงค์นำเทคโนโลยี 5G มาให้บริการบนย่านความถี่ 26 GHz ที่ได้รับจากการเข้าประมูลปี 2563 โดยมีกลุ่มเป้าหมายองค์กรที่จะรับบริการภายใน 6 ปี 438 รายได้แก่ หน่วยงานรัฐ 11 ราย กลุ่มโรงพยาบาล 47 ราย กลุ่มสถาบันการศึกษา 30 ราย และโรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ เช่น อีอีซี 350 ราย (ประชาชาติธุรกิจ)

สังคมจิตวิทยา

ค่าครองชีพที่สูงขึ้นไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้คนในเอเชียเลื่อนการเกษียณอายุ

  • วิกฤตค่าครองชีพทำให้แผนการเกษียณอายุคนทำงานทั่วโลกล่าช้าออกไป แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของคนทำงานแถบเอเชียแปซิฟิก รายงาน Workmonitor ล่าสุดของ Randstad พบว่า 70% ของคนทำงานแถบเอเชียแปซิฟิกรู้สึกว่างานเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต เพราะการมีงานทำช่วยให้ “รู้สึกมีค่าและได้รับความเคารพ” ตัวเลขผลการสำรวจการเกษียณก่อนอายุ 65 นั้น ลดลงเป็น 50% จาก 61% ในปีก่อน
  • เอเชียเป็นที่ตั้งของสามในห้าของประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด คือ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย โดยรายงานระบุว่า คนงานในบางประเทศในเอเชียมีความคิดว่างานเป็น “ส่วนสำคัญของชีวิต” ตัวอย่างเช่น 89% ของคนงานในจีน และ 90% ของชาวอินเดียเห็นด้วย ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก 20% (CNBC)