ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ
เศรษฐกิจจีน
จีนดำเนินมาตรการอย่างระมัดระวังต่อเศรษฐกิจในปี 2566
- ผู้นำของจีนแสดงท่าทีระมัดระวังเกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ หลังจากยุติข้อจำกัดส่วนใหญ่ของโควิดในกิจกรรมทางธุรกิจเมื่อปลายปีที่แล้ว
- โดยประกาศเมื่อวันอาทิตย์ถึงเป้าหมาย การเติบโต ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ “ประมาณ 5%” ในปี 2566 โดยจะมีการเพิ่มการสนับสนุนทางการคลังเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ให้การสนับสนุนแบบ ”สุ่มสี่สุ่มห้า”
- การบริโภคมีความสามารถกลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ได้
- GDP เติบโตเพียง 3% ในปีที่แล้ว ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายอย่างเป็นทางการ เนื่องจากการควบคุมของโควิดและการตกต่ำของอสังหาริมทรัพย์ฉุดการเติบโตให้ลดลง ยอดค้าปลีกลดลง 0.2% ในปี 2565
- จีนคาดการอัตราส่วนการขาดดุลต่อ GDP จะเพิ่มขึ้นเป็น 3% จาก 2.8% ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ จีนยังได้เพิ่มโควตาพันธบัตรเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษต่อปีอีก 1.5 แสนล้านหยวน เป็น 3.8 ล้านล้านหยวน (ซีเอ็นบีซี)
รถยนต์ไฟฟ้า
จับตาวาระ ครม.เคาะแพ็กเกจ EV ก่อนยุบสภาฯ
- กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมเสนอ ครม. อนุมัติมาตรการจูงใจผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าก่อนยุบสภา
- ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบาย EV แห่งชาติเห็นชอบในหลักการข้อเสนอลดภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่ EV จากปัจจุบัน 8% เหลือ 1% พร้อมเงินช่วยเหลือ 24,000 ล้านบาทสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ EV
- ผู้ผลิตแบตเตอรี่ EV ที่มีความจุน้อยกว่า 8 กิกะวัตต์ชั่วโมง จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 400 -600 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ในขณะที่โรงงานที่ผลิตแบตเตอรี่ EV ขนาด 8GWh ขึ้นไปจะได้รับระหว่าง 600 – 800 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง
การให้เงินอุดหนุนดังกล่าวน่าจะช่วยให้ราคาแบตเตอรี่ EV และ EV โดยรวมถูกลง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมการผลิต EV ของประเทศ (บางกอกโพสต์)
เศรษฐกิจไทย
นักเศรษฐศาสตร์ ห่วงส่งออกทรุดต่อ ฉุดเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกซึม
- ส่งออกไทย ทรุดต่อเนื่อง ล่าสุด เดือนม.ค. หดตัวลง 4.5% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 23 เดือน
- นักวิเคราะห์ห่วง หากส่งออกติดลบต่อเนื่อง ฉุดเศรษฐกิจไทยต่ำกว่าคาด เดือน มี.ค. อาจติดลบแรงกว่า 10%
- ส่งออก ต่ำกว่านำเข้ามาก ฉุดไทยขาดดุลการค้าต่อเนื่อง ลามสู่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน ส่งผลให้ไทยเผชิญ เงินทุนไหลออก กระทบเงินบาทผันผวนอ่อนค่าแรง
- หวังจีนเปิดเมือง นักท่องเที่ยวเข้าไทย ช่วยพยุงเศรษฐกิจ ชดเชยผลกระทบจากส่งออกทรุดได้ (กรุงเทพธุรกิจ)