ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ
เทคโนโลยี
แจ็ค หม่า กลับจีนในรอบหลายเดือน เป็นสัญญาณ ทางการกำลังผ่อนคลายบริษัทเทคโนโลยี
- แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งบริษัทอาลีบาบา ถูกพบในจีนหลังจากใช้เวลาหลายเดือนในต่างประเทศ และเป็นครั้งแรกที่ปรากฏตัวต่อสาธารณชนในจีนนับตั้งแต่ปีที่แล้ว หลังเดินทางออกนอกจีนและถูกพบในสเปน ญี่ปุ่น และไทย
- การปรากฏตัวอีกครั้งของ หม่า เกิดขึ้นหลังจากการปราบปรามบริษัทเทคโนโลยีอย่างรุนแรงและเข้มงวดกับกฎ ระเบียบในภาคส่วนภายในประเทศ ซึ่งทำให้อาลีบาบา ถูกปรับ2.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564
- กฎระเบียบที่เข้มงวดของจีนเกี่ยวกับภาคเทคโนโลยีทำให้นักลงทุนกลัวว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิงกำลังหันหลังให้กับองค์กรเอกชนและผู้ประกอบการ แต่จีนกำลังเผชิญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอในปีที่ผ่านมา
- นักวิเคราะห์คาด การที่ หม่า ปรากฏต่อสาธารณะ รัฐบาลตั้งใจที่จะส่งสัญญาณให้ภาคเอกชนและนักลงทุน ว่าแม้แต่แจ็ค หม่า ยังถูกมองว่าได้รับการอภัยโทษ คนอื่นๆ ก็ควรรู้สึกปลอดภัยและได้รับการต้อนรับ (ซีเอ็นบีซี)
เศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ส่องขุมทรัพย์ ‘แร่หายาก’ ที่ธุรกิจ ‘ชิป’ และ ‘EV’ ขาดไม่ได้
- “แร่หายาก” หรือ “Rare Earth” เป็นวัตถุดิบผลิตชิป และ ยังถูกใช้ทำแม่เหล็กแบบถาวร (Permanent Magnet) ซึ่งเป็นส่วนประกอบในมอเตอร์ของรถยนต์ไฟฟ้า มอเตอร์ในกังหันลม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
- แร่หายากอย่างทูเลียม มีมากกว่าทองคำ 125 เท่า และซีเรียมมีมากกว่าทอง 15,000 เท่า แต่ที่ได้ชื่อว่าหายาก เพราะในขณะที่ทองคำ “อยู่เป็นกลุ่มก้อน” แร่หายากกลับ “อยู่กระจัดกระจายอย่างละเล็กน้อยทั่วโลก”
- ตามข้อมูลสถาบันสถิติ จีนครองอันดับนึง ประเทศที่ครองส่วนแบ่งผลิตแร่หายากมากที่สุด เป็นสัดส่วน 70% ในขณะที่ สหรัฐ เป็นอันดับ 2 ที่ 14.33% ส่วนไทย ผลิตแร่หายากได้เป็นอันดับ 5 ของโลกที่ 2.37%
- การครองส่วนแบ่งแร่หายากส่วนใหญ่โดยจีน และการเมืองที่ไม่แน่นอน กำลังทำให้สหรัฐและพันธมิตรเพิ่มการลงทุนขุดแร่หายากมากขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาจีน (บางกอกโพสต์)
ความยั่งยืนไทย
“โลกร้อน” ทำเศรษฐกิจพัง ภาคอุตสาหกรรมรุกร่วมแก้ปัญหา
- ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้สร้างผลกระทบอย่างสูงต่อประเทศไทย สภาพัฒฯ ระบุว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงพ.ศ. 2543-2562 เสียหายเฉลี่ย 0.82% ของเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งมีความเสียหายเป็นอันดับ 9 ของโลก
- world bank มีเป้าหมาย ในการลดผลกระทบที่จะเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ซึ่งในอนาคตจะมีผลกระทบที่เร็วและแรงจากธรรมชาติ การจะลดผลกระทบงานต้องมีความร่วมมือจากทางภาครัฐและภาคส่วนต่างๆ
- ไทยมีแผน ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลง 40% ในปี 2030 เป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 ตามกติกาของสหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของโลก ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีความท้าทายในด้านการส่งออก เพราะ GDP ของไทยพึ่งพาการส่งออกถึง 60% (บางกอกโพสต์)