ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ
เทคโนโลยี
“ฉางอัน ออโตโมบิล” ลงทุนในไทย 9.8 พันล้านบาท ตั้งฐานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ EV เฟสแรก
- ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของจีน ฉางอัน ออโตโมบิล ประกาศตั้งฐานผลิตรถยนต์ EV พวงมาลัยขวาแห่งแรกนอกจีน 1 แสนคันต่อปีด้วยเงินลงทุน 9.8 พันล้านบาท และส่งออกแบตเตอรี่สู่กลุ่มอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ และแอฟริกาใต้ ตามยุทธศาสตร์เร่งการขยายธุรกิจในระดับโลก “ก้าวหน้าในทุกแง่มุม ฉางอันเข้าถึงทั่วโลก”
- BOI เดินทางไปพบผู้บริหารระดับสูงที่จีนเมื่อเมษายน 2566 และย้ำมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ และความพร้อมของไทยในการเป็นฐานการผลิต EV โดยได้เริ่มหารือกับซัพพลายเออร์ในไทยทั้งรายเล็กและรายใหญ่
- BOI เดินหน้าดึงผู้ผลิต EV รายอื่นๆ ทั้งในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ให้เข้ามาลงทุนเพิ่มเติม ควบคู่กับการส่งเสริมระบบชาร์จไฟฟ้าและ Ecosystem เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง (เดอะแสตนดาร์ด)
เศรษฐกิจเอเชีย
ปัดฝุ่นตั้ง‘กองทุนการเงินเอเชีย’ ลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
- จากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีนทั้งนในประเด็นเศรษฐกิจ ทำให้นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเรียกร้องให้รื้อฟื้นการจัดตั้งกองทุนการเงินเอเชีย หรือ IMF เวอร์ชั่นเอเชีย ให้เป็นรูปธรรม เพื่อรับมือกับวิกฤตการเงินเหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2540 เพื่อลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้รับการชื่นชมจากจีนในทันที และกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นพ้องต้องกันที่จะใช้สกุลเงินท้องถิ่น
- จากการคว่ำบาตรทำให้รัสเซียจับมือกับจีนจนปริมาณการแลกเปลี่ยนโดยใช้‘หยวน-รูเบิล’เพิ่มขึ้นกว่า 80 เท่าตัว สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอินเดียก็กำลังเจรจาที่จะใช้เงินรูปีของอินเดียซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์และเป็นครั้งแรกในรอบ 48 ปีที่ซาอุดีอาระเบียเปิดรับการซื้อขายน้ำมันโดยใช้สกุลเงินอื่นที่ไม่ใช่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
- อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการยอมรับสกุลเงินทางเลือก และสภาพคล่องที่ยังไม่มากพอ ดอลลาร์สหรัฐได้เปรียบเพราะมีมูลค่าตลาดที่แข็งแกร่งทั่วโลก (กรุงเทพธุรกิจ)
เศรษฐกิจโลก
การส่งออกข้าวโพดและข้าวสาลีของยูเครนมีแนวโน้มลดลง
- การถูกรุกรานของยูเครนส่งผลให้ในปีนี้ผลผลิตธัญพืชจากฟาร์มโดยอาจลดลงถึง 50% จากระดับก่อนสงครามในระยะยาว อุปทานจะเปลี่ยนไปสู่ประเทศต่างๆ เช่น อเมริกาเหนือและใต้ ยูเครนขาดการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ราคาธัญพืชในยูเครนก็ต่ำมาก แรงจูงใจสำหรับเกษตรกรในการปลูกจึงลดลง
- สงครามในยูเครนมีส่วนทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า 5% ในประเทศที่มีรายได้ต่ำมากกว่า 80% ข้อจำกัดในการส่งออกจากยูเครนส่งผลกระทบต่อราคาระบบอาหารอย่างรุนแรง (ซีเอ็นบีซี)