“กมลวรรณ รุ่งประเสริฐวงศ์” บัณฑิตจากรั้ว PIM เยาวชนหนึ่งเดียวผู้นำรุ่นใหม่ด้านเศรษฐกิจชุมชน จ.กาญจนบุรี ชูนวัตกรรมเลี้ยง “ไข่ผำ” ส่งต่อสู่เด็กรุ่นใหม่ พร้อมเป็นตัวแทนยุวเกษตรกรไทยไปแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ณ ญี่ปุ่น เพื่อสานต่อโอกาสต่อยอดตลาด“ผำ” ให้กับชุมชนและประเทศไทย
จากโอกาสที่รับ ในการเข้ามาศึกษาคณะการจัดการโลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่ง สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)ได้เปลี่ยนมุมมอง ความคิดของเด็กหญิงในครอบครัวเกษตรกร “กมลวรรณ รุ่งประเสริฐวงศ์” ให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชนบ้านเกิด
น.ส.กมลวรรณ รุ่งประเสริฐวงศ์ หรือ น้องแสบ เกษตรกรรุ่นใหม่ เจ้าของ “ไร่แสงสกุลรุ่ง” จ. กาญจนบุรี ศิษย์เก่าคณะการจัดการโลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่ง สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เล่าถึง สวนเกษตรอินทรย์แบบผสมผสานที่มีกลิ่นไอของความรัก ความผูกพันของครอบครัว “รุ่งประเสิฐวงศ์” ว่า “ไร่แสงสกุลรุ่ง” เป็นไร่ที่สานต่อความรักในอาชีพเกษตรกรของครอบครัว เกิดจากการเป็น “ผู้ที่ได้รับโอกาสดีๆ” สู่ “การเป็นผู้ให้ส่งต่อสู่ชุมชนบ้านเกิด” โดยหลังจากที่มีโอกาสเข้ารียนในสาขาโลจิสติกส์ที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์(PIM) เมื่อปี 2559 และได้รับทุนการศึกษาจากซีพี ออลล์ ก็ได้นำความรู้มาต่อยอดสานต่องานของครอบครัว สร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชนจนสำเร็จ
“ไร่แสงสกุลรุ่ง” มีเป็นการปลูกพืชไร่ พืชสวน แบบผสมผสาน บนพื้นที่กว่า 15 ไร่ ไม่ว่าจะเป็น มะม่วง มะพร้าว กล้วย ผักสวนครัว ชะอม มะกอกน้ำ และการเพาะเลี้ยงสาหร่าย “ผำ” และต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ไปพร้อมๆ กับการทำการตลาด หาช่องทางในการขาย ซึ่งเป็นความรู้ที่เราได้รับจากการเรียนนำมาประยุกต์และปรับใช้ให้สินค้าทางการเกษตรของไร่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น มะกอกน้ำแช่อิ่ม/อบแห้ง, ข้าวเกรียบผำ, โจ๊กผำมัทฉะ, เครื่องดื่มผำ และสบู่ล้างหน้าจากผำ เป็นต้น โดยเฉพาะการเลี้ยง “ผำ” พืชน้ำที่มีประโยชน์และคุณค่ามหาศาลแต่คนทั่วไปอาจจะยังไม่ทราบ โดยทางไร่ได้ทดลองเลี้ยง “ผำ” ด้วยจุลินทรีย์พิเศษที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารและน้ำที่มีคุณภาพ ทำให้ไข่ผำของไร่มีกลิ่นพิเศษเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแห่งเดียวในเมืองไทย
น้องแสบ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันไร่แสงสกุลรุ่งคิดค้นการเพาะเลี้ยงไข่ผำจนทำให้ได้ “ผำ” ที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย จากนั้นได้เผยแพร่องค์ความรู้ในการเพาะเลี้ยงไข่ผำให้กับชุมชนได้มีรายได้ เพราะตลาดมีความต้องการสูงมาก ตนรับซื้อในกิโลกรัมละ 60 บาท นอกจากนี้ ก็ได้นำความรู้ที่เรามีส่งต่อสอนน้องๆ ในชุมชนและในโรงเรียนบ้านทุ่งมะขามเฒ่า ในโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ การเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงผำเป็นหลักสูตรเฉพาะของโรงเรียนทุ่งมะขามเฒ่า เด็กๆ สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้
ทั้งนี้ในปี 2566 ตนเองได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งใน 6 ตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนยุวเกษตรกรไทยกับประเทศญี่ปุ่น (Young Smart Farmer) ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรู้สึกดีใจมาก เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีการเกษตรที่ก้าวหน้า และให้ความสนใจเรื่อง “ผำ” เป็นอย่างมาก ดังนั้นเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ต่อยอดและสร้างโอกาสในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงผำของชุมชนบ้านทุ่งมะขามเฒ่า เป็นประโยชน์กับชุมชนและประเทศชาติต่อไป
ด้านนายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และ เซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า ซีพี ออลล์ มีนโยบายในการส่งเสริมการศึกษา พัฒนาเยาวชน ให้โอกาสกับเยาวชน ได้รับการศึกษาที่ดีและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือ มีอาชีพและรายได้เลี้ยงครอบครัว โดยในปี 2548 ได้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาเพื่อสังคมขึ้นมา 2 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดและด้านวิชาชีพในระดับ ปวช.ปวส., รวมถึงก่อตั้งศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์อีกกว่า 20 แห่งทั่วประเทศ ผ่านระบบ Internet broadcasting for Classrooms และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยที่มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เรียกว่า Work-based Education ให้โอกาสเยาวชนได้ต่อยอดทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
สำหรับในปี 2566 ทางบริษัทฯ ได้มอบทุนการศึกษาหลายประเภท รวมแล้วกว่า 39,000 ทุน เป็นเงินมูลค่ากว่า 1,300 ล้านบาท เพื่อร่วมพัฒนาโอกาสทางการเรียนรู้ให้กับเยาวชนไทย ตามปณิธานองค์กร “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน” ของซีพี ออลล์
“ซีพี ออลล์ เห็นความสำคัญของการให้โอกาสทางการศึกษา สร้างโอกาสทางอาชีพ สร้างรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดี จึงมีการดำเนินงานและการสนับสนุนโครงการด้านการศึกษาและการเรียนรู้มาโดยตลอด ซึ่ง น.ส.กมลวรรณ รุ่งประเสริฐวงศ์ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของเด็กรุ่นใหม่ ที่มีความฝันและลงมือทำจนสำเร็จ ที่สำคัญยังส่งต่อความรู้ ความสำเร็จ ถ่ายทอดความรู้ที่ตนเองค้นคว้าให้กับเด็กๆและคนชุมชนได้นำไปต่อยอดสร้างอาชีพอย่างยั่งยืน นับเป็นความภูมิใจของ ซีพี ออลล์ ที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้กับประเทศ” นายยุทธศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา บมจ.ซีพี ออลล์