‘เวียดนาม-ไทย’ อาจตกชั้นโรงงานโลก บริษัทเทคจ่อย้ายฐานผลิตกลับถิ่น / ภัยแล้งเอลนีโญปีนี้อาจสร้างความเสียหายถึง 36,000 ล้านบาท / กฝผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

เศรษฐกิจไทย

‘เวียดนาม-ไทย’ อาจตกชั้นโรงงานโลก บริษัทเทคจ่อย้ายฐานผลิตกลับถิ่น

  • ปรากฏการณ์ Nearshoring แนวคิดการย้ายฐานการผลิตกลับไปอยู่ใกล้ๆ กับประเทศแม่ โดยมีจุดเริ่มต้นจากปัจจัยความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐ และวิกฤติห่วงโซ่อุปทานในช่วงโควิด-19
  • จากปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน เกิดการขาดแคลนสินค้าต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว 6-12 เดือน หลังโควิด-19 จบลงแนวคิด Nearshoring มีบทบาทขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาจากเอเชีย
  • “เทสลา” บริษัทล่าสุดที่มีการประกาศแผนการสร้างโรงงานในเม็กซิโก
  • ละตินอเมริกาน่าจับตามีปัจจัยหลายอย่างดึงดูดให้บริษัทเทคโนโลยีเลือกเป็น “Nearshoring” ทั้งค่าแรงราคาถูก ทักษะที่เป็นที่ต้องการ มีแนวโน้มการเติบโตสูง รวมถึงปัจจัยเรื่องเขตเวลาที่มีความใกล้เคียงกับสหรัฐ ซึ่งจะทำให้ดุลการค้าเม็กซิโกเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน (กรุงเทพธุรกิจ)

ภัยแล้งเอลนีโญปีนี้อาจสร้างความเสียหายถึง 36,000 ล้านบาท

  • จากการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ห่วงหลายประเด็นเศรษฐกิจครึ่งปีหลังอาจฟื้นตัวน้อยแต่ท่องเที่ยวยังเป็นเครื่องยนต์หลัก ส่วนภัยแล้งเอลนีโญอาจสร้างความเสียหาย 3.6 หมื่นล้านบาท
  • ในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจโลกอาจฟื้นตัวน้อยภาวะชะลอตัว เป็นผลจากการที่เศรษฐกิจจีนไม่ได้ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหลังการเปิดประเทศอย่างที่คาดการณ์ไว้ โดยการฟื้นตัวในภาคบริการมีสัญญาณแผ่วลง การฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ล่าช้ากว่าที่คาด จนกว่าประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา
  • การท่องเที่ยวยังเป็นตัวหลักที่จะผลักดัน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 เดือนแรกเข้ามาสูงกว่า 8 ล้านคน และทั้งปีมีศักยภาพที่จะมากถึง 30 ล้านคน
  • ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมมองว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบในระดับสูงในทั่วโลก (พีพีทีวี)

พลังงานสะอาด

กฝผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด

  • กฟผ.เริ่มนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาประยุกต์ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของกฟผ.โดยนำแผงโซล่าร์เซลล์ไฮบริดลอยน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้านำร่องที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี มีการออกแบบใช้อุปกรณ์ร่วมกับโรงไฟฟ้าเดิม
  • โรงงานหลายแห่งที่บ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อน้ำจืด นำแผงโซลาร์เซลล์ลอยนำไปใช้
  • กฟผ.ได้พัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัยสามารถรองรับการนำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม มีการนำระบบกักเก็บพลังงาน มาใช้มี 2 ระบบ คือ 1.โรงงานไฟฟ้าแบบสูบกลับ และ 2.ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่
  • กฝผ. ศึกษาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่นมีการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนและแอมโมเนียที่ไม่ปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตไฟฟ้า (กรุงเทพธุรกิจ)