ไทยตั้งเป้าเลียนแบบสิงคโปร์โมเดลสตาร์ทอัพ / Goldman Sachs เตือนแรงกดดันในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ / Fed คงดอกเบี้ยที่ 5.00-5.25% พร้อมส่งสัญญาณขึ้นอีก 2 ครั้งในปีนี้

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

สตาร์ทอัพ

ไทยตั้งเป้าเลียนแบบสิงคโปร์โมเดลสตาร์ทอัพ

  • รัฐบาลไทยสร้างเส้นทางให้บริษัทร่วมทุนและนักลงทุนได้รับผลกำไรจากการขายหุ้นสตาร์ทอัพปลอดภาษีมาตรการนี้ใช้กับธุรกิจในไทยด้านเทคโนโลยี ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สิงคโปร์มีดัชนีสตาร์ทอัพติดอันดับ 6 ของโลก เนื่องจากการคอรัปชั่นต่ำ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ความสะดวกในการทำธุรกิจเทียบได้กับประเทศทางตะวันตก
  • ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 52 อุปสรรคคือ ผู้ขายน้อยราย การขาดแคลนนักลงทุน และกลุ่มสตาร์ทอัพที่มีทักษะสูงมีจำนวนน้อย และมองว่าการขยายธุรกิจใหม่ต้องมีคอนเนคชั่นกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้มีอำนาจ
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยาวางแผนเปิดตัวกองทุนเริ่มต้น 1 พันล้านบาทคาดว่ามีนักลงทุนราว 50 รายเข้าร่วม วัตถุประสงค์หลักของกองทุนคือการสร้างระบบนิเวศสำหรับสตาร์ทอัพไทย (นิเคอิเอเชีย)

อสังหาริมทรัพย์

Goldman Sachs เตือนแรงกดดันในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์

  • CEO ของ Goldman Sachs กล่าวว่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน โดยมีแผนลดการลงทุนตั้งแต่ในไตรมาสนี้
  • บริษัทในนิวยอร์กจะผ่านรายการด้อยค่าของเงินกู้และการลงทุนในตราสารทุนที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ในไตรมาสที่สอง บริษัทการเงินรับรู้การผิดนัดชำระหนี้และการประเมินมูลค่าที่ลดลง
  • หลายปีที่อัตราดอกเบี้ยต่ำและการประเมินมูลค่าอาคารสำนักงานที่สูง ต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นและอัตราการเข้าพักที่ลดลง ทำให้เจ้าของอสังหาฯบางรายเลิกถือครองทรัพย์สินแทนที่จะรีไฟแนนซ์เงินกู้ (ซีเอ็นบีซี)

เศรษฐกิจสหรัฐ

Fed คงดอกเบี้ยที่ 5.00-5.25% พร้อมส่งสัญญาณขึ้นอีก 2 ครั้งในปีนี้

  • เหตุผลที่อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งภายในปี 2023 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีหลังจะแข็งแกร่งขึ้น ทำให้มีโอกาสที่ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
  • Fed คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ จะเพิ่มถึง 4.6% ในช่วงสิ้นปี 2024 และแตะระดับ 3.4% ในช่วงสิ้นปี 2025 โดยเพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมีนาคมที่ระดับ 4.3% และ 3.1% ตามลำดับ
  • Fed ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสู่ระดับ 3.9% ในปีนี้ และอยู่ที่ 2.6% และ 2.2% ในปี 2024 และ 2025 ตามลำดับ
  • อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯปรับตัวลดลงเหลือ 4% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว คาดตัวเลขเงินเฟ้อจะลดลงอีก มีปัจจัยหนุนอย่างราคาพลังงาน ราคาค่าเช่าที่ลดลง และราคารถยนต์มือสองซึ่งพุ่งสูงขึ้น (เดอะแสตนดาร์ด)