“กอบศักดิ์” ชี้โจทย์ใหญ่รอรับทีมเศรษฐกิจรัฐบาลใหม่ / BOI พบผู้ผลิต EV รายใหญ่ “ฉางอัน-เฌอรี่ ออโตโมบิล” ดันแผนลงทุน 9,000 ล้านบาทในไทย / ปรากฏการณ์เอลนีโญได้เริ่มขึ้นแล้ว

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

เศรษฐกิจไทย

“กอบศักดิ์” ชี้โจทย์ใหญ่รอรับทีมเศรษฐกิจรัฐบาลใหม่

  • เศรษฐกิจไทยในช่วงหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่มีความท้าทายหลายเรื่องที่ต้องตัดสินใจ
  • เรื่องแรก อัตราเงินเฟ้อยังไม่ได้ลดลงตามเป้าหมายหลังการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง อาจเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก2 ครั้งในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้ดอกเบี้ยจะปรับมาอยู่ที่ 2.25-2.50%
  • แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อาจชะลอตัวลงกว่าที่คาด สัญญาณลบจากภาคการผลิตและส่งออก
  • เรื่องที่ 2 คือ การเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีใหม่ AI เชื่อว่าในอีก 1-2 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก
  • เรื่องที่ 3 เงินลงทุนที่ไหลเข้าไทยน้อยกว่าประเทศอาเซียน ต้องสร้างจุดแข็งดึงการลงทุนจากต่างชาติ
  • เรื่องสุดท้าย ความขัดแย้งในสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ  ไทยต้องวางตัวให้ชัดเจน (จก.ออนไลน์)

รถยนต์ไฟฟ้า

BOI พบผู้ผลิต EV รายใหญ่ “ฉางอัน-เฌอรี่ ออโตโมบิล” ดันแผนลงทุน 9,000 ล้านบาทในไทย

  • BOI จัดกิจกรรมสัมมนาระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการจีนในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด รวมทั้งระบบชาร์จไฟฟ้าและอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน โดยนำผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานจับคู่ธุรกิจหลายราย เช่น สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย และบริษัทในกลุ่ม ปตท., ทีซีซี และสหยูเนี่ยน เป็นต้น
  • ฉางอัน ออโตโมบิล ได้ให้ความสำคัญกับประเทศไทย และยืนยันแผนการลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ EV ในประเทศไทย ด้วยเงินลงทุนในเฟสแรกประมาณ 9,000 ล้านบาท
  • ไทยเป็นประเทศยุทธศาสตร์ที่เหมาะสำหรับการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขับพวงมาลัยขวา เพื่อส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยบริษัทให้ความสนใจประเทศไทยอย่างมาก บริษัทมีแผนนำรถยนต์ไฟฟ้าแบบ SUV รุ่น OMODA 5 เข้ามาเปิดตลาดในไทยเป็นรุ่นแรกในช่วงต้นปี 2567 (ประชาชาติ)

ภัยธรรมชาติ

ปรากฏการณ์เอลนีโญได้เริ่มขึ้นแล้ว

  • องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกประมาณการว่ามีโอกาส 90% ที่เหตุการณ์เอลนีโญจะดําเนินต่อไปจนถึงครึ่งหลังของปีนี้และคาดว่า “ความรุนแรงปานกลางอย่างน้อย”
  • รายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในเดือนพฤษภาคมเตือนว่า 66% ของอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีใกล้โลกระหว่างปี 2023 ถึง 2027 อาจสูงกว่าระดับก่อนอุตสาหกรรม 1.5 องศาเซลเซียสในช่วงสั้น ๆ
  • ผลกระทบของเอลนีโญมักจะถึงจุดสูงสุดในเดือนธันวาคม แต่ผลกระทบมักจะต้องใช้เวลาในการแพร่กระจายไปทั่วโลก นักพยากรณ์เชื่อว่าปี 2024 อาจเป็นปีแรกที่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2022 เพิ่มขึ้น 1.1 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับปลายศตวรรษที่ 19 (ซีเอ็นบีซี)