งานวิจัยล่าสุดของ NASA เผยทวีปแอนตาร์กติกาสูญเสียภูเขาน้ำแข็งมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์

ภาพโดย jcrane จาก Pixabay

ดูเหมือนภาวะโลกร้อนจะหนักหนากว่าที่หลายคนคาดการณ์ไว้

จากงานวิจัยล่าสุดจาก NASA เผยว่า น้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลายเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เข้าใจ โดยทีมสำรวจยอมรับว่าอัตราการสูญเสียชั้นน้ำแข็งนั้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่เฉพาะขอบทวีป หากแต่แพร่กระจายเข้าสู่ใจกลางทวีปแอนตาร์กติกาแล้ว

งานวิจัยนี้ถูกตีพิมในวารศาสตร์วิทยาศาสตร์ ‘Nature’ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (10 สิงหาคม) ตั้งแต่ปี 1997 ขอบแผ่นน้ำแข็งของแอนตาร์กติกาได้สูญเสียน้ำแข็งไปประมาณ 12 ล้านล้านเมตริกตัน เลขนี้เป็นจำนวนมหาศาล ทว่าข้อเท็จจริงน่าตกใจยิ่งกว่า เพราะนักวิจัยตระหนักว่าตัวเลขนี้คิดเป็น 2 เท่าของค่าประมาณการเดิม และมีแนวโน้มว่าการสูญเสียน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกจะทวีคูณขึ้นไปอีก อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจากน้ำมือมนุษย์

“ไม่น่าเป็นไปได้ที่แอนตาร์กติกาจะสามารถเติบโตกลับคืนสู่ระดับก่อนปี 2000 ภายในสิ้นศตวรรษนี้” นักวิจัยกล่าว

Iceberg หรือภูเขาน้ำแข็ง เปรียบได้ดังภาชนะน้ำจืดขนาดใหญ่ ยิ่งน้ำแข็งละลายเร็วเท่าใด นั่นหมายความว่าระดับน้ำทะเลยิ่งสูงขึ้น และน้ำจืดก็จะหายเร็วขึ้นเช่นกัน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Calving บทสรุปของการศึกษายังกล่าวอีกว่า หากโลกของเรายังเป็นเช่นนี้ เหตุการณ์ Calving ที่เลวร้ายที่สุดจะเกิดขึ้นภายใน 10-20 ปีข้างหน้า และถึงตอนนั้นอาจเลยจุดที่มนุษย์เราจะหวนกลับได้

ภาพ: Shutterstock

อ้างอิง:

ที่มา THE STANDARD