ค่านิยม 6 ประการ : ซีพีเอฟ อินเดียสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ตั้งโครงการเพิ่มรายได้กลุ่มแม่บ้านชาวประมงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
หมู่บ้านธูปิละปาเลม เป็นหมู่บ้านที่ประกอบอาชีพเป็นชาวประมง โดยแม่บ้านชาวประมงได้ประสบปัญหาการตากปลาแห้ง ที่มีผลต่อคุณภาพของปลาแห้ง เช่นสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน มีสัตว์มาแทะปลา ทำให้ปลาแห้งไม่ได้คุณภาพ ส่งผลถึงกำลังการผลิตอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากวิธีการตากปลาที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งตากในพื้นที่โล่ง (วิธีดั้งเดิม) และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อรายได้ของชาวประมง
ซีพีเอฟ อินเดีย จึงตั้งโครงการเพิ่มรายได้กลุ่มแม่บ้านชาวประมงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Increase the Fisher Women Income by drying their fishes using Solar Dryer Tunnel) เพื่อพัฒนา และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนแม่บ้านชาวประมง โดยจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นโดยการผลิตปลาแห้งที่มีคุณภาพสูงและช่วยให้พวกเขาได้รับผลผลิตสูงด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มมูลค่าตลาดสำหรับปลาแห้ง
โดยปกติชาวประมงจะเริ่มตากปลาขณะอยู่บนเรือ เมื่อปลาขึ้นฝั่งแล้วจะใช้เวลา 2-3 วันในการแปรรูปปลาแห้ง หากแปรรูปอย่างถูกต้องปลาจะอยู่ได้นานหลายวัน แต่เนื่องจากฝนตกไม่หยุดหย่อนและไม่มีสถานที่จัดเก็บที่เหมาะสมปลาแห้งที่ผลิตได้ทั้งหมดจึงเน่าเสีย การใช้เครื่องอบปลาพลังงานแสงอาทิตย์ทำให้ปลาแห้งเร็วเมื่อเทียบกับวิธีการแบบดั้งเดิมและยังมั่นใจได้ว่ามีความสะอาด โดยทั่วไปพวกเขาขายปลาแซลมอน ปลากะพง กุ้งและปลาแห้งอื่น ๆ ในราคา 300-800 รูปีต่อกิโลกรัม หลังจากใช้เครื่องอบพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถขายได้ราคาเพิ่มขึ้น 20%-30% ต่อกิโลกรัม
ภายหลังดำเนินการกลุ่มแม่บ้านชาวประมงสามารถเพิ่มความเร็วและคุณภาพด้านสุขอนามัย ก่อนหน้านี้ ใช้ตากแสงแดด ใช้เวลา 8 ชม.ให้ผลผลิต 25 กก. / วัน หลังใช้อุโมงค์อบพลังงานแสงอาทิตย์ เวลา 8 ชม.ให้ผลผลิต 100 กก. / วัน เพิ่มระดับรายได้จาก 300 เป็น 450 รูปี / วัน และยกระดับมาตรฐานการค่าครองชีพของกลุ่มแม่บ้านชาวประมง และช่วยให้มั่นใจได้ว่า กระบวนการผลิตปลาแห้งถูกสุขอนามัยโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (Solar Tunnel Dryer)