งวดเข้ามากับการพิจารณาให้คะแนนโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน เครือฯ wearecp ขอนำตัวอย่างโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนที่ส่งเข้ามาให้ชาวซีพีได้สัมผัสว่าชาวซีพีมีวิธีการมองและมีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาของสังคมอย่างไร เช่นกรณีของโครงการมะม่วง “ร้อยใจรักษ์” จากดอยสู่แดนอาทิตย์อุทัยของทีมงานกลุ่มพืชครบวงจร
โดยโครงการนี้บอกถึงเป้าหมายการทำโครงการเพื่อที่จะสร้างงานสร้างอาชีพ ส่งเสริมการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและพัฒนาตนเองได้ โดยดำเนินงานมา 2 ปี กับกลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยส้าน ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้พื้นที่บ้านห้วยส้าน จัดเป็นพื้นที่ทุรกันดาร ชาวบ้านทำการปลูกฝิ่น เป็นพื้นที่ ที่มีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ต่อมา โครงการร้อยใจรักษ์ ซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ได้เข้ามาช่วยเหลือเพื่อประชาชนในพื้นที่ให้ ลด ละ เลิก ยาเสพติดอย่างยั่งยืน โดยการสร้างอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ให้ดีขึ้น ภายใต้หลักการ “อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน” โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ สำหรับเกษตรบ้านห้วยส้าน เดิมทีมีการปลูกมะม่วงอยู่บ้างแล้ว แต่เป็นระบบการปลูกแบบชาวบ้านไม่มีการดูแลรักษา พันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองขายได้เฉพาะในประเทศ ผลผลิต/ไร่ น้อย และ ไม่ได้คุณภาพ ส่งผลให้เกษตรถูกกดราคา ขายผลผลิตได้ในราคาถูก ดังนั้นความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ คือ ต้องการพัฒนาการผลิตมะม่วงคุณภาพ ให้สามารถส่งออกได้ เพื่อสร้างมูลค่าและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน
โครงการร้อยใจรักษ์ จึงร่วมมือกับทางบริษัทซี.พี.สตาร์เลนส์ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ส่งออกมะม่วงไปยังประเทศ ญี่ปุ่น เข้ามาร่วมกันพัฒนากลุ่มเกษตรกร ทั้งในด้านการศึกษาโดยการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพ จนกระทั่งได้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร มกษ. 9001-2556 (GAP) ช่วยพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ โดยการรับซื้อผลผลิตมะม่วงของเกษตรในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยส้าน เพื่อส่งออกประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่ดี ช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรในหมู่บ้านดีขึ้น สุดท้ายผลที่ได้ คือในด้านสังคมที่ช่วยสร้างคุณค่าทางสังคมให้แก่คนในชุมชน เป็นการช่วยพัฒนาชีวิตของประชาชนจากพื้นที่สีแดง พื้นที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด ไปสู่พื้นที่สีขาว ที่ปราศจากยาเสพติด ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน เกษตรกรในเครือข่ายของบริษัทฯ เข้มแข็ง มีความรู้ความเข้าใจ ระบบการจัดการผลิตมะม่วงเพื่อ การส่งออก เป็นการพัฒนาการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ เกษตรกรของโครงการต้อง มีความรู้ มีทักษะ ในการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก จนสามารถได้รับการรับรอง GAP เกษตรกรมีผลผลิตมะม่วงที่ได้คุณภาพ สามารถส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นได้ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วน บริษัทฯมีเกษตรกรคุณภาพในเครือข่าย เพิ่มขึ้น
โครงการนี้บอกว่าผลที่เกิดขึ้นตามมา เกษตรได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร มกษ. 9001-2556 (GAP) เกษตรมีรายได้จากการขายมะม่วงเกรดส่งออกให้บริษัทซี.พี.สตาร์เลนส์ ในปี 2562 เป็นจำนวนเงิน 804,225 บาท เกษตรกรมีผลผลิตมะม่วงที่ได้คุณภาพสำหรับการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ถึง 16 ตัน บริษัทได้ supply วัตถุดิบมะม่วงเพิ่มขึ้น มียอดขายจากวัตถุดิบ เฉพาะของโครงการวิสาหกิจชุมชนมะม่วงห้วยส้าน ที่ 2,240,000 บาท คิดเป็นผลกำไรที่ 450,000 บาท
นอกจากผลด้านรายได้ ยังมีผลตามมาด้านสังคม ที่สามารถเปลี่ยนพื้นที่จากการแพร่ระบาดของยาเสพติด มาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชุนอย่างยั่งยืน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของเกษตรในโครงการให้ดีขึ้น จากรายได้ที่เพิ่มขึ้น และประชาชนในพื้นที่ได้รับการยอมรับในสังคม
เป็นอย่างไรค่ะชาวซีพี คงได้รู้จักโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน ติดตามเรื่องราวตัวอย่างโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนกันนะคะ