ในปีที่ผ่านมาสถานการณ์โควิด – 19 ส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาวไทยเป็นจำนวนมากรวมไปถึงเกษตรกรที่อยู่บนพื้นที่สูง ได้สร้างความเสียหายส่งผลกระทบต่อกลุ่มแรงงานไทย ทั้งในภาคการท่องเที่ยว แรงงานในภาคอุตสาหกรรม และการจ้างงานในภาคบริการอื่น ๆ มีแนวโน้มอาจถูกเลิกจ้างกว่า 8.4 ล้านคน
ในปี 2563 ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญ จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ฟื้นฟูป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว” ขึ้นที่บ้านแม่วาก ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เพื่อรับผู้ตกงานจากผลกระทบโควิด-19 เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสการสร้างอาชีพแก่เกษตรกรในการรับมือ โดยสนับสนุนการสร้างโรงเรือยเพาะชำกล้าไม้ฯ ที่สามารถเพาะชำกล้าไม้ระยะสั้นและระยะยาว ได้มากถึง 102,500 กล้า / รอบ
แม้ว่าในปัจจุบันยังคงมีการแพร่กระจายตัวของเชื้อไวรัส โควิด – 19 เป็นครั้งที่ 3 กลุ่มเกษตรกรบ้านแม่วาก ยังสามารถเดินหน้าฝ่าวิกฤตดำเนินการปลูกกล้าสร้างอาชีพมาจนถึงในปัจจุบัน ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ก่อเกิดการหมุนเวียนอาชีพสร้างรายได้ในพื้นที่
เครือ ฯ ได้ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเกษตรกรให้มีการบริหารจัดการที่ครบวงจรอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ให้เกษตรกรสามารถยิ้มสู้ได้
ความก้าวหน้าสู่ความเป็นไปได้ทางธุรกิจชุมชน จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ก่อตัวเป็นโมเดลความยั่งยืน
คุณพัฒฐพงศ์ วุฒิสาร ผู้จัดการแผนก หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้คอยกำกับดูแล และติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรบ้านแม่วากอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด พร้อมนายเมษา ชลิตกรสกุล ผู้ช่วยปฏิบัติงานอำเภอแม่แจ่ม ลงพื้นที่ติดตามกิจกรรมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกผักอินทรีย์บ้านแม่วาก ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านแม่วาก
การดำเนินงานของกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจฯ ได้ดำเนินการปลูกผักอินทรีย์ พร้อมจำหน่ายผักจากแปลงเกษตรอินทรีย์บ้านแม่วาก ไปแล้วจำนวน 8 ชนิด ได้แก่ กรีนโอ๊ค ,เบบี้คอส , สลัดหอมห่อ,สลัดคอส , คะน้า, เรดโอ๊คเขากวาง , เรดโอ๊ค , ฟินเล่ย์ สามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาได้มากถึง 148,760 บาท
ถือเป็นเป็นความภูมิใจและความสำเร็จที่เกษตรกรในชุมชน สามารถสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีการหมุนเวียนรายให้แก่ชุมชน และพร้อมเป็นแบบอย่าง แนวทางความยั่งยืนให้กับคนรุ่นหลังได้อีกด้วย