อย่างไรก็ดี คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการยกระดับการผลิตเกษตรต้นน้ำตามกรอบ BCG ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรมากกว่า 5 ปีนับจากนี้ เพราะยังคงมีเงื่อนไขและความท้าทายที่หลากหลายรออยู่อีกมาก ทั้งในแง่ของความพร้อมของตัวผู้ผลิตเอง และเครื่องมือ AgriTech ที่ใช้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แนวทางการนำของเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ต่อเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มนับเป็นแนวทางที่ดีตอบโจทย์ Zero Waste โดยเฉพาะพลาสติกชีวภาพ เช่น พลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียนที่คาดว่าน่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ราว 3,600-7,300 ล้านบาทในอีก 5 ปีข้างหน้า ภายใต้เงื่อนไขที่สามารถเก็บรวบรวมเปลือกทุเรียนได้ราวร้อยละ 5-10 ของเปลือกทุเรียนทั้งหมดในไทย
แต่ประเด็นความท้าทายคงอยู่ที่การรวบรวมของเหลือทิ้งทางการเกษตรที่อาจต้องมีการออกแบบระบบรวบรวม ขนส่ง และจัดเก็บให้สามารถคงสภาพในการนำมาแปรรูปได้ รวมถึงความท้าทายของราคาพลาสติกชีวภาพที่ยังอยู่ในระดับสูง จะเป็นปัจจัยกำหนดความต้องการใช้พลาสติกชีวภาพให้ยังกระจุกตัวอยู่ในผู้บริโภคบางกลุ่ม
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย