ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ
เศรษฐกิจจีน
จีนส่งออกเดือนต.ค.ลดลงติดต่อกันเดือนที่ 6 แต่ยอดนำเข้าดีกว่าคาด
- ตัวเลขการนำเข้าในรูปสกุลเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในทางกลับกันตัวเลขการส่งออกของจีนลดลงถึง 6.4%
- การนำเข้าของจีนจากสหรัฐอเมริกาลดลง 3.7% ขณะที่การนำเข้าของจีนจากสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% และจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้น 10.2% ขณะที่ตัวเลขการส่งออกของจีนไปยังสหภาพยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงเป็นเลขสองหลัก และลดลง 8% สำหรับการส่งออกไปยังสหรัฐฯ
- ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2023 การเติบโตของการนำเข้าบ่งชี้ว่าอุปสงค์ในประเทศอาจฟื้นตัว แต่การส่งออกที่ลดลงถือเป็นความผิดหวังอย่างมากในช่วงเวลาที่ตัวเลขน่าจะดีขึ้น
- ความต้องการสินค้าจีนทั่วโลกและภายในประเทศที่ซบเซาได้ฉุดรั้งการค้าโดยรวมของจีน แต่ GDP ของจีนอยู่ที่ 4.9% ในไตรมาส 3 ทำให้เป้าหมายการเติบโต 5% ของทางการจีนยังดูมีหวังต่อไป (ซีเอ็นบีซี)
เศรษฐกิจไทย
อีอีซี รับทุนจีนตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์อีวี 1.5 แสนคัน/ปี
- อีอีซี รับทุนจีน “SMOGO”ตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า กำลังผลิต 150,000 คันต่อปี
- ขยายการลงทุนครอบคลุมธุรกิจการผลิตและประกอบมอเตอร์ไซค์อีวี การผลิตแบตเตอรี่ การผลิตและติดตั้งตู้เปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์อีวี (Swap Battery) และการให้บริการทางการเงินควบคู่ไปด้วย
- เริ่มทำการตลาดในพื้นที่ 3 จังหวัดอีอีซี ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เป็นโครงการนำร่อง คาดจะเกิดการลงทุนโครงการทั้งหมดในกรอบวงเงินรวมสูงถึง 10,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ได้ร่วมกันหารือถึงการขอรับสิทธิประโยชน์ในพื้นที่อีอีซี การฝึกอบรม และการศึกษาถึงนวัตกรรม (กรุงเทพธุรกิจ)
เงินเฟ้อไทยเดือน ต.ค. ติดลบครั้งแรกในรอบ 25 เดือน คาดเดือน พ.ย. ยังลดลงต่อเนื่อง
- พาณิชย์เผยเงินเฟ้อทั่วไปเดือนตุลาคมลดลง 0.31% ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 25 เดือน ผลจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ คาดเดือนพ.ย.ยังติดลบต่อเนื่อง ไม่ได้เกิดจากกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง ภาวะเงินฝืดจึงยังไม่ใช่ประเด็นที่น่ากังวล
- ดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย 10 เดือน (มกราคม-ตุลาคม) ปี 2566 เทียบช่วงเดียวกันของปี 2565 สูงขึ้น 1.60%
- อุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากการท่องเที่ยว การส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ราคาปรับสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรและค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ในระดับดี อุปทานพลังงานที่ยังตึงตัวจากมาตรการจำกัดการผลิตและส่งออกน้ำมันของผู้ผลิตโลกและความขัดแย้งในต่างประเทศ ทำให้เงินเฟ้อไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
- กระทรวงพาณิชย์จึงยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่าง 1.0-1.7% (ค่ากลาง 1.35%) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน (เดอะแสตนดาร์ด)