MIINOR ออกจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ 9 มาตรการเร่งฟื้นตัวธุรกิจท่องเที่ยว / อังกฤษทดลองถ่ายโลหิตที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเลือดในห้องปฏิบัติการให้กับมนุษย์เป็นครั้งแรก / เปิดฉากการประชุม COP 27 ถกชาติร่ำรวยจ่ายชดเชยค่าเสียหายจากภาวะโลกร้อน

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

การท่องเที่ยว

MIINOR ออกจดหมายเปิดผนึกถึงนายก 9 มาตรการเร่งฟื้นตัวธุรกิจท่องเที่ยว

  • นายวิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ดไฮเน็คประธานกรรมการบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือเปิดผนึกถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีข้อเสนอ 9 เรื่องเพื่อช่วยพยุงธุรกิจท่องเที่ยว ได้แก่ 1.) อนุญาตโรงแรมเก็บค่าธรรมเนียมเข้าพัก 300 บาทต่อคืน 2.) การแบ่งชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 3 งวดโดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าปรับ 3.) การนำผลขาดทุนสะสมยกมาใช้ได้ไม่เกิน 10 รอบระยะเวลาบัญชี 4.) การกำกับดูแลธุรกิจ AirBnb และแพลตฟอร์มจองโรงแรมออนไลน์ (OTA) 5.) การขึ้นทะเบียนและขอใบอนุญาตโรงแรม 6.) ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว 7.) อำนวนความสะดวก ตม. และวีซ่า 8.) วีซ่าสำหรับผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ และ 9.) อนุญาตผู้ประกอบการโรงแรมสามารถจ้างแรงงานต่างด้าว (ฐานเศรษฐกิจ)

เทคโนโลยี

อังกฤษทดลองถ่ายโลหิตที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเลือดในห้องปฏิบัติการให้กับมนุษย์เป็นครั้งแรก

  • ผู้ป่วย 2 รายในอังกฤษได้รับการถ่ายเลือดเทียมที่ปลูกจากห้องแล็บปฏิบัติการ และจะขยายการศึกษาเลือดเทียมในมนุษย์จนถึง 10 รายในอนาคต โดยนักวิจัยจากเมือง บริสตอล เคมบริดจ์ และลอนดอน และระบบบริการสุขภาพสหราชอาณาจักร หรือ NHS มุ่งหวังให้เทคโนโลยีนี้นำไปสู่การผลิตเลือดกรุ๊ปที่หายาก
  • เพื่อผู้ป่วยเช่น โรคโลหิตจาง นอกจากนี้ยังหวังว่าเซลล์เม็ดเลือดที่ถูกเพาะเลี้ยงจากห้องปฏิบัติการจะมีอายุขัยยืนยาวกว่าโลหิตตามธรรมชาติ ช่วยให้ผู้ป่วยที่ต้องการการถ่ายเลือดไม่ต้องมารับเลือดบ่อยๆ (CNBC)

สิ่งแวดล้อม

เปิดฉากการประชุม COP 27 ถกชาติร่ำรวยจ่ายชดเชยค่าเสียหายจากภาวะโลกร้อน

  • เปิดฉาการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP 27 (6 พ.ย. 65) ที่เมือง ชาม เอล ชีค ประเทศอียิปต์ ประเด็นหลักในการหารือคือกลไกความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศยากจนที่เผชิญกับความสูญเสีย และความเสียหายจากปัญหาโลกร้อน
  • รายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่า 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบภาวะโลกรวนมากที่สุดล้วนแต่เป็นประเทศยากจนหรือกำลังพัฒนาโดยมี ‘ประเทศไทย’ อยู่ในอันดับที่ 9 พบความเสียหายทางเศรษฐกิจ 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2.9 แสนล้านบาท และภัยธรรมชาติ 149 ครั้ง ในขณะที่จีน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันถึง ถึง 52% ของโลก กลับไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกรวนอย่างมีนัยสำคัญ (AmarinTV)