ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ
เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ
หนี้สหรัฐฯ ทะลุ 33 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรกในประวัติการณ์
- ตามการระบุของกระทรวงการคลัง การใช้จ่ายของรัฐบาลกลางเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ระหว่างปีงบประมาณ 2019 ถึงปีงบประมาณ 2021 ส่งผลให้มีหนี้สูงถึง 33 ล้านล้านดอลลาร์
- การเปิดเผยข้อมูลมีขึ้นไม่ถึง 2 สัปดาห์ก่อนจะถึงเส้นตายที่รัฐบาลสหรัฐฯกับสภาคองเกรส ต้องหาทางขยายเพดานหนี้ เพื่อลดความเสี่ยง ที่จะทำให้หน่วยงานรัฐบาลต้องปิดให้บริการ จากการขาดงบประมาณ
- ปัจจัยในการผลักดันการกู้ยืมของรัฐบาลไปสู่ระดับใหม่ ได้แก่ การลดภาษี โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ และรายได้ภาษีที่ลดลงอันเป็นผลมาจากการว่างงานอย่างกว้างขวางในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
- เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรได้ออก ร่างกฎหมายของตนเองเพื่อให้ทุนแก่รัฐบาลจนถึงวันที่ 31 ต.ค. เพื่อแลกกับการตัดเงิน 8% สำหรับโครงการภายในประเทศ ยกเว้นความมั่นคงของชาติ
- แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวคาดว่าจะไม่ผ่านการเห็นชอบจากวุฒิสภาที่ควบคุมโดยพรรคเดโมแครต (ซีเอ็นบีซี)
เศรษฐกิจจีน
จีนเผชิญปัญหาเงินทุนไหลออกหนักสุดรอบ 8 ปี เดือนเดียวหาย 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์
- ตามข้อมูลของทางการจีนแสดงให้เห็นว่ามีกระแสเงินทุนไหลออกจากจีนจำนวน 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนสิงหาคม นับเป็นจำนวนที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2015 โดยจำนวนนี้ 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์เป็นเงินที่ไหลออกจากการลงทุนในหลักทรัพย์
- การไหลออกของเงินทุนรอบนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยของจีนและสหรัฐอเมริกาที่กว้างขึ้น ซึ่งผลักดันให้เงินหยวนอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 ปี เมื่อวันที่ 8 กันยายน
- นอกจากนี้รัฐบาลปักกิ่งยังเสี่ยงที่จะพลาดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ ราว 5% ในปีนี้ ท่ามกลางตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ย่ำแย่และการส่งออกที่ตกต่ำ โดยการถือครองพันธบัตรรัฐบาลจีนของนักลงทุนต่างชาติก็ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี (เดอะสแตนดาร์ด)
เศรษฐกิจไทย
ทีทีบีห่วงแจกเงินหมื่น ‘ดัน’ หนี้พุ่ง
- รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ttb analytics นริศ สถาผลเดชา ระบุว่า บริบทหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดก็เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายการคลัง โดยแม้หนี้สาธารณะคงค้างของไทยยังต่ำกว่ากรอบเพดานหนี้สาธารณะ หรืออยู่ที่ 61.7% ต่อจีดีพีในเดือนกรกฎาคม
- แต่การขาดดุลการคลังต่อเนื่องมาตลอดหลายสิบปี จากการจัดเก็บรายได้ที่ค่อนข้างต่ำ สวนทางกับภาระรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้รัฐต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเป็นประจำราว 3-5% ของจีดีพี
- ดันให้ยอดหนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นปีละ 6-8% ซึ่งหากไม่มีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอย่างจริงจัง จะทำให้หนี้สาธารณะไทยเสี่ยงแตะกรอบเพดานหนี้ที่ 70% ต่อจีดีพีภายในปี 2570
- ทั้งนี้ หากเงินที่นำมาใช้มาตรการเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท มาจากเงินกู้จะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 65% GDP จากปัจจุบันที่ 61.7% และจะทำให้ชนเพดานที่ 70% ในช่วง 2-3 ปี (กรุงเทพธุรกิจ)