ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการล
เศรษฐกิจจีน
ยักษ์ใหญ่พลังงานจีน ใช้ ‘หยวนดิจิทัล’ ซื้อขายน้ำมันดิบระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก
- การตกลงซื้อขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติข้ามพรมแดนด้วยสกุลเงินหยวนดิจิทัล ‘e-CNY’ เป็นครั้งแรก โดย PetroChina International บริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของจีน ซื้อน้ำมันดิบในปริมาณ 1 ล้านบาร์เรลด้วยหยวนดิจิทัล สะท้อนถึงความพยายามในการลดบทบาทสกุลเงินดอลลาร์ในการค้าขายระหว่างประเทศ
- ธนาคารกลางจีนเปิดเผย มูลค่าการชำระหนี้ด้วยเงินหยวนข้ามพรมแดนภายใต้บัญชีเดินสะพัดมีมูลค่ารวม1.39 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วงสามไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบเป็นรายปี
- บทบาทที่โดดเด่นขึ้นของเงินหยวนดิจิทัลในการค้าขายข้ามพรมแดน เป็นผลจากนโยบายการเงินและการใช้เงินหยวนในวงกว้างของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ขับเคลื่อนเงินหยวนไปสู่สากล (ไทยรัฐ)
เศรษฐกิจไทย
นายกดัน “แลนด์บริดจ์” เพิ่มขีดแข่งขันไทย มั่นใจแล้วเสร็จในรัฐบาลนี้
- “แลนด์บริดจ์” โครงการใหญ่พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย มั่นใจรัฐบาลนี้เดินหน้าได้แล้วเสร็จ เสริมศักยภาพเศรษฐกิจไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนและคมนาคมขนส่ง
- แลนด์บริดจ์จะลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไป 6-9 วัน ไม่ใช่การเป็นคู่แข่งกับมาเลเซียและสิงคโปร์ แต่ในอนาคตการช่องแคบมะละกาจะมีความแออัดมากขึ้น เราก็จะเป็นทางออกในการขนส่งสินค้า
- รัฐบาลกำลังพิจารณาว่าจะดึงประเทศจากตะวันออกกลางเข้ามาในโครงการท่อส่งน้ำมันและโรงกลั่นน้ำมันหรือไม่ การขนส่งน้ำมันมีความสำคัญมากและเป็นส่วนหนึ่งของระบบโลก
- รัฐบาลมุ่งหวังที่จะสร้างเส้นทางรถไฟไฟฟ้าเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทยและจีนผ่านประเทศลาว เพื่อเชื่อมโยงกับโครงการ One Belt One Road ลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้า (กรุงเทพธุรกิจ)
ต่างด้าวรับอนุญาตทำธุรกิจในไทย 9 เดือนมูลค่าลงทุน “8.4 หมื่นล้าน
- เดือน ก.ย.ต่างด้าวขนเงินทำธุรกิจในไทย เฉียด 2 หมื่นล้านบาท ขณะ 9 เดือนแรกปีนี้มูลค่าลงทุนรวม 8.4 หมื่นล้าน เดือนก.ย. 2566 มีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 18,229 ล้านบาท
- นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 12 ราย เงินลงทุน 948 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สหรัฐจำนวน 9 ราย เงินลงทุน 916 ล้านบาท และ สิงคโปร์ จำนวน 6 ราย เงินลงทุน 6,524 ล้านบาท ตามลำดับ
- ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ คือ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 8% ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 7% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 5%
- ธุรกิจที่ลงทุนโดยสัญชาติญี่ปุ่นสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ชิ้นส่วนสำหรับยานยนต์ ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม และผลิตยางล้อและยางใน (กรุงเทพธุรกิจ)