ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ
อสังหาริมทรัพย์จีน
จีนวางแผนปรับและเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายอสังหาริมทรัพย์
- โปลิตบูโรให้คำมั่นว่าจะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอุปสงค์และอุปทานในตลาดอสังหาด้วยมาตรการเฉพาะของเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้น โดยจะขยายอุปสงค์ในประเทศอย่างจริงจัง และขยายการบริโภคโดยการเพิ่มระดับรายได้
- เมื่อวันอังคาร ตลาดหุ้นฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่สนับสนุนคำมั่นนโยบายของโปลิตบูโร ดัชนี Hang Seng พุ่งขึ้นมากกว่า 3% ในขณะที่ดัชนี CSI 300 ของหุ้น A-share ที่ใหญ่ที่สุดพุ่งขึ้นมากกว่า 2%
- การประชุมโปลิตบูโรในเดือนกรกฎาคมจะเป็นตัวกำหนดแนวทางสำหรับนโยบายเศรษฐกิจของจีนในช่วงครึ่งหลังของปี เฝ้ารอคำแนะนำที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจ (ซีเอ็นบีซี)
เศรษฐกิจจีน
เศรษฐกิจจีนอาจเติบโตลดลงเหลือเพียง 4% ต่อปี
- เป้าหมายการเติบโตของ GDP ที่รัฐบาลจีนตั้งไว้ในปีนี้คือ 5% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการเติบโตในอดีตที่สูงถึง 9%
- อัตราการว่างงานของกลุ่มคนอายุ 16-24 ปีของจีน เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 21.3% เมื่อเดือนมิถุนายน
- เศรษฐกิจจีนยังบาดเจ็บจากปัจจัยกดดัน 3 ด้าน ทั้งการระบาดของโควิดและมาตรการที่ลากยาวกว่าที่หลายฝ่ายคาดไว้ วิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ และการปรับนโยบายคุมเข้มภาคธุรกิจของรัฐบาลจีน แม้ว่าจะไม่ได้ถึงขั้นเกิด Stagflation คล้ายกับญี่ปุ่นในอดีต แต่มีแนวโน้มเติบโตโดยเฉลี่ย 4% ต่อปี ท่ามกลางแรงกดดันต่างๆ
- ผลกระทบที่บริษัททั่วโลกจะพบเร็วที่สุดจากการชะลอตัวของจีน คือสินค้าโภคภัณฑ์และวัฏจักรอุตสาหกรรม
- บทบาทของจีนที่จะเข้ามาแทนที่ท่ามกลางการเติบโตที่ชะลอตัวลงคืออุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง อุปกรณ์เทคโนโลยี ยานยนต์ไฟฟ้า แผงโซลาร์ หุ่นยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ (เดอะแสตนดาร์ด)
เศรษฐกิจไทย
ธปท. ผลักดัน ‘สถาบันการเงิน’ สู่ความยั่งยืน
- ไทยรั้งอันดับท้ายความสามารถในการรับมือกับภัยธรรมชาติ อันดับที่ 39 จาก 48 ประเทศ และหากยังไม่ลงมือแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ไทยจะสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลในปี 2050 คิดเป็น 43% ของ GDP
- ไทยยังเผชิญกับแรงกดดันจากนโยบาย มาตรการของต่างประเทศด้านการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือวิธีปฏิบัติของบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ธปท.ปัก 3 หมุด หนุนสถาบันการเงินสู่ความยั่งยืน สามารถปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม แยกแยะความเสี่ยงของพอร์ต ควบคู่กับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสนับสนุนและตอบโจทย์กลุ่มธุรกิจที่ต้องการปรับตัว และสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ)