ระบบบริหาร CP Excellence ขับเคลื่อนซีพีสู่ความเป็นเลิศ ส่งเสริมศักยภาพขยายขีดความสามารถแข่งขันยกระดับสู่มาตรฐานสากล

เครือเจริญโภคภัณฑ์ พัฒนาระบบบริหาร “ซีพีสู่ความเป็นเลิศ (CP Excellence: CPEX)”  ซึ่งเป็นการบูรณาการเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับชาตินำมากำหนดแนวทางระบบบริหาร ตอบโจทย์การดำเนินงานของเครือซีพีให้ครอบคลุมเป้าหมายการดำเนินธุรกิจรอบด้าน เพื่อให้มีการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน ช่วยยกระดับธุรกิจสู่การแข่งขันระดับสากลรวมทั้งมีศักยภาพในการบริหารธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

CP Excellence (CPEX) หรือ ระบบบริหาร “ซีพีสู่ความเป็นเลิศ” จึงนับเป็นคัมภีร์การบริหาร และเป็นแนวทางที่สำคัญให้ทุกกลุ่มธุรกิจของเครือซีพีขับเคลื่อนธุรกิจอย่างสอดคล้องกัน บุคลากรมีความเข้าใจการบริหารจัดการในทิศทางเดียวกัน และที่สำคัญ CPEX ยังช่วยสนับสนุนการผนึกกำลังในเครือซีพี ทั้งด้านธุรกิจ บุคลากรและจิตใจ บุคลากรในองค์กรมีความสุขในการทำงาน ซึ่งเป็นแกนหลักสำคัญที่จะผลักดันให้ธุรกิจมีความมั่นคง  สังคมให้การยอมรับและสนับสนุนให้ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศที่เครือซีพีไปลงทุน


การบริหารที่มีระบบส่งผลองค์กรแข็งแกร่ง

ดร.อาชว์  เตาลานนท์  รองประธานอาวุโส  เครือเจริญโภคภัณฑ์  ได้สรุปถึงแนวคิดการบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ของเครือซีพีไว้ว่า  “ในการทำธุรกิจจะมุ่งหวังเพียงกำไรในระยะสั้นไม่ได้  แต่ต้องคำนึงถึงการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ  มีการบริหารทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีต้นทุนที่แข่งขันได้  องค์กรจะต้องมีความยุติธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกราย ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นธรรม  และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง  คือ  การตัดสินใจ  โดยกำกับทุกการกระทำของผู้นำด้วยความพอประมาณ  ความมีเหตุมีผล  มีภูมิคุ้มกันและใช้ความรู้ควบคู่คุณธรรม  ซึ่งทั้งหมดสะท้อนผ่านค่านิยมทั้ง 6 ประการที่เป็นจิตวิญญาณของเครือซีพี”

ระบบการบริหาร CP Excellence (CPEX) มีเค้าโครงมาจากหลักการบริหารในระดับสากล คือ Malcolm Baldrige Nation Quality Award หรือ MBNQA  ของสหรัฐอเมริกา  โดยได้นำมาผนวกเข้ากับเอกลักษณ์การบริหารของเครือฯ  เกิดเป็นองค์ประกอบ 13 ด้านแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) เสาหลัก-การบริหารหลัก  2) พื้นฐาน-เชื่อมโยงการบริหารในทุกด้านเพื่อให้รากฐานของธุรกิจมั่นคง  และ  3)  หลังคา–หลักสำคัญในการปกป้ององค์กรให้เกิดความยั่งยืน

คุณลักษณะของระบบบริหาร CP Excellence (CPEX) ประกอบด้วยหลักการบริหาร 13 ด้าน ผสมผสานค่านิยมของเครือซีพี (CP Values) โดยที่การบริหารแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการที่สอดประสานกันอย่างเป็นระบบ  แต่ละกระบวนการทำตามหลัก  Plan – Do – Check – Act หรือ PDCA ซึ่งเป็นลำดับหลักของการทำงานเพื่อตรวจสอบกระบวนการทำงานและยกระดับมาตรฐานเดิมให้สูงขึ้น และยังมีกรอบการดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วย ‘หลักการ – แนวทาง – เครื่องมือ’ และการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมหรือร่วมมือกันแบบข้ามสายงานอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การบริหารด้วยหลัก CP Excellence (CPEX)  ทำให้ทุกกลุ่มธุรกิจมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน มีการแบ่งปันทรัพยากร องค์ความรู้ด้วยกัน ทะลายไซโล และหล่อหลอมความเป็นคนซีพี  ช่วยสร้างมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจด้วยการนำเทคโนโลยี และระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ ตอบสนองนโยบาย Digital Transformation และยังช่วยส่งเสริมความสุขของพนักงาน ด้วยการดูแลคนในองค์กร การให้คุณค่าของคนรวมไปถึงครอบครัวและสังคม ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้เครือฯ มุ่งสู่เป้าหมายความยั่งยืนและก้าวไปสู่การเป็นองค์กรระดับโลก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้การยอมรับและเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจของเครือฯ

 เครือฯสร้างต้นแบบที่ดีให้กลุ่มธุรกิจนำไปปรับใช้

เมื่อเจาะลึกลงไปถึงศักยภาพของแนวทางบริหาร CP Excellence (CPEX) ที่นำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานย่อยของแต่ละกลุ่มธุรกิจ พบว่าสามารถช่วยสนับสนุนให้แต่ละกลุ่มธุรกิจบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน   ได้ และยังช่วยในการวิเคราะห์และยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ทุกคนในองค์กรมีการพัฒนาอย่างชัดเจนมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการให้เป็นระบบสากลเพื่อให้ธุรกิจของบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศนำไปใช้เป็นแนวทาง และยังช่วยยกระดับการดำเนินธุรกิจให้ก้าวไปสู่การคว้ารางวัลคุณภาพแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยค้นหาปัญหาในการทำธุรกิจ และนำเสนอโซลูชั่นเพื่อพัฒนาการทำงานให้เป็นระบบ เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้นไปพร้อมกัน นำมาซึ่ง คุณค่าทางเศรษฐกิจ  คุณค่าด้านความยั่งยืน  และความสุขของคน สู่องค์กร

ทั้งนี้ โดยสรุป ประโยชน์ที่เป็นจุดเด่นของระบบบริหาร CP Excellence (CPEX) ซึ่งสะท้อนจากประสิทธิผลของการบริหารจัดการทั้ง 12 ด้าน เป็นระบบที่มุ่งเน้นองค์รวม บริหารงานแบบไร้รอยต่อ ทะลายไซโล เน้นการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบงานและกระบวนการทำงานดูง่ายและสะดวกต่อการนำไปปฏิบัติ นำไปสู่การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมุ่งเน้นความสุข และเห็นคุณค่าของพนักงาน ใช้พนักงานเป็นศูนย์กลาง  เกิดผลลัพธ์จากการทำระบบ ที่ทำให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจดีขึ้น และที่สำคัญคือ มีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นหลักในการตัดสินใจอย่างยั่งยืน

ที่มา: คู่มือหลักการบริหารงานเครือเจริญโภคภัณฑ์ 2019-2020