องค์การระหว่างประเทศหลายหน่วยงาน เช่น องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และหน่วยงานด้านอาหาร (USFDA) ยืนยัน อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่เชื้อโควิด-19 ในกรณีที่เนื้อสัตว์ปนเปื้อนเชื้อโควิดจากผู้ป่วยก็มีโอกาสน้อยที่จะทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคได้
เชื้อโควิด เป็นเชื้อไวรัสที่มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ต่ำและถูกทำลายได้ง่าย ปริมาณของเชื้อไวรัสจึงไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดโรคได้ แนะผู้บริโภคควรทานเนื้อสัตว์ปรุงสุกเท่านั้น เพราะเชื้อโควิดสามารถทำลายได้ด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที หากต้มให้เดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เชื้อทั้งหมดจะถูกทำลายทันที
ด้าน นสพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ จากโรงตัดแต่งเนื้อสุกรใน จ.ปทุมธานี ผู้ว่าฯ ปทุมธานี ออกคำสั่งปิดโรงงานชำแหละหมู 14 วัน เร่งทำความสะอาด-ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในสถานที่เสี่ยงและอยู่ภายใต้การควบคุมโรคแล้ว
กรมปศุสัตว์ ยืนยัน เนื้อหมูกินได้ ปลอดภัย และจากงานวิจัยพบว่าสัตว์เศรษฐกิจ เช่น หมู ไก่และเป็ด จะไม่ติดโรคโควิด-19 ได้อย่างแน่นอน แนะผู้บริโภคควรเลือกเนื้อสัตว์ หมู ไก่ เป็ด รวมถึงไข่ไก่จากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ในสถานที่จำหน่ายที่สะอาด มีใบรับรองจากกรมปศุสัตว์ หรือให้สังเกตตราสัญลักษณ์ ปศุสัตว์ OK ช่วยสร้างความมั่นใจได้มากยิ่งขึ้น
สำหรับ CPF “การ์ดไม่ตก” ยกระดับมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุดตลอดห่วงโซ่การผลิตและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานแปรรูปอาหาร การขนส่ง คู่ค้าและช่องทางจำหน่าย พร้อมเพิ่มมาตรการเสริมควบคู่เพื่อป้องกันในทุกมิติ โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการผลิตและส่งมอบอาหารคุณภาพ สด สะอาด ปลอดภัย จนถึงมือผู้บริโภคได้อย่างเพียงพอ
Cr.PR CPF