คุณจิระศักดิ์ ชูความดี รองอธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมคณะผู้บริหารของกรมป่าไม้ รวม 15 คน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม “โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้าของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ พื้นที่เขาพระยาเดินธง โดยมี คุณภูมินภ์ห์ บุญบันดาร ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 (สระบุรี) พร้อมด้วย คุณถนอมพงษ์ สังข์ธูป เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน กรมป่าไม้ และคุณสุธี สมุทระประภูต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หน่วยงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน CPF และคณะทำงานโครงการฯ ให้การต้อนรับ และร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าในพื้นที่
การลงพื้นที่ในวันนี้ คณะผู้บริหารของกรมป่าไม้ ได้เยี่ยมชมแปลงปลูกป่าในพื้นที่ของโครงการ ในส่วนของแปลงปลูกแบบพิถีถันและแปลงปลูกเชิงนิเวศ พร้อมร่วมกันปลูกต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ และรับฟังการบรรยายสรุปผลของการดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟื้นฟูป่า ระยะที่หนึ่ง (ปี 2559-2563) ซึ่งกรมป่าไม้ ชุมชนรอบพื้นที่ และ CPF ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าพื้นที่เขาพระยาเดินธงรวม 5,971 ไร่ และแผนงานระยะที่สอง (ปี 2564-2568 ) มีเป้าหมายยอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเพิ่มพื้นที่ป่าที่ปลูกใหม่เพิ่มเป็น 7,000 ไร่ นอกจากนี้ CPF ยังเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าและข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับใช้เปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่อีกด้วย
รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวขอบคุณ CPF ที่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า และเข้ามามีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐดูแลทรัพยากรของชาติ ซึ่งโครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง สามารถเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าและยังเป็นโครงการที่บูรณาการการทำงานโดยสามภาคส่วน คือ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน ทำให้โครงการฯ มีความยั่งยืน
CPF ร่วมกับ กรมป่าไม้ และชุมชนรอบพื้นที่เขาพระยาเดินธง ดำเนินโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง มาตั้งแต่ปี 2559 นอกจากเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศแล้ว บริษัทฯ ยังต่อยอดสร้างความมั่นคงทางอาหารสู่ชุมชน โดยสนับสนุนชุมชนเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สะอาดและปลอดภัย ดำเนินโครงการปลูกผักวิถีธรรมชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 8 หมู่บ้าน โครงการและปล่อยปลาลงเขื่อน เป็นแหล่งอาหารครอบคลุมชุมชน 11 หมู่บ้าน หรือมากกว่า 300 ครัวเรือน พร้อมทั้งมอบเงินกองทุนเพื่อใช้หมุนเวียนในโครงการ ช่วยสร้างรายได้เสริมให้ชุมชน ลดภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
Cr.PR CPF