“CPF 1st Climate Talk” เสริมความรู้ผู้นำองค์กร เดินหน้าสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ ปี 2030

CPF จัดสัมมนา “CPF 1st Climate Talk” ผ่านระบบออนไลน์ ระดมสมองผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดแผนและแนวทางลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากบริษัทชั้นนำของไทยและต่างประเทศ เสริมความรู้พนักงานและผู้บริหารในการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจและแผนปฏิบัติการ (Climate Action Plan) สู่เป้าหมาย “องค์กรคาร์บอนต่ำ” (Low-carbon Organization) ในปี 2030
สัมมนาในครั้งนี้ จัดโดยคณะทำงานการบริหารทรัพยากรที่เป็นเลิศ ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืนใหม่ CPF 2030 Sustainability in Action เพื่อนำองค์กรให้บรรลุเป้าหมายองค์กรคาร์บอนต่ำ โดยมีวิทยากรชั้นนำจาก South Pole ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่ให้คำปรึกษาด้านความยั่งยืนและในบริการโซลูชั่นที่สนับสนุนการดำเนินงานและลดความเสี่ยงทางธุรกิจจากการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ, อบก., บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล และ บจ.มิตซุยแอนด์โค (ประเทศไทย) มาให้ความรู้และแนวทางการกำหนดกลยุทธ์ความยั่งยืนให้สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการของโลก คู่ค้าและผู้บริโภค ให้ผู้ผลิตมีส่วนร่วมลดการเปลี่ยนแปลงสภาภภูมิอากาศตามแนวทางการผลิตที่ยั่งยืน
คุณศักดิ์ชัย บัวมูล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านวิศวกรรมกลาง และประธานคณะทำงานด้านการบริหารทรัพยากรที่เป็นเลิศ CPF กล่าวในพิธีเปิดการสัมมนาว่า CPF ในฐานะบริษัทที่เป็นผู้นำด้านการผลิตอาหาร ใช้วัตถุดิบมาจากธรรมชาติที่ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ ได้มีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน ทั้งการอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียนและคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุดมาโดยตลอด
จนถึงวันนี้การกำหนดเป้าหมายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือ Science-based Target (SBTi) จะช่วยรักษาอุณหภูมิของโลกไว้ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ได้อย่างแท้จริง ซึ่งทำให้การมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อนของ CPF ชัดเจนขึ้น จับต้องได้มากขึ้น ตลอดจนขับเคลื่อนจนบรรลุเป้าหมายได้
ด้าน คุณ Sue Helen Nieto และคุณ Ajit Padbidri ผู้เชี่ยวชาญจาก South Pole กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือ Science-based Target (SBTi) จะช่วยจัดระบบการทำงานของแต่ละหน่วยธุรกิจให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น มีเป้าหมายและเป็นไปในทิศทางเดียวกันให้เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล เพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งในระดับบริษัท ระดับประเทศและระดับโลก ตอบโจทย์ทั้งนักลงทุน ลูกค้า และผู้บริโภค
ขณะที่ คุณอโณทัย สังข์ทอง ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมตลาดคาร์บอนและนวัตกรรม อบก. กล่าวว่า ภาครัฐกำลังพิจารณาสิทธิพิเศษทางภาษีและรูปแบบอื่นๆ ให้กับภาคเอกชน เพื่อจูงใจให้มีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทำธุรกิจ หรือทำโครงการสนับสนุนการปลูกป่า เพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ตามทิศทางและนโยบายประเทศไทยในการเดินหน้าสู่ Low Carbon Economy โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงของประเทศลง 20-25% ในปี 2573 (Nationally Determined Cpontribution : NDC) สู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2633
ทั้งนี้เนื่องจาก เป็นเป้าหมายที่ท้าทายภาคเอกชน เพราะในอนาคตการลดการปล่อยก๊าซเรือนมีแนวโน้มที่จะถูกกำหนดเป็นรูปของกฎหมาย เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันหลายหน่วยงาน เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องมีการทวนสอบการปล่อยก๊าซเรือนและการชดเชยในรายงาน One Report ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้ภาคเอกชนตระหนักในเรื่องนี้มากขึ้น
ตัวแทนจาก บมจ.พีทีที โกลบอล เคมีคอล กล่าวว่า บริษัทชั้นนำใน DJSI ไม่ว่า GC หรือ CPF จำเป็นต้องมีแผนปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ทั้งห่วงโซ่การผลิต สอดคล้องกัน รวมถึงคู่ค้าธุรกิจ ให้มีมาตรฐานสอดคล้องกัน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
การสัมมนาในครั้งนี้ จะต่อยอดเป็นแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายองค์กรสู่การเป็น Low-carbon Organization ในปี 2573 ได้อย่างสมบูรณ์
Cr.PR CPF
Cr.PR CPF