คุณพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหารด้านวิศวกรรมกลาง ในฐานะประธานคณะทำงานด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ภายใต้วิสัยทัศน์ “ครัวของโลก” โดยประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืนใหม่ “CPF 2030 Sustainability in Action” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องในอีก 9 ปี ข้างหน้า ที่ยังคงยึดมั่น 3 เสาหลัก ประกอบด้วย อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดิน น้ำ ป่า คงอยู่ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ตลอดจนข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) ให้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ
ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานและหลักการสากลทั้งในประเทศไทยและกิจการในต่างประเทศการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นภัยคุกคามธรรมชาติ และชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนบนโลกใบนี้ ซึ่งกลไกที่ดีที่สุดที่จะเยียวยาธรรมชาติได้ คือ “มนุษย์” ต้องตระหนักรู้และเข้าใจวิธีการบริโภคทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างถูกต้อง ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดมลพิษที่เกิดขึ้นไม่เพียงเฉพาะในประเทศเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงการร่วมมือระดับโลก เพื่อเปลี่ยนผ่านโลกใบนี้สู่อนาคตที่ดีกว่าภายใต้ “เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ” (Low-carbon Economy)
ซีพีเอฟ กำหนดแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ มุ่งเน้นการดำเนินงานสำคัญ 6 ด้าน ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ประกอบด้วย
-
- 1.การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตจากการลดการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต
-
- 2.ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบต่างๆ
-
- 3.พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศจากนวัตกรรมอาหารสัตว์รักษ์โลก ช่วยส่งเสริมระบบย่อยอาหารของสัตว์ ลดการเกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์
-
- 4.วางแผนระบบโลจิสติกส์ให้การใช้เชื้อเพลิงเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดพื้นที่ว่างภายในรถ ตรวจสอบปริมาณสินค้าและการขนส่งให้ได้มากที่สุดในแต่ละวัน
-
- 5.ลดขยะ การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food Loss and Food Waste) ในกระบวนการผลิตเป็นศูนย์ในปี 2573 (2030) เพื่อลดปริมาณของเสียสู่การฝังกลบและเผา
- 6.การแก้ปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน จากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
มุ่งสู่องค์กร Zero Food Waste และ Zero Emission
คุณพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหารด้านวิศวกรรมกลาง ในฐานะประธานคณะทำงานด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ขับเคลื่อนเป้าหมายความยั่งยืนระดับสากลโดยคำนึงถึง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่ง
แวดล้อม ตามหลักธรรมาภิบาล สร้างสมดุลการผลิตอาหารมั่นคงและปลอดภัย ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ควบคู่กับความมุ่งมั่นในการพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างยั่งยืน
“พลังงานหมุนเวียน”เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของซีพีเอฟ ในการลดใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิส (Fossil Fuels) ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนของบริษัทฯ อยู่ที่ 26% ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งในปี 2563 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 575,000 ตันคาร์บอน
ไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี จากพลังงานชีวภาพ (Biogas) พลังงานชีวมวล (Biomass) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power)
ตลอดจนดำเนินการในโครงการต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การลดการใช้พลังงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากลดโลกร้อน รวมถึงนวัตกรรมอาหารสัตว์รักษสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ ซีพีเอฟ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีที่ผ่านมาทั้งสิ้น 2.071 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ สนับสนุนเป้าหมาย “องค์กรคาร์บอนต่ำ” และสนับสนุนเป้าหมายเครือเจริญโภคภัณฑ์มุ่งสู่องค์กร Zero Food Waste และ Zero Emission ภายในปี 2573
ความมุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ ซีพีเอฟ ถูกถ่ายทอดไปยังเกษตรกรและคู่ค้าธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้างมาตรฐานการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนให้เป็นไปในทิศทางหนึ่งเดียวกัน โดยเฉพาะวัตถุดิบหลักต้องมาจากแหล่งที่มีเอกสารสิทธิ์อ้างอิงถูกต้องตาม
กฎหมายและต้องมาจากพื้นที่ที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า 100% (Zero Deforestation) ภายในปี 2573
นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังกำหนดเป้าหมายระหว่างทางในปี 2568 ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม 25% ลดปริมาณของเสียที่กำจัดโดยการฝังกลบและเผาต่อหน่วยการผลิตลง 35% ลดการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตลง 15% ลดการดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตลง 30% โดยเป้าหมายทั้งหมดเทียบกับกับปีฐาน 2558
“ซีพีเอฟ สนับสนุนการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ไม่ให้สูงขึ้นเกิน1.5 องศาเซลเซียส ตามข้อตกลงปารีส ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม กระบวนการผลิต กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ และการลดขยะอาหารในกระบวนการผลิตและ
ธุรกิจค้าปลีก ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ให้การใช้ทรัพยากรเกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดตลอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อประสิทธิผลในการบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก” คุณพีรพงศ์ กล่าว
ที่มา ซีพีเอฟ