ในงานประชุมวิชาการนานาชาติทางสัตวแพทย์และการเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 45 (The International Conference On Veterinary Science 2022 : The ICVS 2022) คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ชำนาญการ ที่มีความเชี่ยวชาญระดับประเทศ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย พิเศษถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม โดยหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจ คือ การป้องกันโรค ASF ในสุกร ด้วย “ระบบไบโอซีเคียวริตี้” ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันโรคต่างๆ ในสัตว์ได้แล้ว ยังช่วยให้ไทย ปลอดจากโรค ASF ด้วย
สำหรับตัวอย่างภาคเอกชนที่ดำเนินการด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ASF ในสุกร ด้วย “ระบบไบโอซีเคียวริตี้” (Biosecurity System) ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการเลี้ยงสุกร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ CPF ซึ่งถือเป็นการสนับสนุน นโยบาย Zero ASF หรือ ASF เป็นศูนย์ ของกรมปศุสัตว์ ด้วยระบบดังกล่าวทำให้การป้องกันโรคระบาดในสัตว์มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้ผลผลิตสุกรปลอดโรค เติบโตเป็นอาหารโปรตีนให้คนไทยได้อย่างเพียงพอ หนุนความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ให้ไทยคงสถานะครัวของโลกได้อย่างยั่งยืน
น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร CPF เปิดเผยว่า ปัจจุบันฟาร์มสุกรของ CPF ดำเนินมาตรฐานฟาร์มตามแนวทางของกรมปศุสัตว์ และยกระดับมาตรฐานฟาร์มสุกรของบริษัทสู่ “ระบบไบโอซีเคียวริตี้” 100% รวมถึงผลักดันเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรกับซีพีเอฟ หรือคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ระบบการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มดังกล่าวได้รับการยอมรับในระดับสากล ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคระบาดอื่นๆ ในฟาร์มสุกร และทุกฟาร์มต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัด จึงมั่นใจได้ว่าสุกรในระบบจะปลอดโรค ปลอดภัย สู่เนื้อหมูอนามัย ส่งถึงมือผู้บริโภค
“CPF ให้ความสำคัญสูงสุดกับการผลิตอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต ขั้นตอนของการเลี้ยงสุกร เป็นอีกส่วนสำคัญของความปลอดภัยทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการป้องกันโรคระบาดในสัตว์ โดยซีพีเอฟได้ยกระดับมาตรฐานฟาร์มสุกรของบริษัทและของเกษตรกรคอนแทรคฟาร์มมิ่ง เข้าสู่ระบบไบโอซีเคียวริตี้ทั้งหมด 100% โดย CPF ยืนหยัดร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้ป้องกันโรค ASF อย่างแข็งแกร่งให้ไทยเดินหน้า สู่สถานะปลอดโรค ASF โดยเร็ว” น.สพ.ดำเนิน กล่าว
มาตรฐานฟาร์มสุกรของ CPF ในระบบไบโอซีเคียวริตี้ ประกอบด้วย การเลี้ยงสุกรในโรงเรือนระบบปิด ป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค อาทิ หนู นก หรือแมลงต่างๆ ในส่วนวัตถุดิบที่นำมาใช้ภายในฟาร์ม ทั้งอาหาร น้ำ ฯลฯ ต้องมีการตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งที่มาได้ ซึ่งฟาร์มจะรับจากแหล่งที่ปลอดภัยเท่านั้น ตลอดจนควบคุมยานพาหนะขนส่งเข้า-ออกฟาร์มอย่างเข้มงวด โดยรถทุกคันและพนักงานทุกคน ต้องผ่านระบบฆ่าเชื้อ เพื่อไม่ให้คนหรือยานพาหนะ เป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม รวมถึงกำหนดจุดส่งมอบสุกรที่แยกจากออกฟาร์ม
ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพดังกล่าว ทำให้มั่นใจได้ในความปลอดภัยของกระบวนการผลิตสุกรตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยของเนื้อสุกรสู่ผู้บริโภคอย่างแท้จริง
Cr.PR CPF