สืบเนื่องจากที่ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและนโยบายที่จะเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2030 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ภายในปี 2050 นำมาสู่การผนึกกำลังครั้งใหญ่เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการลดโลกร้อน โดยเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมาได้มีการคิกออฟการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ผนึกกำลังเครือซีพี ลดการปล่อยคาร์บอน และสร้างโอกาสคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของหลักสูตรพัฒนาผู้นำระดับสูง (เถ้าแก่ใหญ่ ) หรือ หลักสูตร SLP : Seniors Leaders Development Program โดยมี ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหาร ด้านความยั่งยืนองค์กรและการพัฒนากลยุทธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะผู้บริหาร ยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานนะผู้สนับสนุนโครงการฯ เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยสมาชิกทีมเถ้าแก่ใหญ่ คุณวิโรจน์ ยุทธยงค์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจสัตว์น้ำซีพีเอฟ คุณวรสิทธิ์ สิทธิวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เขตประเทศเมียนมาร์ ดร.อภิรักษ์ เดชวรสิทธิ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานกลยุทธ์และสนับสนุนธุรกิจ โลตัส คุณวาที เปาทอง หัวหน้าฝ่ายงานกฎหมาย ทรู คุณปรัชญา เครือนาพันธ์ ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส ซีพี ออลล์ และคุณศุภชัย เสือกลับ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. สหอุตสาหกรรม จำกัด รวมถึงผู้บริหาร และผู้นำรุ่นใหม่ด้านความยั่งยืน จาก 14 กลุ่มธุรกิจในเครือฯ เข้าร่วมประชุมกว่า 100 ท่าน ณ ห้องประชุม Classroom 7 อาคารทรู ดิจิทัล พาร์ค (เวสท์)
ในการนี้ ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กรและการพัฒนากลยุทธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานนะผู้สนับสนุนโครงการฯ ได้กล่าวเปิดงานสัมมนาว่า ในตอนนี้โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก และการเกิดมาตรการ CBAM ภาษีคาร์บอนข้ามแดน ทำให้ทุกประเทศในโลกต้องให้ความสำคัญ ภาคธุรกิจจึงต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง เครือซีพีโดยการนำของซีอีโอ ศุภชัย เจียรวนนท์ จึงได้มีการกำหนดเป้าหมายความยั่งยืนและแนวทางร่วมกันในการพาเครือซีพีและบริษัทในเครือฯ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2030 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ให้ได้ การผนึกกำลังของกลุ่มธุรกิจของเครือฯในครั้งนี้จึงเป็น “การนำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ” ในการลดการปล่อยคาร์บอนและสร้างโอกาสคาร์บอนเครดิตอย่างเป็นรูปธรรม โดยการลดการปล่อยคาร์บอนใน scope 1-3 ไม่ใช่แค่ภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องร่วมมือกับคู่ค้าและซัพพลายเออร์ตลอดห่วงโซ่คุณค่าด้วย ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องนี้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มจึงสำคัญ
ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร กล่าวย้ำความมุ่งมั่นของเครือฯ ในการทรานส์ฟอร์มไปสู่ความยั่งยืนต้องขับเคลื่อนผ่านกรอบ 5 ด้านสำคัญคือ 1.Transparency ความโปร่งใส มีเป้าหมายและต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน โดยเครือฯ ได้มีการวางยุทธศาสตร์ความยั่งยืนสู่ปี 2030 รวม 15 ข้อที่ชัดเจน 2.Market Mechanism สร้างกลไกตลาดด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการและแบรนด์ที่ส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน รวมไปถึงสร้างความร่วมมือกับ stakeholder โดยแต่ละกลุ่มธุรกิจจะต้องแชร์ความร่วมมือร่วมกัน 3.Leadership &Talents แต่ละกลุ่มธุรกิจต้องสร้าง Tone at the top ให้ผู้นำสูงสุดของทุกองค์กรนำการขับเคลื่อนให้ความยั่งยืนเป็นเนื้อเดียวกับธุรกิจ และจะต้องมีการพัฒนา “ผู้นำความยั่งยืนรุ่นใหม่” ในระดับขององค์กร 4.Empowerment แต่ละกลุ่มธุรกิจต้องมีการผนึกกำลังและใช้ ecosystems เครือฯ ในการสร้างimpact และเป็น change leader ร่วมกันผ่านความร่วมมือในโครงการต่างๆ และ 5.Technology พัฒนาเทคโนโลยีในการสนับสนุนความยั่งยืนผ่านแพลตฟอร์มหลักที่เครือฯได้สร้างขึ้นมาส่งเสริมให้กลุ่มธุรกิจนำไปใช้
การผนึกกำลังในครั้งนี้เรามีความเชื่อที่สำคัญร่วมกันว่าจะเป็นการหาแนวทางอุณหภูมิของโลกให้ลดลง หรืออย่างน้อยก็ไม่เพิ่มขึ้นในอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเครือซีพีและกลุ่มธุรกิจในเครือฯ ในฐานะภาคเอกชนพร้อมที่จะนำความรู้ไปขยายผลให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการที่ลดการปล่อยคาร์บอนมากขึ้น ในขณะเดียวกันเครือฯจะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยในการลดคาร์บอนและเพิ่มพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น เช่น การใช้ไฮโดรเจน โซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่อีวี ดังนั้นแต่ละกลุ่มธุรกิจต้องมีการผนึกกำลัง โดยในตอนนี้เครือซีพีกำลังดำเนินโครงการ SLP: Carbon credit business ถือว่าโครงการนำร่องที่ได้นำเป้าหมายและนโยบายลดคาร์บอนมาสู่การปฏิบัติติให้เกิดขึ้นจริง และโครงการ 5 ประสาน: ผนึกกำลังลดต้นทุนพลังงาน การใช้พลังงานสะอาดให้เกิดทั้งภายในและขยายผลไปสู่ภายนอกองค์กร
“เครือเจริญโภคภัณฑ์ปีนี้มีอายุ 103 ปีแล้ว เราควรจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเป็น Best Practice ให้กับคนอื่นได้เรียนรู้ การลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นเรื่องของทุกคน ของทุกภาคส่วน การที่เครือซีพีผนึกกำลังกับกลุ่มธุรกิจขับเคลื่อนลดการปล่อยคาร์บอนสู่เป้าหมาย Net Zero จะเป็นแรงกระเพื่อมขยายวงกว้างออกไปในการร่วมร่วมมือกับทุกคนสร้างโลกที่ยั่งยืนร่วมกัน”
ศาสตราจารย์ ดร.พูนพิภพ เกษมทรัพย์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จากนั้น เป็นการแชร์เป้าหมายและการดำเนินงาน ลดก๊าซเรือนกระจกระดับเครือฯ โดย คุณสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ต่อด้วย แนวทางลดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ด้านการเกษตร จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.พูนพิภพ เกษมทรัพย์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร และ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ด้านพลังงาน โดย คุณจักรกฤษณ์ ศิวพรเสถียร จากบริษัท อัลเตอร์วิม จำกัด
คุณจักรกฤษณ์ ศิวพรเสถียร จากบริษัท อัลเตอร์วิม จำกัด
ในช่วงบ่ายได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยถึง 6 กลุ่ม เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการลดการปล่อยคาร์บอน และสร้างโอกาสคาร์บอน เครดิตของเครือฯซึ่งกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ จะต้องนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ท่ามกลางบรรยากาศในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เต็มไปความมุ่งมั่นและกระตือรือร้น เห็นถึงพลังของผู้นำทุกคนที่พร้อมจะก้าวไปสู่เป้าหมาย zero carbon
ส่วน คุณวรสิทธิ์ สิทธิวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เขตประเทศเมียนมาร์ เปิดเผยว่า ท่านประธานอาวุโสธนินท์ เจียรวนนท์ และคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) เป็นอย่างมาก โดยให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเป็นโครงการ เถ้าแก่ใหญ่ที่รวมคณะผู้บริหารระดับ CEO -1 จากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ มาทำการบูรณาการ ร่วมกันเช่น ซีพีเอฟ ทรู ซีพี ออลล์ และกลุ่มพืชครบวงจร เพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดขึ้นจริง เพื่อลดคาร์บอนให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจภาคเกษตร ซึ่งเป็นธุรกิจสำคัญของเครือซีพี เราได้ดำเนินการร่วมมือกับพาร์เนอร์ระดับโลก เช่น เบเยอร์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Net-Zero ภาคการเกษตร ในการนำความเชี่ยวชาญทั้งองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาสนับสนุนเกษตรกรทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียนให้มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามหลักค่านิยมองค์กร 3 ประโยชน์ที่เครือซีพีและกลุ่มธุรกิจยึดมั่นดำเนินธุรกิจเพื่อให้ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ สังคม และท้ายที่สุดจึงเป็นองค์กร
ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.พูนพิภพ เกษมทรัพย์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ในตอนนี้ประเทศไทยหลายภาคส่วนตื่นตัวกับเรื่องการลดคาร์บอนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งภาคเกษตรถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งให้องค์ความรู้และนำนวัตกรรมมาเสริม ซึ่งในส่วนนี้เห็นได้ชัดจากการวางแนวทางของเครือซีพี ที่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป ในการกำหนดเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการมีแผนการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวครอบคลุมตลอดทั้งองค์กร คู่ค้าและผู้บริโภค ถือว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคม
ด้าน คุณเฉลิมฤทธิ์ เจริญสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายความยั่งยืนองค์กร โลตัส เปิดเผยว่า มองถึงปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัว ซึ่งทุกวันนี้หลาภาคส่วนก็ได้รับผลกระทบจาปัญหาเหล่านี้ ทั้งฝนตกน้ำท่วม ล้วนเป็นปัญหาที่อยู่ไม่ไกลตัวเราเลย การที่วันนี้เครือซีพี ได้มีการผนึกกำลังกัน รวมพลังกันในการขับเคลื่อนวางแผนงานด้านความยั่งยืนในทุกมิติของการดำเนินธุรกิจ ผมรู้สึกภาคภูมิใจมาก เพราะว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นหน้าที่ของพวกเราทุก ๆ คน ซึ่งเราทำงานอยู่ในองค์กรที่มีส่วนร่วมในการผลักดันและพัฒนาแก้ไขปัญหาก็รู้สึกภาคภูมิใจครับ เป็นเรื่องท้าทายมากไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ได้อยากจนเกินไปเพราะคนรุ่นใหม่ในองค์กรเริ่มมีส่วนร่วมในกิจกรรมพวกนี้มากขึ้น เป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนบนโลกใบนี้ต้องร่วมมือช่วยกันถึงจะสำเร็จ
คุณอัฌฌมาพันธุ์ เกิดสวัสดิ์ ผู้ชำนาญการพลังงาน นวัตกรรม และความยั่งยืนองค์กร ธุรกิจ ข้าว ขนส่งและบริการ เปิดเผยว่า เราอยู่ในองค์กรที่ใครหลาย ๆ คนรู้จัก เราต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง หาวิธีการช่วยลดโลกร้อน ลดคาร์บอนไดออกไซด์ และเผยแพร่ไปยังชุมชน และสังคมของเรา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรณู้สึกดีใจ และภาคภูมิใจมาก ที่เครือฯ ของเรามีการผนึกกำลังกันทุกภาคส่วนในการเดินหน้าร่วมดูแลโลกอย่างยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เราอยู่ในธุรกิจ ข้าว ขนส่งและบริการ มีความเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำมากที่สุด ก็ได้มีส่วนช่วยเกษตรกรในการทำการเกษตรช่วยลดการใช้พลังงาน ทั้งเรื่องน้ำมัน การจัดการน้ำ หรือการลดก๊าซมีเทนที่อยู่ในนาข้าว ส่งเสริมการผลิตข้าวที่ลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ มั่นใจมากค่ะการที่เราได้ผนึกกำลังกันเราจะไปถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ได้แน่นอน
ทั้งนี้ เครือซีพี และบริษัทในเครือ ได้ดำเนินการปรับโมเดลธุรกิจมุ่งส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้รวมถึงการลงทุนเครืองจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดการใช้พลังงานให้ได้มากที่สุด เช่น การติดตั้ง Solar Rooftop ที่ห้างค้าปลีกค้าส่งซึ่งในตอนนี้มีการติดตั้งไปแล้ว 4,950 แห่ง
นอกจากนี้ยังได้มีการติดตั้งในหลังคาโรงงานเช่น ที่ซีพีแรมได้ปรับเป็นโรงงานสีเขียวรวม 7 แห่งทั่วประเทศ สามารถลดต้นทุนการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 9 ล้านต่อปี ในขณะเดียวกันมีการใช้ไบโอแก๊สทดแทนการใช้ไฟฟ้าของฟาร์มสุกร และฟาร์มไก่ไข่ไปแล้ว 55% ทำให้ลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึงกว่า 1.7 แสนตันคาร์บอน เช่น กรณีซีพีเอฟ ได้มีการจัดทำ Green Farm ในฟาร์มสุกร 98 แห่ง เป็นต้นแบบฟาร์มรักษ์โลก มีการจัดการของเสียในฟาร์มด้วยไบโอแก๊สและการปลูกไม้ยืนต้นในฟาร์ม ทำให้ลดต้นทุนด้านไฟฟ้าได้มากถึง 80% ของไฟฟ้าทั้งหมด นอกจากนี้ยังได้มีการผลิตภัณฑ์สีเขียวกว่า 818 รายการ ที่ได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และกว่า 56 รายการได้รับรองฉลาดลดโลกร้อน
เครือซีพี ได้มีการวางแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2030 แบ่งเป็น Scope 1 และ 2 เน้นไปที่การใช้พลังงานหมุนเวียน 50% ด้วยการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล โซลาร์พีวี ก๊าซชีวภาพ รวมไปถึงมีการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน 20% และลดขยะของเสียสู่หลุมฝังกลบให้เป็นศูนย์ ทั้งในเรื่องของการผลิตปุ๋ย การส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก และในส่วนของ Scope 3 เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก แต่เครือต้องทำให้สำเร็จ ด้วยการร่วมมือกับคู่ค้าในการลดคาร์บอน 25% ลดคาร์บอนจากเกษตรกรรม 30% และการลดคาร์บอนจากการขนส่ง 25% ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เช่น การใช้รถยนต์ EV ในการขนส่งสินค้า และการบริหารจัดการ Logistics เป็นต้น