ค่านิยม 6 ประการ : สามประโยชน์ กับ โครงการ ปลูกปันป้องป่าชายเลน สู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนของชุมชน
ย้อนกลับไปเมื่อก่อน 30 ปีทีแล้ว พื้นที่ชายฝั่งของตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีพื้นที่ป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์ สัตว์น้ำก็มีความมีความอุดมสมบูรณ์เช่นกัน แต่ภายในหลังเมื่อความเจริญต่างๆ เข้ามาในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร รวมถึงการตัดไม้โกงกางเพื่อเผาถ่านขาย ส่งผลให้ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง สัตว์น้ำลดลง เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และปัญหาขยะจากทะเล
โครงการ ปลูกปันป้องป่าชายเลน สู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนของชุมชน เกิดขึ้นเพื่อต้องการให้ชาวบ้านในชุมชนมี่ส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน มีจิตสำนึกรักษ์และหวงแหนป่าชายเลน ตระหนักถึงคุณค่าของป่าชายเลน โดยการเชื่อมโยงเรื่องป่าชายเลนให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพ มีรายได้และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ปี 2557 ซีพีเอฟ ได้ดำเนินโครงการ ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ในพื้นที่ ตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดยดำเนินโครงการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน และนักวิชาการ ในการดำเนินโครงการซีพีเอฟได้เข้าไปร่วมสานเสวนากับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้ทราบปัญหาที่แท้จริง นำมาซึ่งการกำหนดแผนงานโครงการ และได้ปลูกป่าชายเลนเพิ่มในพื้นที่จำนวน 54 ไร่ (ปัจจุบันมีอัตรารอด 80% ) และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าชายเลนในพื้นที่จำนวน 614 ไร่ เมื่อกระบวณการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนได้ถูกดำเนินการแล้ว ก็สร้างความเชื่อมโยงและต่อยอดให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของป่าชายเลน และเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีการจดเป็นวิสาหกิจชุมชน จัดตั้งกองทุนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมอาชีพของคนในชุมชน
จากการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่มีผลทำให้เกิดแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ชาวบ้านก็มีรายได้จากการทำประมงชายฝั่งเพิ่มมากขึ้นก่อนการดำเนินโครงการทั้งิส้น 1,980,000 บาท และในด้านการท่องเที่ยว ปี 2561-2563 วิสาหกิจท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลปากน้ำประแส มีรายได้จากการรับนักท่องเที่ยว มากกว่า 2,000,000 บาท ปัจจุบันมีเงินกองทุนทั้งสิ้น 342,431 บาท