หน้ากากอนามัยซีพี ยอดผลิตรวมถึงสิ้นเดือนกรกฏาคม 8 ล้านชิ้น ส่งถึงมือบุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มเปราะบาง กว่า 7.7 ล้านชิ้นช่วยกู้วิกฤต เป็นเกราะคุ้มกันภัยให้นักรบเสื้อกราวน์ป้องกันภัยไวรัสโควิด-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด – 19  ส่งผลกระทบต่อกประชนในวงกว้าง และทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนหน้ากากอนามัยอย่างหนัก  เครือเจริญโภคภัณฑ์  โดยท่านประธานอาวุโส  ธนินท์ เจียรวนนท์  ประกาศทุ่ม 100 ล้านบาท เร่งสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยให้แล้วเสร็จภายใน 5 สัปดาห์ เพื่อแจกฟรีให้แก่แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนกลุ่มผู้เปราะบาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน นับจากวันเปิดโรงงานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562 จนถึงปัจจุบัน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม มียอดการผลิตรวม 8,000,000  ชิ้น ส่งมอบให้ รพ.จุฬาลกรณ์ เพื่อแจกจ่ายไปยัง รพ.ต่างๆ ทั่วประเทศรวม 1,021 แห่งรวม 7,780,800ชิ้น

16 เม.ย.เดินเครื่องผลิต

พร้อมส่ง 1  แสนชิ้นแรกให้ รพ.จุฬาฯ

นับตั้งแต่เครือเจริญโภคภัณฑ์ประกาศตั้งโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยแจกฟรีให้แก่แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนประชาชนกลุ่มผู้เปราะบาง เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยอย่างหนักในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19  โดยได้ใช้เวลาก่อสร้างเพียง  5 สัปดาห์  และได้มีพิธีเปิดโรงงานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2563 ภายใต้การดำเนินการของบริษัท ซีพี โซเชียล อิมแพคท์ จำกัด พร้อมทั้งได้ส่งมอบหน้ากากอนามัยล็อตแรกจำนวน 100,000 ชิ้นให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาด  ซึ่งส่งมอบต่อไปแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป

ภายหลังเปิดโรงงานผลิตหน้ากากอย่างเป็นทางการ บริษัทเร่งเครื่องการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนเมษายน ได้ผลิตและส่งมอบหน้ากากอนามัยมอบให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ รวม 985,200 ชิ้น และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ ได้นำไปแจกจ่ายยังโรงพยาบาลและศูนย์บริการทางการแพทย์  ครอบคลุมทั้งในกรุงเทพมหานคร และในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ  รวม 711,600 ชิ้น  โดยมีโรงพยาบาลและศูนย์บริการทางการแพทย์ ได้รับหน้ากากรวมทั้งสิ้น 54 แห่ง

ครบ 1 เดือน ผลิตได้กว่า 2 ล้านชิ้น

โรงงานหน้าการอนามัยเดินเครื่องการผลิตอย่างเนื่องเพื่อต่อสู้กับภาวะวิกฤตไวรัสโควิด-19 และภาวะการขาดแคลนหน้ากากแม้ว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตได้เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ ซึ่งเป็นไปตามมาตรการของกรมโรงงาน แต่เมื่อครบกำหนด 1 เดือน ในวันที่ 16 พฤษภาคม  2563 สามารถผลิตผลิตหน้ากากอนามัยมียอดการทะลุไปกว่า 2 ล้านชิ้น  และเมื่อถึง ณ เดือนพฤษภาคม  มียอดการผลิตหน้ากากอนามัยรวม  4,212,400  ชิ้น  แจกจ่ายให้โรงพยาบาลต่างๆ รวม  3,499,200  ชิ้น  โดย รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ ได้ระดมแจกจ่ายถึงโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด  พร้อมขยายพื้นที่การแจกจ่ายไปสู่โรงพยาบาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คิดเป็นยอดรวมทั้งสิ้น  285 แห่ง

ส่งมอบให้กลุ่มเปราะบางตามเจตนารมณ์

หลังเร่งดำเนินการผลิตหน้ากากอนามัยและแจกจ่ายให้แก่แพทย์  พยาบาล  รวมไปถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศ  โดยในเดือนมิถุนายน มียอดการผลิตรวม  6,445,200 ชิ้น  มียอดแจกจ่ายหน้ากากอนามัยไปแล้ว 5,828,400 ชิ้น และมีโรงพยาบาล ได้รับหน้ากากรวม  634 แห่ง ซึ่งนอกจากหมอพยาบาลแล้วยังได้ส่งมอบไปยังกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ดังนั้นจึงได้เริ่ม แจกจ่ายให้แก่กลุ่มคนเปราะบางรวมไปถึงเจ้าหน้าที่อาสาสมัครผ่านทางมูลนิธิต่างๆ

 ยอดผลิต รวม ณ สิ้นดือนกรกฎาคม 8,000.000 ชิ้น

ส่งมอบให้ รพ.จุฬาลกรณ์  7,780,800 ชิ้น

ทั้งนี้ ได้ส่งมอบให้สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย, มูลนิธิออทิสติกไทย, มูลนิธิพระดาบส, มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง, สำนักงานเจ้าคณะแขวงซาเลเซียน, เทศบาลเมืองน่าน เพื่อนำไปมอบใหแก่แพทย์ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อสม. อปพร. และประชาชนในขณะที่ใน, มูลนิธิต่อต้านการทุจริตและมูลนิธิดวงประทีป  พร้อมทั้งเร่งจัดส่งให้ถึงมือแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพรวมไปถึงพื้นที่ในต่างจังหวัดทั้วทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 31 ดิอนกรฏาคมมีโรงพยาบาลและมูลนิธิต่างๆ ได้รับหน้ากากอนามัยแล้วทะลุถึง 1,021 แห่ง รวมยอดแจกจ่ายหน้ากากอนามัย  7,780,800 ชิ้น จากยอดการผลิตหน้ากากอนามัยรวม รวม  8,000,000 ชิ้น

แพทย์ พยาบาล ขอบคุณซีพี

ทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับหน้ากากอนามัย  ต่างรู้สึกขอบคุณเครือซีพี ที่เล็งเห็นถึงปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย  ซึ่งนับว่าเป็นอาวุธสำคัญของทีมแพทย์  พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์  เพื่อใช้ป้องกันตัวและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด – 19  ซึ่งที่ผ่านมาต้องประสบปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัยอย่างหนัก จนต้องแก้ปัญหาด้วยการนำกลับมาใช้ซ้ำ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการสัมผัสกับผู้ป่วยได้

เช่นเดียวกับตัวแทนจากมูลนิธิต่างๆ ที่ยอมรับว่ากลุ่มคนเปราะบางถือเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะสามารถติดเชื้อโควิด -19 ได้ง่าย โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ  ฉะนั้นการที่เครือซีพีให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้  จึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ  พร้อมขอบคุณที่มอบหน้ากากอนามัยไว้สำหรับป้องกันโรคโควิด – 19