CPP Myanmar มุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างการสื่อสารกับพนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานด้านความยั่งยืน โดยมีการตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเหมาะสมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรดำเนินงานร่วมกับคู่ค้า (B2B) และเกษตรกรฟาร์มโปร (B2C) สามารถทวนสอบย้อนกลับได้ไปยังพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร
ปัจจุบันนำมาตรการติดตามเฝ้าระวังการเกิดจุดความร้อนหรือ Hotspot ที่ดำเนินการโดยนักวิชาการด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์นำข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร(VIIRS) ที่เผยแพร่โดย Fire Information for Resource Management System (NASA FIRMS) วิเคราะห์ตำแหน่งพื้นที่เกิดจุดความร้อนจากดาวเทียม Sentinel-2 ภายใต้โครงการ Copernicus ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) และใช้โปรแกรม ArcGIS Desktop และ/หรือ QGIS ArcGIS Desktop ในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อทราบตำแหน่งพื้นที่เกิดจุดความร้อนจากดาวเทียมมาวิเคราะห์สาเหตุข้อเท็จจริงของปัญหาและบริหารข้อมูล สำหรับเกษตรกรฟาร์มโปร (B2C) มีการติดตามเกิด Hotspot วางแผนการเก็บข้อมูลและอ่านผลนักวิชาการด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ ดำเนินการทุกวันเพื่อตรวจสอบ ควบคุม และแก้ไขปัญหาการเกิดจุดความร้อนทันที ซึ่งหากในพื้นที่เกษตรกรสมาชิกพบจุดความร้อนจะมีการแจ้งเตือนจากศูนย์ควบคุมกลางและประสานไปยังสาขาที่ให้บริการเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อดำเนินการหาวิธีแก้ไขปัญหาจุดความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที และคู่ค้า (B2C) มีการดำเนินการเก็บข้อมูลระบบ GPS ติดตามข้อมูลพื้นที่ปลูกเพื่อยืนยันการเพาะปลูกไม่มีการเผาและไม่ใช่พื้นที่ป่า
พร้อมกันนี้ CPP Myanmar ยังสร้างองค์ความรู้ โดยจับมือร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ขับเคลื่อนสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Organization) ได้ในปี 2030 เมื่อช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมาได้จัด กิจกรรม“Zero Burn, Zero Waste” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ให้ความรู้ยกระดับอาชีพเกษตรกรสู่มาตรฐานการเพาะปลูก ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการและมีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจร่วมกัน จริงจังในการดูแลสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการปฏิบัติ 6 หัวข้อ คือ
- ลดการไถ (Conservation Tillage)
- การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม (Appropriate Fertilizer)
- การทำนาเปียกสลับแห้ง (Alternative Wet and Dry Activities)
- ลดการเผา (Biomass Utilization)
- การทำเตาชีวมวล (Biomass Stove Activities)
- การทำโซล่าเซลล์ (Assembly and testing of a solar cell water pump)
เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม สร้างมาตรฐานเกษตรยั่งยืน โดยได้เข้าร่วมกระบวนการตรวจสอบภายใต้การประเมินความยั่งยืน FSA (Farm Sustainability Assessment) ซึ่งเป็นมาตรฐานนานาชาติที่ใช้ในการประเมินรับรองว่าการผลิตทางการเกษตรมีขั้นตอนที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการจัดการต้นน้ำการผลิตตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระยะยาวตลอดห่วงโซ่อุปทาน รักษาสมดุลการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
เมื่อผ่านการประเมินจะดำเนินการขยายผลต่อยังเกษตรกรสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆของเมียนมา บริษัทฯหวังให้การทำการเกษตรต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรสมาชิก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการเกิดวัสดุเหลือทางการเกษตรในกระบวนการ พร้อมทั้งการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน หวังให้การทำการเกษตรจากนี้ไป จะได้ร่วมกันขับเคลื่อนจนทำให้การแก้ไขปัญหาสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Organization) ได้ในปี 2030
ที่มา บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด