28 ตุลาคม 2563 – มูลนิธิต่อต้านการทุจริต ร่วมกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มทรู คัดเลือกผลงานรอบรองชนะเลิศ ในการประกวด “การต่อต้านการทุจริต ผ่านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน” โดย 8 โรงเรียนเจ้าของผลงาน จากทั้งหมด 24 โรงเรียน ที่สามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเกียรติบัตรและทุนการศึกษา มูลค่ากว่า 600,000 บาท ประกอบด้วย
1. “ฟ้อนซอปูจา พุทธรรมาต้านทุจริต” โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 จังหวัดเชียงใหม่
2. “ลำตัดต่อต้านการทุจริต” โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
3. “ลำเพลินต้านทุจริต” โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา จังหวัดอุบลราชธานี
4. “สานศิลป์ถิ่นใต้ต้านทุจริต” โรงเรียนสตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง
5. “การแสดงพื้นบ้านต่อต้านการทุจริต” วิทยาลัยนาฏศิลป จังหวัดนครปฐม
6. “โนรารวมใจ ต้านภัยทุจริต” โรงเรียนแจ้งวิทยา จังหวัดสงขลา
7. “กันตรึมโบราณต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น” โรงเรียนรมย์บุรีพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก จังหวัดบุรีรัมย์
8. “นาฏดนตรีร่วมใจต้านภัยทุจริต” วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
สำหรับการคัดเลือกผลงาน รอบรองชนะเลิศ ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่
• พลเอกธีระเดช ฉัตรเสถียรพงศ์ รองประธานกรรมการ มูลนิธิต่อต้านการทุจริต
• นายชุมพล นิ่มสุพรรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม ทรูปลูกปัญญา กลุ่มทรู
• นายชัยมงคล ธรรมทวีนันท์ ผู้จัดการหน่วยงานด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์
• นายสุรัตน์ จงดา ผู้ช่วยอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
• นายพิพัฒน์ พึ่งพาพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร สำนักงาน ป.ป.ช.
• รศ.ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) พ.ศ. 2548
• นายควน ทวนยก ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) พ.ศ. 2553
• นางฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2536
• นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน) พ.ศ. 2559
ทั้งนี้ การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.00 – 16.30 น. ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ
CR: PR TRUE