กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย การจัดตั้งธุรกิจใหม่ในพื้นที่ EEC 10 เดือนแรก ในปี 2565 พบมีจำนวน 6,941 ราย เพิ่มขึ้น 23.15% ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการ กลุ่มที่เข้ามาลงทุนมาสุด ญี่ปุ่น รองลงมา จีน และสิงคโปร์
นายจิตรกร ว่องเขตกร รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า การจัดตั้งธุรกิจใหม่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : Eastern Economic Corridor (EEC) ซึ่งประกอบไปด้วย เขตพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง
ในเดือน ม.ค-ต.ค. 2565 พบว่า มีการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในเขตพื้นที่ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง รวม 6,941 ราย ทุนจดทะเบียน 30,782.33 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.-ต.ค. 2564 จำนวน 5,636 ราย เพิ่มขึ้นคิดเป็น 23.15%
โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจาก 15,945.89 ล้านบาท คิดเป็น 93.04% โดย 72.27% เป็นการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จำนวน 57,837 ราย
ขณะที่ การดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันในพื้นที่ 3 จังหวัด (ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา) ในเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมีนิติบุคคลคงอยู่ ณ 31 ตุลาคม 2565 จำนวน 80,034 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1,559,273.23 ล้านบาท แบ่งเป็น
จ.ชลบุรี 57,837 ราย (คิดเป็น 72.27%) จ.ระยอง 15,368 ราย (คิดเป็น 19.20%) และ จ.ฉะเชิงเทรา 6,829 ราย (คิดเป็น 8.53%)
ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการ คิดเป็น 60.56% รองลงมา คือ การขายส่งขายปลีก คิดเป็น 24.64% และการผลิตคิดเป็น 14.80% ธุรกิจที่ยังดำเนินกิจการอยู่ที่มีจำนวนสูงสุด 3 อันดับ ของแต่ละกลุ่มธุรกิจ ได้แก่
การผลิต (1) ธุรกิจกลึงกัดไสโลหะ จำนวน 650 ราย มีรายได้ 11,926.89 ล้านบาท (2) ธุรกิจติดตั้งเครื่องจักร อุตสาหกรรมและอุปกรณ์ จำนวน 416 ราย มีรายได้ 7,279.94 ล้านบาท และ (3) ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริม สำหรับยานยนต์จำ นวน 494 ราย มีรายได้ 710,412.46ล้านบาท
ขายส่ง/ปลีก (1) ธุรกิจขายส่งเครื่องจักรอื่น ๆ จำ นวน 1,153 ราย มีรายได้ 22,715.29 ล้านบาท (2) ธุรกิจขายส่ง เครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม จำนวน 887 ราย มีรายได้ 15,049.66 ล้านบาท และ (3) ธุรกิจขายปลีกวัสดุก่อสร้าง จำ นวน 738 ราย มีรายได้ 34,506.24 ล้านบาท
บริการ (1) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 10,689 รายมีรายได้ 45,005.59 ล้านบาท (2) ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 3,056 ราย มีรายได้ 48,147.40 ล้านบาท และ (3) ธุรกิจการบริการด้านอาหารในภัตตาคารและร้านอาหาร จำนวน 1,172 ราย มีรายได้ 3,655.49 ล้านบาท
ทั้งนี้ การถือหุ้นของต่างชาติในนิติบุคคลไทยคิดเป็น 54.88% ของทุนทั้งหมด โดยสัญชาติญี่ปุ่น มีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็น 46.11% รองลงมาคือ จีน มีสัดส่วนคิดเป็น 13.64% และสิงคโปร์ มีสัดส่วนคิดเป็น 5.48% โดยมีการลงทุน ในจังหวัดระยองสูงสุดคิดเป็น 52.03%
สำหรับธุรกิจที่ลงทุนโดยสัญชาติญี่ปุ่นสูงสุด 3 อันดับแรก เรียงลำดับจากมูลค่าทุนจดทะเบียน ได้แก่ 1. ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ สำหรับยานยนต์ มูลค่าการลงทุน 79,718.05 ล้านบาท 2. ผลิตอะลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม มูลค่าการลงทุน 38,387.31 ล้านบาท 3. ผลิตยางล้อและยางใน มูลค่าการลงทุน 31,797.31 ล้านบาท
ธุรกิจที่ลงทุนโดยสัญชาติจีนสูงสุด 3 อันดับแรก เรียง ลำดับจากมูลค่าทุนจดทะเบียน ได้แก่1. ผลิตยางล้อและยางใน มูลค่าการลงทุน 18,364.40 ล้านบาท 2. การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า มูลค่าการลงทุน 10,440.14 ล้านบาท 3. ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ สำหรับยานยนต์มูลค่าการลงทุน
9,831.00 ล้านบาท
ธุรกิจที่ลงทุนโดยสัญชาติสิงคโปร์สูงสุด 3 อันดับแรก เรียงลำดับจากมูลค่าทุนจดทะเบียน ได้แก่ 1.ผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มูลค่าการลงทุน 9,691.38 ล้านบาท 2. ผลิตยางล้อและยางใน มูลค่าการลงทุน 6,920.98 ล้านบาท 3. ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมสำหรับยานยนต์มูลค่าการลงทุน 3,208.08 ล้านบาท
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ