หนี้ครัวเรือนไม่กระทบ FMGC เพราะปี 2564 เติบโตสูงสุด

หนี้ครัวเรือนไทย เพิ่มสูงขึ้น แต่ทำไมจึงไม่กระทบยอดขายสินค้า FMCG

แม้ไทยจะประสบกับปัญหา หนี้ครัวเรือน และการขยายตัวของ GDP เพียง 1.6% จากผลกระทบโควิด-19

แต่ในปีที่ผ่านมามูลค่า FMCG (Fast Moving Consumer Goods) หรือสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศกลับมีการเติบโตถึง 3.5% เป็นการเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2557

อ้างอิงข้อมูลจากกันตาร์พบว่า ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการจับจ่ายสินค้า FMCG ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ดังนี้

2554    เติบโต 6.2%

2555    เติบโต 11.0%

2556    เติบโต 7.7%

2557    เติบโต 2.6%

2558    เติบโต 2.2%

2559    เติบโต 1.7%

2560    ลดลง 0.4%

2561    เติบโต 0.9%

2562    เติบโต 0.3%

2563    เติบโต 2.1%

2564    เติบโต 3.5%

และปี 2565 กันตาร์คาดการณ์ว่าจะเติบโต 2.1%

หนี้ครัวเรือนไทย ไม่กระทบ FMCG

การเติบโตของมูลค่า FMCG ที่ผ่านมา เป็นการเติบโตมาจากในไตรมาส 4/2564 มีการคลายล็อกดาวน์ ปลดล็อกข้อจำกัดต่าง ๆ ที่รัฐบาลเคยวางไว้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19  การปลดล็อกนี้มาพร้อมกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ ของภาครัฐที่ทำให้ผู้บริโภคออกมาจับจ่ายมากขึ้น

 

แต่การเติบโตของมูลค่า FMCG ในปีที่ผ่านมา มาพร้อมพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

จากข้อมูลของกันตาร์พบว่า ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนวิถีการจับจ่ายสินค้า FMCG จากเดิมที่ออกไปซื้อสินค้าด้วยความถี่ที่สูง ปรับเปลี่ยนเป็นการซื้อสินค้าจำนวนครั้งละมาก ๆ แทน  เพื่อลดการออกจากบ้านเพื่อจับจ่ายสินค้า

ในปี 2564

ผู้บริโภคมีความถี่ในการซื้อสินค้าลดลง 6.8%

มียอดใช้จ่ายในการซื้อสินค้าต่อครั้ง เพิ่มขึ้น 10%

 

ปี 2563 ปีที่โควิด-19 เริ่มระบาดในประเทศไทย

ผู้บริโภคมีความถี่ในการซื้อสินค้าลดลง 3.2%

มียอดใช้จ่ายในการซื้อสินค้าต่อครั้ง เพิ่มขึ้น 4.1%

 

ส่วนปี 2565 กันตาร์คาดการณ์ว่ามูลค่า FMCG จะเติบโตเพียง 2.1% เป็นการเติบโตที่ได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้น

 

สำหรับสินค้า FMCG กลุ่มหลักในปีนี้จะเป็นปีที่สินค้ากลุ่มของใช้ส่วนบุคคล หรือ Personal Care จะกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังจากที่สินค้ากลุ่มนี้หดตัวลงตลอด 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากโควิด-19 แพร่ระบาด

ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์จากนมกันตาร์มองว่ามีการใช้จ่ายที่หดตัวจากแนวโน้มการบริโภคที่ลดลงทั่วโลก โดยเฉพาะการบริโภคเครื่องดื่มนม

 

 

เมื่อมองไปที่ช่องทางในการซื้อสินค้า จากข้อมูลของกันตาร์พบว่าช่องทางออนไลน์เข้ามามีบทบาทในการซื้อสินค้า FMCG มากขึ้น

ในปี 2563 ช่องทางในการซื้อสินค้า FMCG มีสัดส่วนมาจาก

Modern Trade 50%

Traditional Trade 48%

Online 3%

 

ปี 2564 ช่องทางในการซื้อสินค้า FMCG มีสัดส่วนมาจาก

Modern Trade 51%

Traditional Trade 45%

Online 4%

 

คำว่า Modern Trade ในความหมายของกันตาร์ ประกอบด้วยไฮเปอร์มาร์เก็ต, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านสะดวกซื้อ, ดีพาร์ทเมนต์สโตร์ และร้านสุขภาพและความงาม

และ Traditional Trade ประกอบด้วยร้านโชห่วย การขายสินค้าแบบไดเร็กต์เซล

 

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าออนไลน์เป็นโอกาสในการขายสินค้า FMCG ที่น่าสนใจ จากสัดส่วนของการซื้อสินค้า FMCG ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปีที่ผ่านมาช่องทางออนไลน์มีการเติบโตด้านยอดขาย 39.3% มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ซื้อ 30.9% เลยทีเดียว

 

ที่มา  Marketeeronline.co