เปิดเทคนิคใช้แอร์แบบไหนช่วยประหยัดไฟที่สุด

แม้จะเข้าสู่ฤดูฝนแล้วแต่อากาศที่ร้อนอบอ้าวทั้งในช่วงเวลากลางวันและก่อนฝนตก ทำให้หลายคนยังต้องเปิดแอร์เพื่อช่วยให้อากาศภายในบ้านยังเย็นสบาย วันนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงนำเทคนิคการใช้แอร์ที่ช่วยประหยัดไฟและเงินในกระเป๋ามาฝาก อาทิ

เลือกแอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดไฟ โดยสังเกตจากฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ติดดาว ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและประหยัดไฟยิ่งกว่าเดิมเมื่อเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีฉลากเบอร์ 5 ยิ่งดาวมากยิ่งประหยัดไฟมาก พร้อมทั้งดูแลอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ

          เลือกแอร์ให้เหมาะกับขนาดห้อง โดยพิจารณา​จากค่า BTU/hr (British Thermal Unit per hour) ซึ่งเป็นหน่วยสากลที่ใช้วัดขนาดความเย็นของแอร์และมีความสำคัญ​อย่างยิ่งต่อการประหยัดพลังงาน คนส่วนใหญ่มักเลือกซื้อแอร์ขนาดใหญ่เพื่อให้ห้องเย็นเร็วขึ้นซึ่งเป็นการตัดสินใจไม่ถูกต้อง เพราะการใช้แอร์ที่มี BTU สูงเกินความจำเป็นกับขนาดห้องจะทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ลดน้อยลง และทำให้ภายในห้องมีความชื้นสูงส่งผลให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่สบายตัว รวมถึงมีราคาแพงเกินความจำเป็น​ แต่หาก​เลือก​แอร์ที่มี BTU ต่ำเกินไป การทำความเย็นจะช้า ไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ รวมถึงคอมเพรสเซอร์ทำงานหนักจนเกินไป ทำให้แอร์เสียเร็ว สิ้นเปลืองพลังงาน และค่าไฟแพงขึ้น

เลือกตำแหน่งติดตั้งแอร์และคอมเพรสเซอร์ให้เหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงการติดตั้งแอร์ในทิศตะวันตก เนื่องจากบริเวณดังกล่าวจะโดนแสงแดดส่องในช่วงบ่ายทำให้ความร้อนสูง แอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น เช่นเดียวกับการติดตั้งคอมเพรสเซอร์ให้หลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นพื้นปูน ดาดฟ้า มุมอับที่อากาศไม่ค่อยถ่ายเท หรือได้รับแสงแดดโดยตรง เพราะคอมเพรสเซอร์แอร์เป็นอุปกรณ์​ระบายความร้อนจึงควรอยู่ในที่ร่ม และยกสูงเหนือพื้น​ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดียิ่งขึ้นและประหยัดพลังงาน

เปิดแอร์ 26-27 องศา พร้อมพัดลม การเปิดพัดลมช่วยไล่ความร้อนภายในห้องก่อนเปิดแอร์ โดยเพิ่มอุณหภูมิแอร์ไปที่ 26-27 องศาเซลเซียส จะช่วยลดอุณหภูมิลงได้ 2 องศา แต่ประหยัดไฟมากกว่าการเปิดแอร์ที่ 23-24 องศาเซลเซียส ช่วยประหยัดค่าไฟได้ถึง 10%

ล้างแอร์ทุก 6 เดือน เมื่อแอร์​ผ่านการใช้งานไปนาน ๆ แม้เปิดในอุณหภูมิที่ต่ำแล้ว แต่ผู้ใช้งานยังไม่รู้สึกเย็น เพราะภายในแอร์​มีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกสะสมอยู่ ทำให้แอร์ต้องทำงานหนักและกินไฟมากขึ้น การล้างแอร์ทุก 6 เดือน จึงทำให้แอร์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปล่อยลมเย็นได้เหมือนเดิม ประหยัดค่าไฟได้มากถึง 10% โดยที่ผ่านมา กฟผ. ได้ร่วมกับพันธมิตรดำเนินโครงการ “ล้างแอร์ช่วยชาติ” เพื่อสนับสนุนให้คนไทยร่วมใจลดใช้พลังงาน ล้างแอร์ไปแล้วกว่า 15,000 เครื่อง ช่วยประหยัดพลังงานได้กว่า 2.26 กิกะวัตต์-ชั่วโมง (GWh) หรือเปรียบเทียบเป็นค่าไฟฟ้าที่ลดลง 17.93 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 1,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ประชาชนที่สนใจสามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ “ล้างแอร์ช่วยชาติ” เฟส 2 ณ ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ โฮมโปร เพาเวอร์บาย เดอะมอลล์ ดิเอ็มโพเรียม สยามพารากอน และบลูพอร์ต ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 เพียงนำบัตรประชาชนและใบเสร็จค่าไฟ 1 เดือนของปี 2565 เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการรับสิทธิ์ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 062 273 9396 หรือ 062 273 9335

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมเพียงเล็กน้อย นอกจากช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าแล้วยังช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นหนทางที่พวกเราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมช่วยชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้

เปิดเทคนิคใช้แอร์แบบไหนช่วยประหยัดไฟที่สุด

แม้จะเข้าสู่ฤดูฝนแล้วแต่อากาศที่ร้อนอบอ้าวทั้งในช่วงเวลากลางวันและก่อนฝนตก ทำให้หลายคนยังต้องเปิดแอร์เพื่อช่วยให้อากาศภายในบ้านยังเย็นสบาย วันนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงนำเทคนิคการใช้แอร์ที่ช่วยประหยัดไฟและเงินในกระเป๋ามาฝาก อาทิ

เลือกแอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดไฟ โดยสังเกตจากฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ติดดาว ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและประหยัดไฟยิ่งกว่าเดิมเมื่อเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีฉลากเบอร์ 5 ยิ่งดาวมากยิ่งประหยัดไฟมาก พร้อมทั้งดูแลอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ

 

เลือกแอร์ให้เหมาะกับขนาดห้อง โดยพิจารณา​จากค่า BTU/hr (British Thermal Unit per hour) ซึ่งเป็นหน่วยสากลที่ใช้วัดขนาดความเย็นของแอร์และมีความสำคัญ​อย่างยิ่งต่อการประหยัดพลังงาน คนส่วนใหญ่มักเลือกซื้อแอร์ขนาดใหญ่เพื่อให้ห้องเย็นเร็วขึ้นซึ่งเป็นการตัดสินใจไม่ถูกต้อง เพราะการใช้แอร์ที่มี BTU สูงเกินความจำเป็นกับขนาดห้องจะทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ลดน้อยลง และทำให้ภายในห้องมีความชื้นสูงส่งผลให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่สบายตัว รวมถึงมีราคาแพงเกินความจำเป็น​ แต่หาก​เลือก​แอร์ที่มี BTU ต่ำเกินไป การทำความเย็นจะช้า ไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ รวมถึงคอมเพรสเซอร์ทำงานหนักจนเกินไป ทำให้แอร์เสียเร็ว สิ้นเปลืองพลังงาน และค่าไฟแพงขึ้น

 

เลือกตำแหน่งติดตั้งแอร์และคอมเพรสเซอร์ให้เหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงการติดตั้งแอร์ในทิศตะวันตก เนื่องจากบริเวณดังกล่าวจะโดนแสงแดดส่องในช่วงบ่ายทำให้ความร้อนสูง แอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น เช่นเดียวกับการติดตั้งคอมเพรสเซอร์ให้หลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นพื้นปูน ดาดฟ้า มุมอับที่อากาศไม่ค่อยถ่ายเท หรือได้รับแสงแดดโดยตรง เพราะคอมเพรสเซอร์แอร์เป็นอุปกรณ์​ระบายความร้อนจึงควรอยู่ในที่ร่ม และยกสูงเหนือพื้น​ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดียิ่งขึ้นและประหยัดพลังงาน

เปิดแอร์ 26-27 องศา พร้อมพัดลม การเปิดพัดลมช่วยไล่ความร้อนภายในห้องก่อนเปิดแอร์ โดยเพิ่มอุณหภูมิแอร์ไปที่ 26-27 องศาเซลเซียส จะช่วยลดอุณหภูมิลงได้ 2 องศา แต่ประหยัดไฟมากกว่าการเปิดแอร์ที่ 23-24 องศาเซลเซียส ช่วยประหยัดค่าไฟได้ถึง 10%

ล้างแอร์ทุก 6 เดือน เมื่อแอร์​ผ่านการใช้งานไปนาน ๆ แม้เปิดในอุณหภูมิที่ต่ำแล้ว แต่ผู้ใช้งานยังไม่รู้สึกเย็น เพราะภายในแอร์​มีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกสะสมอยู่ ทำให้แอร์ต้องทำงานหนักและกินไฟมากขึ้น การล้างแอร์ทุก 6 เดือน จึงทำให้แอร์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปล่อยลมเย็นได้เหมือนเดิม ประหยัดค่าไฟได้มากถึง 10% โดยที่ผ่านมา กฟผ. ได้ร่วมกับพันธมิตรดำเนินโครงการ “ล้างแอร์ช่วยชาติ” เพื่อสนับสนุนให้คนไทยร่วมใจลดใช้พลังงาน ล้างแอร์ไปแล้วกว่า 15,000 เครื่อง ช่วยประหยัดพลังงานได้กว่า 2.26 กิกะวัตต์-ชั่วโมง (GWh) หรือเปรียบเทียบเป็นค่าไฟฟ้าที่ลดลง 17.93 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 1,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ประชาชนที่สนใจสามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ “ล้างแอร์ช่วยชาติ” เฟส 2 ณ ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ โฮมโปร เพาเวอร์บาย เดอะมอลล์ ดิเอ็มโพเรียม สยามพารากอน และบลูพอร์ต ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 เพียงนำบัตรประชาชนและใบเสร็จค่าไฟ 1 เดือนของปี 2565 เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการรับสิทธิ์ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 062 273 9396 หรือ 062 273 9335

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมเพียงเล็กน้อย นอกจากช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าแล้วยังช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นหนทางที่พวกเราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมช่วยชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้

 

ที่มา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)