ทำความรู้จักบทบาทสำคัญของซีพี : มุ่งช่วยเหลือ Supply Chain ในธุรกิจทุเรียน ผ่านแคมเปญ Let’s DO RIAN

“ทุเรียน” เป็นหนึ่งในผลไม้ฮอตฮิตที่อยู่ในใจใครหลายคนเสมอมา ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยนอกจากการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยข้อมูลล่าสุดว่า ความต้องการบริโภคทุเรียนของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ระหว่างปี2559 – 2563 ปริมาณความต้องการบริโภคทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์ทุเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 41.31 ต่อปี

ซึ่งการบริโภคส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของทุเรียนสด และในปี 2564 คาดว่าความต้องการบริโภคภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 17.89 ซึ่งเป็นผลจากปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น และกระแสนิยมในการบริโภคทุเรียนแล้วนั้น ในส่วนของการส่งออกทุเรียนไทย ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า มูลค่าการส่งออกทุเรียนไทยเฉพาะกลางปี 2564 ที่ผ่านมาก็มีมูลค่ามากถึง 934.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ทุเรียนกลายเป็นสินค้าเกษตรเศรษฐกิจส่งออกสำคัญลำดับ 2 ของไทย และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง อีกทั้งจีนยังเป็นประเทศที่บริโภคทุเรียนรายใหญ่ที่สุดในโลก ขณะเดียวกันไทยก็เป็นประเทศที่ส่งออกทุเรียนรายใหญ่อันดับ 1 ของโลกเช่นกัน

ท่ามกลางตัวเลขที่ดูงดงาม หนึ่งในปัญหาที่ผู้บริโภคชาวไทยมักจะเจออยู่บ่อยครั้ง คือผลผลิตทุเรียนไม่ได้คุณภาพ อ่อนเกินไป ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความนิยมในการบริโภค ทำให้เกิดการเร่งตัดเพื่อจำหน่าย รวมถึงเกษตรยังอาจโดนกดราคา ทำให้ปัญหาเกิดวนซ้ำเป็นวัวพันหลัก

เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ CP จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือ Supply  Chain ในธุรกิจทุเรียน ตั้งแต่เกษตรกรจนถึงการสร้างอาชีพให้กับคนไทย ด้วยโครงการ Let’s DO RIAN เพื่อแก้ปัญหาทุเรียนไม่ได้คุณภาพ ขับเคลื่อนตลาดให้เติบโต และกระตุ้นให้เกิดการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น โดย ณัชชาชนก ณ ตะกั่วทุ่ง สปอนเซอร์โครงการผักผลไม้ ภายใต้โครงการพัฒนาพิเศษ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของโครงการ Let’s DO RIAN ว่า แคมเปญนี้เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนทุกห่วงโซ่ในธุรกิจทุเรียน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ หรือตั้งแต่เกษตรกร คนกลาง  พ่อค้าแม่ค้า จนถึงผู้บริโภค โดยมีแนวคิดเริ่มต้นจากนโยบาย ความคิด ความตั้งใจของท่านประธานอาวุโส “ธนินท์ เจียรวนนท์” ว่าถ้าผู้บริโภคทานอาหารดี จะมีคุณภาพชีวิตดี เมื่อไม่ป่วยก็สามารถสร้างความสุขกับคนในครอบครัวและคนรอบข้างได้ ความปลอดภัยของผักผลไม้และอาหารจึงเป็นสิ่งที่ CP ให้ความสำคัญเสมอ

ทีมผู้นำรุ่นใหม่หรือเถ้าแก่ทีมผักผลไม้ จากสถาบันผู้นำเครือซีพี จึงได้ระดมความคิดวางเป้าหมายช่วยกระจายผลผลิตทุเรียนเพื่อการบริโภคภายในประเทศผ่านช่องทางค้าปลีกของเครือซีพี และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย “แพลตฟอร์มแห่งโอกาส” จึงเปิดโครงการ “Let’s DO RIAN” โดยการจัดทำร้านขายทุเรียนกว่า 500 จุด ตั้งอยู่บริเวณหน้าร้านค้าปลีกค้าส่งในเครือซีพีทั่วประเทศ ได้แก่ ห้างโลตัสส์, โลตัสส์ โก เฟรช, ซีพี เฟรช และร้านเซเว่น อีเลฟเว่น พร้อมกับประกาศรับสมัครพ่อค้าแม่ค้าประจำทุกจุดขาย เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพในช่วงฤดูกาลทุเรียน

“ทาง CP มองว่าเราพอมีกำลังและมีช่องทางจัดจำหน่าย จึงเข้ามาช่วยเหลือในส่วนของการจัดจำหน่ายและกระจายผลผลิต จึงเป็นที่มาของการหันมากระตุ้นการบริโภคในประเทศ 500 จุด โดยไม่ได้เปิดเพื่อเน้นทำกำไร แต่ทำเพื่อเปิดโอกาสให้ Supply Chain ได้เติบโตไปด้วยกัน เพราะโครงการผักผลไม้นี้เกิดขึ้นตามนโยบายของประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งพูดเสมอว่า การที่พวกเราเด็กรุ่นใหม่ได้มาทำโครงการผักผลไม้ เราต้องคิดเรื่องของกำไรให้บริษัททีหลัง ต้องสร้างประโยชน์ให้ประเทศและสังคมก่อน จึงต้องทำครบทุกห่วงโซ่ ถึงจะทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนจริงๆ ซึ่งทางเราและทีมน้องๆ อีก 50 คนภายใต้โครงการนี้ก็ทำงานภายใต้หลักการนั้น”

Let's DO RIAN

แคมเปญ Let’s DO RIAN ส่งเสริมผู้คนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ

แคมเปญนี้สอดคล้องกับนโยบาย “แพลตฟอร์มแห่งโอกาส” ที่เครือซีพีมุ่งสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการธุรกิจได้พัฒนาศักยภาพ เปิดประตูไปให้ทุกคนได้ก้าวสู่โอกาสใหม่ๆ เพื่อการเติบโตทางธุรกิจ โดย CP มองว่าถ้าอยากกระตุ้นการบริโภค และสร้างมาตรฐานที่ดีให้กับ Supply Chain ของทุเรียนนั้น จะต้องใช้โอกาสจากทำเลทองของเครือซีพีเพื่อเป็นจุดกระจายผลผลิต โดยนอกจากการช่วยกระจายสินค้าแล้วนั้น ยังช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้ผู้คนเข้ามาขายทุเรียนได้ แม้ทุเรียนจะออกในช่วงสั้นๆ แต่ก็สร้างกำไรได้ดีมาก เราจึงสนับสนุนทั้งห่วงโซ่ ทั้งเกษตรกรสวนทุเรียน ผู้ประกอบการและแรงงานคัดทุเรียน คนขับรถขนส่ง รวมถึงคนที่อยากสร้างงานสร้างอาชีพด้วยการขายทุเรียน และสุดท้ายคือได้ส่งมอบทุเรียนคุณภาพดีที่คัดมาแล้วแบบไม่ต้องลุ้นให้กับผู้บริโภค เราคิดครบทั้ง Supply Chain เพื่อให้โปรเจคต์นี้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยจะรับซื้อทุเรียนคุณภาพโดยตรงจากกลุ่มเกษตรกรในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น กลุ่มเกษตรกรสมาชิกการเกษตรเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ทุเรียนจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ และทุเรียนภาคอีสาน ทุเรียนภูเขาไฟ จากกลุ่มเกษตรกรคุณภาพที่มีเครื่องหมาย GI เป็นต้น ส่งต่อไปยังร้านค้า Let’s DO RIAN เพื่อจำหน่ายให้ผู้บริโภคทั่วประเทศ

ต้องขอขอบคุณทางรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ และกรมการค้าภายในอย่างยิ่ง ที่ช่วยสนับสนุนโครงการ ช่วยเหลือส่งเสริมเกษตรกรชาวสวนทุเรียนอย่างเต็มกำลังในการช่วยกระจายผลผลิตทุเรียนเพื่อการบริโภคภายในประเทศ

Let's DO RIAN

กลยุทธ์ปั้นคนเป็นเถ้าแก่ใน 100 วัน

สิ่งแรกเลยคือตัวผลผลิตหรือทุเรียนที่ต้องมีคุณภาพ ซึ่งเกิดจากสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เป็นคู่ค้าพันธมิตรให้ร่วมคัดเลือกผลผลิตมาตรฐานสูงมาจำหน่าย เราสนับสนุนคุณลุงคุณป้าที่ทำโลจิสติกส์ในพื้นที่ และในส่วนของจุดกระจายสินค้านั้นคนที่สนใจมาขายสามารถเลือกทำเลทองได้โดยอิสระ

ทาง CP จะส่งน้องๆ เถ้าแก่ที่เข้าร่วมโครงการมาประกบสอนผู้ที่มาสมัครขายให้สามารถคัดเลือกลูกทุเรียนเป็น ได้ทุเรียนตามที่ลูกค้าต้องการ ทุเรียนที่ขายคือพันธุ์หมอนทอง ขายในโลตัสสาขาใหญ่ทุกสาขา หน้า  Lotus’s go fresh สำหรับทุเรียนเบื้องต้นอยู่ที่ 199 บาท อาจปรับราคาตามสภาวะตลาดในภายหลัง

Let's DO RIAN

ผู้ที่สมัครเข้าร่วมโครงการจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 20,000 บาท โดยเป็นค่าทุเรียนที่ปอกขายในวันแรก และอีกส่วนหนึ่งคือค่าเช่าอุปกรณ์ และไม่มีค่าเช่าพื้นที่ทำเลทองใดๆ  โดยอาจได้กำไรจากหลักหมื่นไปถึงหลักแสนได้เลยถ้าขายได้เยอะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนขายทุเรียนจะขายได้วันละประมาณ 200-300 กิโลกรัม  โดย CP มองว่ามีโอกาสคืนทุนตั้งแต่เดือนแรก

Let's DO RIAN

บทบาทของ CP ในการสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนทุเรียน

ไพฑูรย์ วาณิชศรี เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ซึ่งได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวน เล่าว่า ศูนย์ทุเรียนของเขามีพื้นที่ปลูก 300 ไร่ รวมทุเรียน 6,000 ต้น ปีนี้ได้ผลผลิต 2,000 ต้น อีก 4,000 ต้นจะได้ผลผลิตในปีต่อๆ ไป ส่วนปริมาณทุเรียนที่ได้น้ำหนักประมาณ 200 ตัน โดยขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ รายได้เป็นไปตามช่วงที่เก็บเกี่ยว โดยขายได้ปีละครั้ง ปีหน้าผลผลิตก็อาจเพิ่มเป็น 300 ตันบ้าง ค่อยๆ เพิ่มตามผลผลิตที่ได้ในแต่ละปี สำหรับสถานการณ์สวนทุเรียนในปีนี้นั้น ผลผลิตภาพรวมออกมาค่อนข้างดี ราคาการส่งออกถือว่ายังดีพอสมควร จะมีปัญหาบ้างในเรื่องผลผลิตเสียหายเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน เช่น ฝนตกมากไปในช่วงมีนาคม-เมษายน เป็นสภาพอากาศที่ผิดปกติเนื่องจากภาวะโลกร้อน ทำให้ผลผลิตร่วงเสียหายบ้าง รูปทรงไม่สวยเท่าที่ควร

ทุเรียนส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์หมอนทอง ชะนี พวงมณีบ้าง โดยทุเรียนพันธุ์หมอนทองยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาเป็นอันดับ 1 โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดใหญ่ที่สุด ทั้งรับประทานสด แกะเนื้อแช่แข็ง เฟรชคัต (Fresh Cut) โดยส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ คือ จีน อเมริกา ยุโรป ซีเรีย และเกาหลี ส่วนเกรดที่ไม่ได้ส่งออกนั้น นอกจากขายตามปกติแล้ว ส่วนหนึ่งนำเข้าโรงงานทำทุเรียนทอด อีกส่วนนำส่งโรงงานทำทุเรียนเฟรชคัต (Fresh Cut) และแช่แข็ง โดยมีอัตราส่วนการส่งทุเรียนออกขายต่างประเทศ 70% ในประเทศ 30%

ทุเรียนเกรดส่งออกคือน้ำหนัก 2.5-5.5 กิโลกรัม รูปทรง 3 พลูเม็ด 4-5 พลู ปราศจากโรคแมลง มีความแก่ เปอร์เซ็นต์แป้งตามมาตรฐานที่รัฐกำหนด ปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย ซึ่งจีนจะมีการสุ่มตรวจตลอด โดยใช้สารเคมีในกลุ่มที่อเมริกา และประเทศกลุ่ม EU ยอมรับ

ในมุมมองของไพฑูรย์ เขาคิดว่าโครงการ Let’s DO RIAN มีแนวคิดที่ดี เพราะส่งผลดีโดยรวมต่อทั้งระบบ โดยนอกจากจะช่วยให้เกษตรกรมีจุดขายมากขึ้น ยังเป็นการช่วยกระจายตลาดและเพิ่มช่องทางการขายให้แก่เกษตรกรโดยตรง ซึ่งมีการคัดทุเรียนที่ได้คุณภาพ มาตรฐานดี ปลอดภัย ผู้บริโภคจึงไม่ต้องวัดดวงว่าทุเรียนที่ซื้อมานั้นอ่อนหรือแก่เกินไป โดยตามหลักการจะนับตั้งแต่ดอกบานคือ 120 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวจะมีการเช็คแป้งว่าได้ตามเกณฑ์ไหม ด้วยการวัดเปอร์เซ็นต์แป้ง ซึ่งช่วยป้องกันการตัดทุเรียนอ่อนได้ เมื่อเกษตรกรได้ขายผลผลิตในราคาที่สมเหตุสมผล ผู้บริโภคพึงพอใจกับการได้รับผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ เกษตรกรก็สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน

Let's DO RIAN

บทบาทของ CP ในการกระจายผลผลิตและผลักดันให้ทุเรียนได้มาตรฐาน คุณภาพดี

โกวิท มีใหญ่ กรรมการผู้จัดการ บ.สยามดราก้อนเฟซ เครือสหกรณ์เขาคิชฌกูฏ เล่าถึงเกณฑ์ในการคัดเลือกทุเรียนว่า กระบวนการในการรับซื้อทุเรียนมาจากสมาชิกของสหกรณ์เขาคิชฌกูฏจำนวน 1,274 คน ประมาณ 24 กลุ่ม โดยสหกรณ์จะรับซื้อเฉพาะทุเรียนแก่ที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานเท่านั้น

ปีนี้ปัญหาสำคัญของทุเรียนคือเรื่องของการส่งออกขายไปยังต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวกับขนส่งและกระบวนการขนส่งที่เพิ่มมากขึ้น แต่ผู้ประกอบการไทยก็ปรับตัวและให้ความสำคัญต่อเรื่องของความปลอดภัยในการป้องกันโควิด-19 เป็นอันดับต้นๆ ไม่น้อยไปกว่าคุณภาพของทุเรียน โดยโครงการ Let’s Do Rian นี้ นอกจากจะช่วยนำทุเรียนที่มีคุณภาพดีไปสู่ผู้บริโภคชาวไทยแล้วนั้น ยังสามารถช่วยในเรื่องของการกระจายผลผลิตของเกษตรกรและผู้ประกอบการในสถานการณ์เช่นนี้ได้ด้วย

โดยผลผลิตส่วนใหญ่ของที่นี่ จะมาจากสมาชิกสหกรณ์เขาคิชฌกูฏทั้งหมด 1,274 สมาชิก โดยทุเรียนส่งออกจะตัดที่ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเผื่อระยะเวลาในการเดินทาง แต่ถ้าเป็นบริโภคภายในประเทศ จะตัดทุเรียนในความแก่ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเราได้รับความร่วมมือจากกลุ่มสมาชิกในการช่วยกันแขวนทุเรียนแก่ขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประทานทุเรียนที่ดีมีคุณภาพ โดยผลผลิตที่ได้ในปี 2564 ที่ผ่านมาอยู่ประมาณ 2,000 ตัน ซึ่งทางบริษัทส่งออกทุเรียน 70% ขายในประเทศ 30% แต่ปี 2565 นี้จะส่งออกได้น้อยลง ทาง CP ก็เข้ามาช่วยส่งเสริมในเรื่องการค้าในประเทศ โดยมี 2 นโยบายคือขายในโมเดิร์นเทรดของทาง CP เอง และด้วยโครงการ Let’s DO RIAN ซึ่งมีการอบรมให้ความรู้เพื่อประกอบอาชีพได้เลย

ที่ผ่านมาเราเจอปัญหาเรื่องการขายทุเรียนอ่อน ทำให้เกษตรกรตัดก่อนเวลาที่เหมาะสม แต่การที่ทาง CP เข้ามารับซื้อ อย่างในปีนี้คือวันละ 30-50 ตันต่อวัน ก็ช่วยให้สามารถค้าขายทุเรียนแก่ได้มากขึ้น มีราคาที่สามารถขายในไทยได้มากขึ้น โดยปัจจัยเรื่องราคาและแรงจูงใจตลอดจนการให้ความรู้และการตรวจแป้งเป็นสิ่งสำคัญช่วยทำให้เกษตรกรตัดผลผลิตในเวลาที่เหมาะสมขึ้น ถ้าผู้บริโภคได้ทุเรียนอ่อนไปทานก็ไม่อร่อย ราคาที่แตกต่างช่วยเรื่องคุณภาพทุเรียนให้ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ตลาดในประเทศยังไม่สามารถทดแทนส่งออกได้ทั้งหมด แต่ก็พยายามร่วมมือกันผลักดันไม่ให้ทุเรียนล้นตลาด

เกษตรกรที่ยังตัดต้นอ่อนอยู่ อยากให้มองตัวเองว่าเป็นผู้ซื้อที่ได้รับทุเรียนไม่มีคุณภาพ จ่ายเงินเยอะและไม่ได้ทานของอร่อย อยากให้คิดถึงผู้บริโภคและประชาชน อยากให้กลับไปเป็นเหมือนเมื่อก่อน ทำทุเรียนให้ทุกคนได้ทาน

ในวันนี้มั่นใจว่าด้วยคุณภาพของทุเรียนที่เรา เกษตรกร และเครือ CP ร่วมกันควบคุมให้ได้มาตรฐานที่ดี จะทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคทุเรียนในประเทศสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งรายได้ก็จะกระจายกลับไปสู่เกษตรกรชาวสวนทุเรียน และห่วงโซ่ต่างๆ ในวงจรของทุเรียน

Let's DO RIAN Let's DO RIAN


สรุป

นี่คืออีกหนึ่งบทบาทสำคัญของเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ CP ที่เข้ามาช่วยกระจายผลผลิต กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศรวมถึงส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพของทุเรียนให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเข้ามาผลักดันและช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาทุเรียนภายในประเทศมากขึ้น โดยเปิดพื้นที่ทำเลทองทั่วประเทศให้ผู้ที่สมัครเป็นเถ้าแก่ในโครงการ Let’s DO RIAN สามารถใช้พื้นที่ได้ฟรีและเลือกทำเลได้โดยอิสระ ถือเป็นโอกาสที่หาได้ไม่ง่ายในปัจจุบัน ผู้ร่วมโครงการไม่เพียงแต่ได้ทำเลทองในการจำหน่ายสินค้าฟรี แต่ยังได้อาชีพ รวมถึงความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย

ที่มา Brand Inside