สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์จัดการประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ ระดับชาติ ครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) จัดการประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ ระดับชาติ ครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 “Global Innovation for Sharing Economy” (GISE) และการประชุมวิชาการ Smart Logistics Conference ครั้งที่ 2 ร่วมกับ University of Business and International Studies (Switzerland), Seoul National University (South Korea), Nagaoka University of Technology (Japan), Fukuoka Jo Gakuin University (Japan), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา,วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย,เครือข่ายวิจัยประชาชื่น และคณะศึกษาศาสตร์ คณะการจัดการโลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่ง วิทยาลัยนานาชาติ พีไอเอ็ม เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยในระดับชาติ ระดับนานาชาติที่มีมาตรฐาน

โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี พีไอเอ็ม กล่าวเปิดงานพร้อมกล่าวถึงที่มาของความร่วมมือทางวิชาการกับเครือข่ายพันธมิตร จากบริบทโลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การสร้างเครือข่ายในมิติต่างๆ จึงเกิดขึ้น ทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานด้านวิชาการ ผลงานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป

จากนั้นเป็นสัมมนาพิเศษ (Panel Discussion) หัวข้อ “Global Innovation for Sharing Economy” โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิโพชฌงค์และกลุ่มบริษัท White Rabbit ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และดำเนินรายการโดย ดร.ธัญลักษณ์ ธนปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เผยถึงมุมมองและจุดเริ่มต้นของการเกิด Sharing Economy ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ประโยชน์และข้อจำกัดของการเป็น Sharing Economy

แนวคิดเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Economy) การพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้เครือข่ายด้านการวิจัยเกิดการต่อยอดพัฒนางานวิจัยร่วมกันที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชนในระดับนานาชาติ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาให้แก่องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างกว้างขวาง พร้อมส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง ให้ประเทศก้าวไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในระดับสากลอย่างยั่งยืน ณ ชั้น 3 อาคารหอประชุมปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ

Cr:PR PIM